ชื่องานวิจัย : |
การจัดการศึกษาแบบทวิ – พหุภาษาและการเรียนรู้ระหว่างวัฒนธรรมในเกาะลันตา จังหวัดกระบี่
|
คณะ/สาขาวิชา : |
ศ.เกียรติคุณ ดร.สุวิไล เปรมศรีรัตน์ ,Asst. Prof. Dr.Kirk Person (ที่ปรึกษา)
ดร.มิรินด้า บูรรุ่งโรจน์,นายรณกร รักษ์วงศ์,นางสาวสรัญญา กฤษณานุวัตร, นายยูเนียนสาสมีต้า สาเมาะ,นายรุสดี มาซอ, นางสาวสาแลฮ๊ะ จางวาง, นางสาวศิริพร ภิรมย์เมือง, นางสาวสุพัตรา การะเกตุ, นายอัศศิดิกร์ มะนอ, นายอับดุลเลาะ หลงสะ, นางสาวต่วนซอฟียะห์ อัลยุฟรี, ผศ.ดร.มยุรี ถาวรพัฒน์, นางสาวกุมารี ลาภอาภรณ์, นางสาวอัจฉราภรณ์ ถาวรพัฒน์, นางสาวณัฐมน โรจนกุล, นางสาวสุมาลี หาญยศ, นางสาวบัวข่อง ลุงแลง |
ที่มาและความสำคัญ : |
ศูนย์ศึกษาและฟื้นฟูภาษาและวัฒนธรรมในภาวะวิกฤต สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ส่งเสริมให้เกิดงานวิจัยเพื่อพัฒนาและยกระดับคุณภาพการศึกษาของเด็กและเยาวชนกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ในประเทศไทย ซึ่งสอดรับกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การยูเนสโก(Sustainable Development Goals) หรือ SDG4 ซึ่งมีเป้าหมายในการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพครอบคลุมทุกกลุ่มชาติพันธุ์อย่างเท่าเทียม และการสร้างความร่วมมือกับทุกภาคส่วนในการพัฒนาการศึกษาอย่างยั่งยืน โดยมหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับเลือกจากมูงนิธิ Pestalozzi Children Foundation จากสวิสเซอร์แลนด์ ในการดำเนินงานโครงการ "การจัดการศึกษาแบบทวิ – พหุภาษาและการเรียนรู้ระหว่างวัฒนธรรมในเกาะลันตา จังหวัดกระบี่" หรือ MTB MLE- ICE ระหว่างเดือน ตุลาคม 2562 - กันยายน 2565
|
ขอบเขต/พื้นที่ศึกษา : |
การทำงานร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยมหิดล สถานศึกษา 14 แห่ง และการมีส่วนร่วมจากชุมชนท้องถิ่นทั้ง 9 หมู่บ้าน 3 ตำบล 1 เทศบาลในพื้นที่เกาะลันตา จังหวัดกระบี่ |
วัตถุประสงค์ของการจัดงาน : |
มีเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาสำหรับเด็กและเยาวชนกลุ่มชาติพันธุ์ในพื้นที่ซึ่งมีความหลากหลายทางชาติพันธุ์และหลากกลุ่มวัฒนธรรมในเกาะลันตา ได้แก่ กลุ่มชาวเลอูรักลาโวยจ กลุ่มไทยมุสลิม กลุ่มไทยใต้ กลุ่มชาวจีนและกลุ่มชาวยุโรปหรือชาวต่างชาติอื่นๆ โดยบูรณาการต้นทุนทางภาษา วัฒนธรรม วิถีชีวิต ภูมิปัญญาท้องถิ่นและสภาพแวดล้อมของกลุ่มต่างๆ ให้เกิดเป็นหลักสูตรและแผนการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ ได้แก่
(1) รูปแบบการจัดการศึกษาแบบทวิ-พหุภาษาศึกษา (MTB MLE) โดยใช้ภาษาอูรักลาโวยจและภาษาไทยเป็นสื่อในการพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กนักเรียนระดับปฐมวัย
(2) รูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ระหว่างวัฒนธรรมในเกาะลันตา (ICE) สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย (ป.4-6) ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.1-3) ในโรงเรียนทั้ง 14 แห่งของเกาะลันตา
|
แหล่งทุนสนับสนุน : |
Pestalozzi Children's Foundation, Switzerland (PCF) |
หน่วยงานที่ร่วมมือ : |
ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาการศึกษา ตั้งแต่ ตัวแทนชุมชนกลุ่มวัฒนธรรมต่างๆ ผู้นำศาสนา ผู้บริหารโรงเรียน เขตพื้นที่การศึกษา ศึกษาธิการจังหวัด หน่วยงานอุดมศึกษาในพื้นที่ และกระทรวงศึกษาธิการเพื่อสร้างกลไกความร่วมมือ ในการสนับสนุนและขับเคลื่อนรูปแบบการจัดการศึกษาแบบทวิ-พหุภาษาและการจัดการศึกษาเพื่อการเรียนรู้ระหว่างวัฒนธรรมในเกาะลันตาให้ดำเนินการในระบบโรงเรียนและเกิดความยั่งยืน |
ผู้มีส่วนได้เสีย : |
ชุมชน ผู้นำศาสนา ผู้บริหารโรงเรียน เขตพื้นที่การศึกษา ศึกษาธิการจังหวัด หน่วยงานอุดมศึกษาในพื้นที่ และกระทรวงศึกษาธิการในเกาะลันตา |
ระดับความร่วมมือ : |
ท้องถิ่น ประเทศ และนานาชาติ |
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ :
|
จากการทำงานเพื่อพัฒนาการศึกษาสำหรับเด็กและเยาวชนทุกกลุ่มชาติพันธุ์ในเกาะลันตา สร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชนผู้ปกครองในเกาะ จำนวน 1,760 คน ครูและผู้บริหารโรงเรียนจำนวน 126 คน และนักเรียนจำนวน 2,200 กว่าคนในเกาะลันตาทั้งกลุ่มชาวเลอูรักลาโวยจ กลุ่มไทยปักษ์ใต้ กลุ่มมุสลิม และกลุ่มวัฒนธรรมจีนมีทักษะในการเรียนรู้วัฒนธรรมระหว่างกันและกัน ทั้งในด้านภาษา วัฒนธรรม ประเพณีและวิถีชีวิตที่แตกต่างเพื่อนำไปสู่การเข้าใจความเหมือนและความแตกต่าง พร้อมทั้งเรียนรู้ในความแตกต่างเหล่านั้น และเรียนรู้ที่จะชื่นชมสิ่งที่ต่างจากตนเอง เคารพสิทธิผู้ที่แตกต่างและนำไปสู่การอยู่ร่วมกันอย่างเคารพและให้เกียรติวัฒนธรรมของกันและกัน (5 ICE core content) นอกจากนี้ในส่วนของชุมชนที่มีนักเรียนชาวเลอูรักลาโวยจ จะส่งเสริมให้มีการจัดการศึกษาแบบทวิภาษา (ภาษาอูรักลาโวยจและภาษาไทย) เริ่มจากการพัฒนาระบบเขียนภาษาอูรักลาโวยจและระดมความร่วมมือกับชาวเลอูรักลาโวยจในการบันทึกเรื่องราว ตำนาน นิทาน ประเพณี พิธีกรรมและทักษะชีวิตของชาวเลอูรักลาโวยจเพื่อรักษาและสืบสานวิถีชีวิตของกลุ่มคนที่อยู่กับท้องทะเล โดยบูรณาการองค์ความรู้เหล่านี้เข้าสู่การพัฒนาหลักสูตรการจัดการศึกษาแบบทวิ-พหุภาษาศึกษา (MTB MLE)
นอกจากนี้ โครงการยังได้พัฒนากลไกความร่วมมือจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาแบบทวิ-พหุภาษาศึกษา (MTB MLE) และการจัดการศึกษาเพื่อการเรียนรู้ระหว่างวัฒนธรรม (ICE) ในพื้นที่เกาะลันตาในรูปแบบคณะกรรมการดำเนินงานในพื้นที่และคณะกรรรมการอำนวยการเพื่อสนับสนุน ติดตาม ให้ข้อเสนอแนะ และขับเคลื่อนเชิงนโยบายเพื่อส่งเสริมการจัดการศึกษาที่ใช้ต้นทุนทางภาษา วัฒนธรรมและวิถีชีวิตของคนในพื้นที่ เพื่อสร้างโอกาสและยกระดับคุณภาพทางการศึกษาแก่เด็กและเยาวชนทุกกลุ่มวัฒนธรรมในพื้นที่เกาะลันตาให้เกิดขึ้นจากความร่วมมือจากทุกภาคส่วนอย่างจริงจัง เป็นรูปธรรมและยั่งยืน
*MTBMLE และ ICE เป็นแนวทางที่อยู่ระหว่างดำเนินงานเพื่อนำไปสู่การพัฒนาการศึกษาสำหรับเด็กและเยาวชนทุกกลุ่มชาติพันธุ์ทั่วโลกของหน่วยงานระดับสากล (โครงการนี้มี Pestalozzi Children Foundation (PCF) เป็นผู้สนับสนุนการดำเนินงาน ภายใต้ระยะเวลาการดำเนินงาน 3 ปี (2019 – 2022)
|
Web link : |
https://langrevival.mahidol.ac.th/2019-aug-meeting/ |
SDG goal ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ |
|
รูปภาพประกอบ : |
|