Mahidol University     |     Webmail     |     RILCA Intranet     |     Contact     ||     EN     |     TH     |           
 
RILCA SUSTAINABLE DEVELOPMENT GOALS (SDGS)
เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน
 

KEY TOPICS
OTHERS      
   

ชื่อกิจกรรม/โครงการ : โครงการสร้างความร่วมมือ (MOU) กับกรมสุขภาพจิตในการรับมือกับสถานการณ์โควิด-19
ที่มาและความสาคัญ : เพื่อรับมือกับการระบาดของโรคโควิด19 ระลอกใหม่ในช่วงปลายปี 2563 ในชุมชนแรงงานต่างชาติในพื้นที่ตลาดกุ้งมหาชัย สถาบันฯ ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการนำองค์ความรู้จากการทำงานวิจัยกับกลุ่มแรงงานข้ามชาติ มาประสานความร่วมมือกับศูนย์สุขภาพจิตที่ 5 และเครือข่าย NGO ในพื้นที่ ในการช่วยเหลือและดูแลสุขภาพจิตแก่แรงงาน รวมถึงการให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคโควิด19 ไม่ให้เกิดการระบาดซ้ำหรือมีการแพร่กระจายของโรคจนนํามาสู่ผลกระทบที่รุนแรงต่อระบบสังคมและเศรษฐกิจของประเทศไทย มหาวิทยาลัยมหิดลและ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย โดยมีศาสตราจารย์นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดลและผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มรกตไมย เออร์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางด้านการวิจัยและวิชาการ(MOU) กับกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข โดยมีแพทย์หญิงพรรณพิมล วิปุลากรอธิบดีกรมสุขภาพจิตกระทรวงสาธารณสขุและนางสาวรัชวลัย์ บุญโฉม ผู้อำนวยการศูนย์สุขภาพจิตที่ 5 เพื่อเผยแพร่ความรู้สร้างความเข้าใจในการรับมือกับสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด19 และแก้ปัญหาสังคมอันเกิดจากผลกระทบของการระบาดโควิด19 ในกลุ่มแรงงานข้ามชาติ ในวันที่ 22 กมุภาพันธ์ 2564
ช่วงเวลาที่จัดกิจกรรม/โครงการ : 2 ปี
สถานที่จัดกิจกรรม/โครงการ : กิจกรรม online
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง/ผู้มีส่วนได้เสีย : ศูนย์สุขภาพจิตที่ 5 กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข หน่วยงานภาครัฐ ภาคประชาสังคม และภาคเอกชน และกลุ่มแรงงานในพื้นที่ตลาดกุ้งมหาชัย
วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนาความร่วมมือในการทํางานร่วมกันระหว่างองค์กรภาครัฐ ในการพัฒนาชุดความรู้ที่นํามาใช้ประโยชน์เปรียบเสมือนการสร้างเกราะป้องกันโรคด้วยข้อมูลทางการแพทย์และสาธารณสุขอย่างเป็นรูปธรรมแก่สังคมไทย
รูปแบบการดำเนินกิจกรรม/โครงการ : ประชุม อบรม ผลิตสื่อ
กลุ่มเป้าหมาย/กลุ่มผู้ร่วมกิจกรรม : หน่วยงานภาครัฐ ภาคประชาสังคม และภาคเอกชน และกลุ่มแรงงานในพื้นที่ตลาดกุ้งมหาชัย
จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม :  
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ :

กลุ่มแรงงานได้รับความรู้หรือการช่วยเหลือที่ถูกต้องหรือถูกตามหลักวิชาการ ส่งผลให้ผู้ประกอบการภาคธุรกิจชาวไทยสามารถดําเนินกิจการได้อย่างราบรื่นและผู้บริโภคชาวไทยสามารถเข้าถึงแหล่งอาหารที่มีราคาสมเหตสุมผล อันเนื่องมาจากการที่ภาคธุรกิจด้านอาหารมีกําลังผลิตด้วยแรงงานต่างชาติมีความพร้อมด้านสุขภาพกายและใจอย่างสมบูรณ์ รวมถึงการให้แรงงานต่างชาติมีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูลด้านการแพทย์และสาธารณสุขเพื่อการดูแลสุขภาพตัวเองได้อย่างปลอดภัย

นอกจากนี้ เกิดโครงการอบรมภาษาเมียนมาให้กับบุคลากรทางการแพทย์(โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย) ที่เป็นการเสริมศักยภาพด้านพหุวัฒนธรรม-พหภุาษาแก่บคุลากรทางการแพทย์ในประเด็นภาษาเมียนมายังเป็นการดําเนินงานอย่างต่อเนื่อง ในการระบาดระลอกใหม่ที่ทวีความรุนแรงอย่างมากในปัจจุบัน การให้ความรู้ด้านการสื่อสารและการทําความเข้าใจภาษาเมียนมาจึงเป็นการเตรียมความพร้อม ให้กับคุลากรทางการแพทย์ที่เปรียบเสมือนหน้าด่านของสังคมไทยในการเผชิญกับโควิด-19 ให้เกิดการเตรียมพร้อมและรู้เท่าทันสถานการณ์ที่มิอาจคาดเดาหรือพยากรณ์ได้ในอนาคต นําไปถึงการแก้ไขสถานการณ์ได้อย่างทันถ่วงทีหรือรวดเร็วนํามาซึ่งเป็นการลดการใช้งบประมาณสำหรับการจัดการในเรื่องนี้ การจดัการอบรม"ภาษาเมียนมาเพื่อบคุลากรการแพทย์" จำนวน 3 รุ่นโดยมี MissLwanPo ผู้เชี่วชาญด้านภาษาและวัฒนธรรมเมียนมาของสถาบันฯ เป็นวิทยากร

Web link : http://lc.mahidol.ac.th/rilca360/index.php/20210222-mentalhealth
SDG Goal ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ :  
รูปภาพประกอบ :
 
 
 
 
 
 

Research Institute for Languages and Cultures of Asia, Mahidol University
999 Budhamonthon Sai 4, Salaya, Budhamonthon, Nakhon Pathom 73170, Thailand. Tel. (662) 8002308-14 Fax. (662) 8002332