|
Home > Research > Research Cluster |
|
RESEARCH CLUSTER |
|
|
ความหลากหลายทางวัฒนธรรมและสุขภาวะ
Cultural Diversity and Well-being Cluster (CDWe)
ในยุคปัจจุบันความหลากหลายทางวัฒนธรรมทวีขึ้นจากปัจจัยต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว กลุ่มวิจัย CDWe สนใจผลพวงของความแตกต่างทางวัฒนธรรมที่เกิดจากการย้ายถิ่นและการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรสู่สังคมสูงอายุ ที่สัมพันธ์กับสุขภาวะของบุคคลและสังคมในมิติต่างๆ ซึ่งเป็นความท้าทายในศตวรรษที่ 21 โดยใช้มุมมองทางวัฒนธรรมเพื่อสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการและนำไปสู่ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและการจัดการที่เกี่ยวข้องกับความแตกต่างทางวัฒนธรรมที่คงไว้ซึ่งความสงบเรียบร้อย ความสมานฉันท์ สิทธิมนุษยชนและสิทธิทางวัฒนธรรม
ประเด็นความสนใจ
- การศึกษาความแตกต่างทางวัฒนธรรมกับการย้ายถิ่น
- ความแตกต่างทางวัฒนธรรมกับการย้ายถิ่นที่เกิดขึ้นในสังคมที่รับผู้ย้ายถิ่น ในประเด็นการสร้าง การเปลี่ยนผ่านอัตลักษณ์ของผู้ย้ายถิ่น การผสมกลมกลืน บรูณาการหรือแปลกแยกกับถิ่นปลายทาง การยอมรับหรือปฏิเสธผู้ย้ายถิ่นของชุมชนปลายทาง และการจัดการความหลากหลายทางวัฒนธรรม
- การศึกษาความแตกต่างทางวัฒนธรรมในสังคมสูงอายุ (cultural gerontology) สุขภาวะของผู้สูงอายุผ่านมุมมองทางวัฒนธรรม
ประธาน: รองศาสตราจารย์ ดร.ขวัญจิต ศศิวงศาโรจน์
สมาชิก: เครือข่ายจากภายนอก
เว็บไซต์: http://lcxtra.mahidol.ac.th/CDWe |
|
|
การสื่อสารเพื่อการพัฒนา (สพ)
Communication for Development (CD)
มุ่งวิจัยการบูรณาการองค์ความรู้ด้านการสื่อสารทั้งในโลกกายภาพและโลกเสมือนกับศาสตร์อื่นๆ เพื่อเสริมสร้างสุขภาวะที่ดี เสริมพลังคนไทยและชุมชนให้เกิดความเข้มแข็ง และสร้างผลกระทบทั้งในแง่ของการสร้างความเปลี่ยนแปลงระดับบุคคล ชุมชน และสังคมอย่างยั่งยืน ตลอดจนสร้างองค์ความรู้ใหม่ให้กับวงวิชาการและการวิจัยด้านการสื่อสารเพื่อการเปลี่ยนแปลงและการสื่อสารแบบมีส่วนร่วม
ที่ปรึกษา: รองศาสตราจารย์ ดวงพร คำนูณวัฒน์
ประธาน: รองศาสตราจารย์ ดร.นันทิยา ดวงภุมเมศ
สมาชิก
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธีรพงษ์ บุญรักษา
- ดร.สิรินทร พิบูลภานุวัธน์
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุนิดา ศิวปฐมชัย
- ดร.สุภาพร คชารัตน์
- อาจารย์กฤตยา อกนิษฐ์
- รองศาสตราจารย์ ดร.วัชรพล วิบูลยศริน
|
|
|
สุนทรียศาสตร์ และสังคมวิทยาวัฒนธรรม : ประเด็นศึกษาด้านภาพยนตร์ สื่อ วรรณกรรมแปล และวัฒนธรรมข้ามพรมแดน
Aesthetics and Cultural Sociology: With the Focus on Film, Media, Translated Literature and Cross-border Cultures
ประธาน: ดร.วิกานดา พรหมขุนทอง
สมาชิก
- ดร.กรญาณ์ เตชะวงค์เสถียร
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณรงค์ อาจสมิติ
เว็บไซต์: https://www.rilcaaestheticsandculture.org |
|
|
ภาษาและวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์เอเชีย
Languages and Cultures of Ethnic Groups of Asia (RILCA-RICE)
กลุ่มวิจัยภาและวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์ ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 โดยยึดมั่นในพันธกิจการสร้างความเป็นเลิศทางวิชาการ เพื่อสร้างประโยชน์สุขให้แก่กลุ่มชาติพันธุ์ด้วยการวิจัย การจัดการเรียนการสอน และการบริการสังคมอย่างมีส่วนร่วมที่แท้จริงกับชุมชนชาติพันธุ์ต่าง ๆ ทั่วประเทศ งานวิจัยด้านชาติพันธุ์นับเป็นความเชี่ยวชาญอันแท้จริงของสถาบันฯ ตั้งแต่อดีตและยังสืบต่อไปในอนาคต กลุ่มวิจัยนี้ได้รวบนักวิจัยที่มีความสามารถเป็นเลิศ มีความชำนาญในสาขาวิชาต่าง ๆ ได้แก่ ภาษาศาสตร์ สังคมวิทยา มานุษยวิทยา นิเทศศาสตร์ จิตวิทยา วัฒนธรรมศึกษา สมาชิกกลุ่มวิจัยฯ พร้อมจะอุทิศตนทำงานในลักษณะบูรณาการงานร่วมกัน ในอีก 5 ปี ข้างหน้า กลุ่มวิจัยฯ จะมุ่งเน้นการทำวิจัยพื้นฐานและงานวิจัยเชิงประยุกต์เพื่อสร้างนวัตกรรม โดยยึดมั่นปรัชญาที่ว่า "ความสำเร็จที่แท้จริง อยู่ที่การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้เพื่อประโยชน์ของสังคม"
ที่ปรึกษา: ศาสตราจารย์ ดร.สมทรง บุรุษพัฒน์ และ รองศาสตราจารย์ ดร.สุจริตลักษณ์ ดีผดุง
ประธาน: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชิตชยางค์ ยมาภัย
สมาชิก
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ขนบพร วงศ์กาฬสินธุ์
- รองศาสตราจารย์ ดร.ศิริจิต สุนันต๊ะ
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณรงค์ อาจสมิติ
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พธู คูศรีพิทักษ์
- นายวีระพงศ์ มีสถาน
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปัทมา พัฒน์พงษ์ (เลขานุการ)
|
|
|
ประเด็นข้ามชาติและพลวัต(พหุ)วัฒนธรรมในอาเซียน, อินเดีย และเอเชียแปซิฟิก
Transnational Issues and (Multi) Cultural Dynamics: ASEAN, India and the Asia Pacific (TIMDA)
"กลุ่มประเด็นข้ามชาติและพลวัตทาง(พหุ)วัฒนธรรมในอาเซียน, อินเดียและเอเชียแปซิฟิก" เป็นกลุ่มวิจัยที่พัฒนามาจากกลุ่มวิจัยที่ทำงานภายใต้เครือข่ายมหาวิทยาลัยไทยคลัสเตอร์อาเซียน ซึ่งมีการทำงานร่วมกับคณะสถาบันในมหาวิทยาลัยมหิดล คือ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา และเครือข่ายภายนอกภายใต้มหาวิทยาลัยวิจัยไทย และคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร กลุ่มมีการทำงานต่อเนื่องก่อนการตั้งกลุ่มวิจัยนี้ โดยเป้าหมายในการทำงานวิจัยพื้นฐานและงานวิจัยเชิงประยุกต์เพื่อสร้างนวัตกรรม และสร้างเครือข่ายการวิจัยทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ที่ปรึกษา: ศาสตราจารย์ ดร.นฤมล นิทราทร และ รองศาสตราจารย์ ดร.ขวัญจิต ศศิวงศาโรจน์
ประธานกลุ่ม: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มรกต ไมยเออร์
สมาชิก
- รองศาสตราจารย์ ดร.โสภนา ศรีจำปา
- นายสิทธิพร เนตรนิยม
- อาจารย์วิมลสิริ เหมทานนท์
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วราภรณ์ มนไตรเวศย์ (ม.ศิลปากร)
- นางสาวมิรันดา ภูบาล
- นายอภิรัฐ คำวัง
- นางสาวพิมพ์พรรณ ทองเปลว (เลขานุการ)
|
|
|
มนุษยศาสตร์ดิจิทัล ภาษา และสังคม
Digital Humanities, Language, and Society (D-HULS)
กลุ่มวิจัยมนุษยศาสตร์ดิจิทัล ภาษา และสังคม มุ่งเน้นที่จะพัฒนางานวิจัยเชิงสหวิทยาการที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีเสียงพูดและภาษา ภาษาศาสตร์และการแปล ภาษาและอัตลักษณ์ในโลกดิจิทัล มานุษยวิทยาดิจิทัล ชาติพันธุ์วรรณาดิจิทัล พฤติกรรมศาสตร์ในยุคดิจิทัล และพฤติกรรมการสื่อสารผ่านสื่อออนไลน์ โดยเป็นแหล่งรวมนักวิจัยทางด้านภาษาศาสตร์ การแปล การศึกษา วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา วัฒนธรรมศึกษา นิเทศศาสตร์ และพฤติกรรมศาสตร์ รวมทั้งเป็นแหล่งผลิตนักวิจัยรุ่นใหม่ระดับบัณฑิตศึกษาที่มีความสนใจการบูรณาการความรู้จากศาสตร์ของตนเข้ากับเทคโนโลยีดิจิทัลสมัยใหม่ การวิจัยพลวัตทางภาษาและสังคมในยุคดิจิทัล และการนำเทคโนโลยีดิจิทัลไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาชุมชนและสังคม
ประธาน: ดร.สราวุฒิ ไกรเสม
สมาชิก:
-
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มยุรี ถาวรพัฒน์
-
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุนิดา ศิวปฐมชัย
-
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อธิป ธรรมวิจิตร
-
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิชญาณี พูนพล (สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ)
-
อาจารย์จตุรวิทย์ ทองเมือง (ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
-
อาจารย์ศศิวิมล คงสุวรรณ (สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์)
-
ดร.ยูเนียนสาสมีต้า สาเมาะ
-
ดร.เทพชัย ทรัพย์นิธิ (ทีมวิจัยเทคโนโลยีภาษาธรรมชาติและความหมาย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ)
-
ดร.ปรัชญา บุญขวัญ (ทีมวิจัยเทคโนโลยีภาษาธรรมชาติและความหมาย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ)
-
นายธนนท์ หลีน้อย (ทีมวิจัยเทคโนโลยีภาษาธรรมชาติและความหมาย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ)
-
ดร.ณรงเดช พันธะพุมมี (เลขานุการ)
|
|
|
จีน - ไทยศึกษา
Chinese - Thai Studies (CTS)
จีนเป็นประเทศมหาอำนาจที่มีอิทธิพลต่อเศรษฐกิจและความมั่นคงของโลกในยุคปัจจุบัน อีกทั้งยังมีความสัมพันธ์ทางการทูตกับไทยมาอย่างยาวนานเป็นเวลากว่า 44 ปี สำหรับสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย ได้เปิดให้บริการวิชาการจัดการเรียนการสอนให้กับนักศึกษาจีนมาเป็นเวลากว่า 5 ปี และประสบความสำเร็จได้รับการยอมรับจากนักศึกษาจีนเป็นอย่างยิ่ง ทางกลุ่มวิจัยจึงได้ก่อตั้งกลุ่มจีน-ไทยศึกษาขึ้นมา โดยมุ่งเน้นการศึกษาวิจัยในลักษณะสหวิทยาการ ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นเชื่อมโยงระหว่างประเทศจีนและประเทศไทย ไม่วาจะเป็นเรื่องภาษา วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ การเมือง การปกครอง เศรษฐกิจหรือสภาพสังคมต่างๆ การอพยพย้ายถิ่น ที่เกี่ยวกับชาวจีนในไทยและภูมิภาคเอเชีย หรือชาวไทยในจีนตอนใต้ เพื่อมุ่งหวังให้เกิดองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเรื่องจีน-ไทย ก่อให้เกิดความรู้ที่เอื้อประโยชน์ต่อการพัฒนาศักยภาพของนักวิจัยในกลุ่ม ตลอดจนขยายผลไปสู่การพัฒนาศักยภาพในการจัดบริการวิชาการและต่อยอดงานวิจัยของสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย อีกทั้งยังเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และขยายเครือข่ายไปยังนักวิชาการผู้สนใจศึกษาเรื่องจีน-ไทยศึกษาในบริบทต่างๆจากทุกภูมิภาคของโลก
ประธาน: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิริเพ็ญ อึ้งสิทธิพูนพร
สมาชิก
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เรณู เหมือนจันทร์เชย
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วีรานันท์ ดำรงสกุล
- ดร.สุภาพร คชารัตน์
- อาจารย์จุฬาลักษณ์ ปลื้มปัญญา
|
|
|
นิเวศวิทยาวัฒนธรรม
Community Based Cultural Ecology
กลุ่มวิจัยบูรณาการข้ามศาสตร์ทั้งเครือข่ายนักวิจัยภายในมหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยอื่นๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ การพัฒนาโจทย์วิจัยบนฐานการพัฒนาชุมชนและนิเวศน์วัฒนธรรม อันจะทำไปสู่การสร้างนวัตกรรมทางสังคมในรูปแบบต่างๆ เพื่อการพัฒนาคน - ชุมชนอย่างยั่งยืน ทั้งในมิติสังคมวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์และวัฒนธรรม (Creative and Cultural Economy) งานสร้างสรรค์ ศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย งานสาธารณศิลป์ เป็นต้น ตลอดจนดำเนินการสื่อสาร ขับเคลื่อนกลุ่มวิจัยไปสู่การสร้างความรู้ของแนวคิดและวิธีวิทยาในการพัฒนาชุมชนและนิเวศน์วัฒนธรรมในวงกว้างอย่างต่อเนื่อง
สมาชิก:
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นันธิดา จันทรางศุ
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุมิตรา สุรรัตน์เดชา
- อาจารย์ ดร.สกาวรุ้ง สายบุญมี
|
|