การจัดการศึกษาแบบทวิ – พหุภาษาและการเรียนรู้ระหว่างวัฒนธรรมในเกาะลันตาจังหวัดกระบี่


หัวหน้าโครงการ:

ดร.มิรินด้า บูรรุ่งโรจน์

นักวิจัย:

ดร.มิรินด้า บูรรุ่งโรจน์ และคณะ

ระยะเวลาดำเนินการ:

ตุลาคม 2562 – กันยายน 2565

ที่มาและความสำคัญ

โครงการ “การจัดการศึกษาแบบทวิ – พหุภาษาและการเรียนรู้ระหว่างวัฒนธรรมในเกาะลันตาจังหวัดกระบี่” หรือ MTB MLE- ICE มีเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาสำหรับเด็กและเยาวชนในพื้นที่ซึ่งมีความหลากหลายทางชาติพันธุ์และหลากกลุ่มวัฒนธรรมในเกาะลันตา ได้แก่ กลุ่มชาวเลอูรักลาโวยจ กลุ่มไทยมุสลิม กลุ่มไทยใต้ กลุ่มชาวจีนและกลุ่มชาวยุโรปหรือชาวต่างชาติอื่นๆ โดยบูรณาการต้นทุนทางภาษา วัฒนธรรม วิถีชีวิต ภูมิปัญญาท้องถิ่นและสภาพแวดล้อมของกลุ่มต่างๆ ให้เกิดเป็นหลักสูตร 2 รูปแบบ ได้แก่ (1) รู้การจัดการศึกษาแบบทวิ-พหุภาษาศึกษา (MTB MLE) โดยใช้ภาษาอูรักลาโวยจและภาษาไทยเป็นสื่อในการพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กนักเรียนระดับปฐมวัย และ (2) รูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ระหว่างวัฒนธรรมในเกาะลันตา (ICE) สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ในโรงเรียนทั้ง 14 แห่งของเกาะลันตา เพื่อให้เด็กและเยาวชนในเกาะลันตาได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพผ่านต้นทุนทางภาษาวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างเต็มศักยภาพ นำไปสู่การเรียนรู้เพื่ออยู่การร่วมกันอย่างเคารพสิทธิและให้เกียรติในสังคมที่มีความหลากหลายทางภาษา-วัฒนธรรม ซึ่งสอดคล้องกับแผนการศึกษาชาติ (พ.ศ.2560-2579) ที่ยึดหลักสําคัญในการจัดการศึกษาเพื่อปวงชน (Education for All) หลักการศึกษาเพื่อความเท่าเทียมและทั่วถึง (Inclusive Education) อีกทั้งยังสอดคล้องกับเป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืนสากลขององค์การยูเนสโกในเป้าหมายด้านการจัดการศึกษาที่มี คุณภาพครอบคลุมทุกกลุ่มชาติพันธุ์อย่างเท่าเทียม (SDG4) และการสร้างความร่วมมือกับทุกภาคส่วนในการพัฒนาการศึกษาอย่างยั่งยืน (SDG17).

วัตถุประสงค์

เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาสำหรับเด็กและเยาวชนในพื้นที่ซึ่งมีความหลากหลายทางชาติพันธุ์และหลากกลุ่มวัฒนธรรมในเกาะลันตาโดยใช้ภาษาอูรักลาโวยจและภาษาไทยเป็นสื่อในการพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กนักเรียนระดับปฐมวัย

ผลผลิต

  • การจัดการศึกษาแบบทวิ-พหุภาษาศึกษา (MTB MLE) โดยใช้ภาษาอูรักลาโวยจและภาษาไทยเป็นสื่อในการพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กนักเรียนระดับปฐมวัย
  • หลักสูตรการจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ระหว่างวัฒนธรรมได้นำมาใช้กับ 14 โรงเรียน
  • เสริมสร้างกลไกการจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ระหว่างวัฒนธรรม และได้รับความร่วมมือจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในและนอกพื้นที่