Mahidol University     |     Webmail     |     RILCA Intranet     |     Contact     ||     EN     |     TH     |           
 
RILCA SUSTAINABLE DEVELOPMENT GOALS (SDGS)
เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน
 

KEY TOPICS
 

ชื่องานวิจัย : เกมข้ามพรมแดน: การแปล เครือข่ายและอุตสาหกรรมเกมในประเทศไทย
Games beyond borders: game localization, networks and industry in Thailand
คณะ/สาขาวิชา : ดร. กรญาณ์ เตชะวงค์เสถียร สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย
Dr.Koraya Techawongstien, Research Institute for Languages and Cultures of Asia
ที่มาและความสาคัญ :

โครงการวิจัยนี้ สนใจศึกษาประเด็นเรื่องการแปลเกม (Game localization) ที่เกิดขึ้นในวงการเกมประเทศไทย ประกอบด้วยการสำรวจถึงลักษณะของเกมที่ได้รับการแปลเป็นภาษาไทยที่อยู่ในวงการ ตลาดและอุตสาหกรรมเกมปัจจุบัน สาเหตุและปัจจัยที่ส่งผลให้เกมได้รับการแปล บทบาทของเกมที่ได้รับการแปลในประเทศไทย ทั้งยังศึกษาถึงบทบาทของผู้กระทำการแปลเกมในประเทศไทย รวมถึงศึกษาบทบาทของเครือข่ายผู้กระทำการแปลเหล่านั้นว่าสร้างอิทธิพลอย่างไรต่อการแปลเกมในประเทศไทย ในการวิจัยชิ้นนี้แบ่งการวิจัยเป็น 2 ส่วนหลัก ส่วนที่ 1 คือการศึกษาภาพรวมของการกระทำการแปลเกมในประเทศไทย ประกอบด้วย ลักษณะของเกมที่ได้รับการแปล และสาเหตุและปัจจัยที่ทำให้เกมได้รับการแปลเป็นภาษาไทย รวมถึงบทบาทของผู้กระทำการแปลเกมในภาพรวม งานวิจัยนี้จึงจะพยายามขยายกรอบการศึกษาด้านการแปลในประเทศไทยให้มีความกว้างขวางมากยิ่งขึ้น งานวิจัยชิ้นนี้จะเผยให้เห็นถึงลักษณะของเกมที่ได้รับการแปลเป็นภาษาไทย รวมถึงสาเหตุและปัจจัยที่เกมเหล่านั้นได้รับการแปลเป็นภาษาไทย ซึ่งจะแสดงต่อไปให้เห็นถึงบทบาทของเกมที่ได้รับการแปลเป็นภาษาไทยต่อเยาวชนและสังคมไทย นอกจากนั้นการศึกษานี้ยังจะเผยให้เห็นถึงบทบาทผู้กระทำการแปล รวมถึงเครือข่ายของผู้กระทำการเหล่านั้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์และพื้นฐานความเข้าใจในการศึกษาทั้งด้านการแปลโดยภาพรวมและการแปลเกมในประเทศไทย ทั้งนี้ โครงการวิจัยจะจัดทำแหล่งจัดเก็บข้อมูลด้านการแปลเกมในประเทศไทยอย่างเป็นระบบ และจัดทำสื่อที่ให้ความรู้กับเยาวชน และผู้สนใจด้านการแปลเกม นอกจากนั้น องค์ความรู้ต่าง ๆ ข้างต้น สามารถพัฒนาต่อยอดให้เป็นแนวทางในการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการแปลเกม เช่น การคัดเลือกเกมเพื่อแปล กระบวนการแปลเกม และการกระทำการแปลเกมเป็นภาษาไทย เป็นต้น

Gaming circle and market in Thailand have shown promising trends in terms of both business profits and acceptance from both governmental and private sectors in recent years. However, most games played by the Thais have been "imported" and only some games have been localized into Thai via game localization process. Game localization has its own uniqueness. The translators/localizers of games are required to take both linguistic and cultural elements, as well as other technical elements into consideration during the localization process of contents from source language into another languages. Game localizers/translators also have to localize the contents of the game to be suitable for the target societal and cultural contexts. Therefore, the game localizers/translators, as one type of translation agents, play an important role in the "selection" of localizing methods of games from source language into target language. Nonetheless, the issue of game localization has not been of much interest of scholars in Translation Studies and other related disciplines in Thailand. The objectives of this research are, thus, to explore an overview of the game localization circle, the role of game localizers and other game localizing agents and the role of the networks of game localizing agents. The project also delves into the game localization process with textual analyses of localized games and the role and impact of the localized games imposing on the Thai players. This research will construct the fundamental knowledge and the comprehensive foundation on the Thai game circle and industry through the lens of game localization, which will be beneficial to the field of Translation Studies and other related disciplines. Ultimately, the body of knowledge from this research can be developed into a guideline for policy recommendation on game localization.

ขอบเขต/พื้นที่ศึกษา :  
วัตถุประสงค์ : 1. เพื่อสำรวจลักษณะของเกมที่ได้รับการแปลเป็นภาษาไทย และเพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลให้เกมได้รับการแปลเป็นภาษาไทย อันสามารถต่อยอดเป็นแนวทางในการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการแปลเกม
2. เพื่อศึกษาถึงบทบาทของผู้กระทำการแปลเกมในประเทศไทย รวมถึงศึกษาบทบาทและเครือข่ายของผู้กระทำการแปลเหล่านั้นว่าสร้างอิทธิพลอย่างไรต่อการแปลเกม
3. เพื่อศึกษาถึงกระบวนการการแปล และการกระทำการแปลเกมในฐานะที่เป็นการกระทำทางสังคมผ่านกรณีศึกษา
4. เพื่อศึกษาบทบาทของการแปลเกมเป็นภาษาไทยว่าสร้างอิทธิพลอย่างไรต่อผู้เล่นชาวไทย
5. เพื่อสร้างแหล่งจัดเก็บข้อมูลด้านการแปลเกมในประเทศไทยอย่างเป็นระบบ และจัดทำสื่อที่ให้ความรู้กับผู้สนใจ
แหล่งทุนสนับสนุน : ทุนพัฒนาศักยภาพในการทำงานวิจัยของอาจารย์รุ่นใหม่ปีงบประมาณ 2564 จาก สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว)
หน่วยงานที่ร่วมมือ :  
ผู้มีส่วนได้เสีย :  
ระดับความร่วมมือ :  
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ : • การสร้างองค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับการศึกษาด้านการแปลเกมในประเทศไทย ผ่านบทความวิจัยที่นําเสนอความรู้และผลการวิเคราะห์จากการวิจัยในปีแรก
• เผยแพร่องค์ความรู้ด้านการแปลเกมในเชิงวิชาการสูประชาชน และเยาวชนในรูปแบบที่เข้าใจง่าย
• เป็นแหล่งข้อมูลที่มีประโยชน์ต่อทั้งผู้ที่มีความสนใจในวงการและอุตสาหกรรมเกม การแปลเกมทั้งในวงการวิชาการวงการภาครัฐและเอกชนที่มีความเกี่ยวข้อง
• สร้างความร่วมมือระหว่างผู้ทํางานด้านการแปลทั้งในเชิงวิชาการและวิชาชีพ
• สร้างความร่วมมือระหว่างภาคการศึกษา ภาครัฐและภาคเอกชน
• จัดทําแนวทางข้อเสนอเชิงนโยบายด้านการแปลเกม เช่น การคัดเลือกเกมในการแปล และกระบวนการแปล
• การขยายกรอบการวิจัยด้านการแปลในบริบทของการศึกษาการแปลในประเทศไทย มีผลกระทบกับวงการการแปลศึกษา พัฒนาเป็นองค์ความรู้ในการเรียนการสอนได้ต่อไป
Web link :  
SDG Goal ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ :  
รูปภาพประกอบ :  
 

Research Institute for Languages and Cultures of Asia, Mahidol University
999 Budhamonthon Sai 4, Salaya, Budhamonthon, Nakhon Pathom 73170, Thailand. Tel. (662) 8002308-14 Fax. (662) 8002332