Mahidol University     |     Webmail     |     RILCA Intranet     |     Contact     ||     EN     |     TH     |           
 
RILCA SUSTAINABLE DEVELOPMENT GOALS (SDGS)
เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน
 

KEY TOPICS
OTHERS      
   

ชื่องานวิจัย :
ชุดโครงการโรคระบาดไร้พรมแดน : ภูมิทัศน์ความเปลี่ยนแปลงสังคมไทยร่วมสมัย
โครงการย่อยที่ 1 การเป็นคนอื่นในภาวะโรคระบาดโควิด-19: ประสบการณ์ของแรงงานในเมืองระดับโลกในอาเซียน
โครงการย่อยที่ 2 เรือนจำและผู้ต้องขัง : การบริหารอำนาจรัฐและสมาชิกสังคมชายขอบในภาวะโรคระบาดโควิด 19
โครงการย่อยที่ 3 ธุรกิจของกลุ่มจีนใหม่ประทศไทย : การปรับตัวเพื่อจัดความสัมพันธ์เครือข่ายทางสังคมและธุรกิจของนักศึกษาจีนในยุค New Normal
โครงการย่อยที่ 4 ข้ามกําแพงภาษาในวิกฤตโรคระบาด: บทบาทการแปลและการล่ามช่วงภาวะโควิด-19 ในประเทศไทย
โครงการย่อยที่ 5 ศิลปินเชิงพาณิชย์ในภาวะโควิด – 19: ความท้าทาย การปรับตัว และการให้ความหมายกับชีวิตการทำงานในวิกฤตโรคระบาด กรณีศึกษา ศิลปินเชิงพาณิชย์ในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ ย่านทาวน์อินทาวน์
โครงการย่อยที่ 6 นิเวศการเดินทางกับอุตสาหกรรมภาพยนตร์ในยุคโควิด-19
โครงการย่อยที่ 7 สังคมเครือข่ายและการเคลื่อนไหวทางการเมืองบนโลกออนไลน์ในประเทศไทยภายใต้ภาวะโรคระบาดโควิด-19"
คณะ/สาขาวิชา : รศ.ดร.มรกต ไมยเออร์
ผศ.วราภรณ์ มนต์ไตรเวศย์
ผศ. ดร.ยุทธนา เจวจินดา
นายสิทธิพร เนตรนิยม
ผศ. ดร.ณรงค์ อาจสมิติ
อ. ดร.สิรีธร ถาวรวงศา
อาจารย์ จุฬาลักษณ์ นาควัฒนเศรษฐ์
อาจารย์ ดร.ชาดา เตรียมวิทยา
Mr.Hang Li
อาจารย์ ดร.กรญาณ์ เตชะวงศ์เสถียร
อาจารย์ ดร.ณรงเดช พันธะพุมมี
ดร.พสิษฐ์ ปานแร่
อาจารย์ ดร.วิกานดา พรหมขุนทอง
นางสาวเพา ศุภนันตฤกษ์
ที่มาและความสาคัญ :

โรคไวรัสโควิด-19 ระบาดเข้ามาในประเทศไทยตั้งแต่ต้นเดือนมกราคม 2663 ยังคงมีภาวะความรุนแรงของการแพร่ระบาดต่อเนื่องจนถึงปลายปี 2564 รวมทั้งคาดการณ์ได้ว่าภาวะดังกล่าวยังคงยืดเยื้อถึงปี 2565 โรคนี้หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่าโรคโควิด-19 ซึ่งอุบัติขึ้นในประเทศจีนและแพร่กระจายไปทั่วไปโลกนี้ถือได้ว่าเป็นตัวแปรสำคัญที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทยและสังคมโลกตั้งแต่ปี 2563 อย่างฉับพลัน ก่อให้เกิดการวิถีชีวิตแบบใหม่ทั้งระดับปัจเจกบุคคลและสังคม เป็นทั้งปัจจัยเร่งให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางสังคมเศรษฐกิจสังคม การเมือง รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเกิดความสัมพันธ์ทางสังคมในรูปแบบใหม่ๆ ในระยะแรกของปี 2563 ซึ่งถือเป็นการระบาดของไวรัสโควิด-19 ระยะแรกในประเทศ มีผูู้ติดเชื้อในประเทศไทย จํานวนไม่มากนัก ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพบริการที่มีปฏิสัมพันธ์กับผู้เดินทางที่มาหรือกลับมาจากประเทศจีน เช่น คนขับแท็กซี่ หรือผู้ทํางานในสนามบิน ต่อมาในเดือนมีนาคม 2563 การระบาดของโรคขยายเป็นวงกว่างโดยเริ่มจากสถานที่ที่มีผู้ไปรวมตัวกันจํานวนมาก เช่น สถานบันเทิง สนามมวยราชดําเนินและลุมพินี ส่งผลให้รัฐบาลใช้มาตรการต่าง ๆ เพื่อควบคุมการระบาด ของโรค เช่น มีการปิดสถานศึกษาและสถานที่ต่าง ๆ และการจํากัดการเดินทางเข้าออกของชาวไทยและนักท่องเที่ยวที่เรียกว่าการล็อคดาวน์ การระบาดของไวรัสโควิด-19 ในช่วงแรกของปี 2563 นั้นเป็นช่วงที่ประเทศไทยยังสามารถควบคุมการระบาดของโรคได้ แต่ทว่าผลกระทบของการระบาดและมาตรการป้องกันการระบาดของโรคส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตและธุรกิจของประเทศอย่างมหาศาล เกิดความเปลี่ยนแปลงทางสังคมวัฒนธรรมอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน เช่น ชุมชนออนไลน์แบบใหม่ ๆ การฆ่าตัวตาย และธุรกิจล้มละลาย ภาวะไร้งานทํา ปัญหาทางสุขภาพ ปัญหาทางมนุษยธรรม และอื่น ๆ

ไม่นานนักเกิดภาวะการระบาดระยะที่ 2 สถานการณ์ควบคุมโรคระบาดของประเทศไทยที่ดูเหมือนควบคุมได้แล้ว ตั้งแต่กลางปี 2563 กลับมาถึงช่วงพลิกผันในช่วงเดือนธันวาคม ที่ส่งผลต่อเนื่องมาถึงต้นปี 2564 กลายเป็นการระบาดโรคโควิด-19 ระยะที่สอง ที่กระจายตัวไปตามจังหวัดต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว จนดูเหมือนควบคุมได้ยาก โดยการระบาดเริ่มที่จังหวัดเชียงใหม่และที่จังหวัดสมุทรสาครซึ่งเป็นจุดศูนย์กลางการระบาดที่ใหญ่ที่สุด ทว่ารัฐบาลและหน่วยงานระดับท่องถิ่นสามารถควบคุม สถานการณ์ในจังหวัดสมุทรสาครได้ในระยะเวลาสั้น ๆ โดยใช้กลวิธีที่เรียกว่า Bubble and Seal หรือการควบคุมพื้นที่และการเคลื่อนย้ายของแรงงานเมียนมาให้อยู่ในพื้นที่ที่ควบคุม และมีการเร่งฉีดวัคซีนให้กับแรงงานและประชาชนในพื้นที่

ต่อมาในช่วงเดือนมีนาคม 2564 ภาวการณ์ระบาดของโรคโควิด-19 ในสังคมไทยเร่ิมเข้าสู่ระยะที่ 3 และทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นจนโดยเฉพาะถึงช่วงเดือนสิงหาคม 2564 ภาวะผ่อนคลายการล็อคดาวน์ในช่วงเดือนมีนาคมและเมษายน ซึ่งมีเทศกาลใหญ่ เช่น สงกรานต์ ส่งผลให้มีการระบาดในวงกว้าง ประกอบกับในช่วงกลางปี 2564 เกิดการระบาดจากแหล่งท่องเที่ยวกลางกรุงเทพฯ ที่ผู้ให้บริการหรือผู้ที่ทํางานในภาคบริการพักอาศัยอยู่ในชุมชนแออัดส่งผลให้เกิดการระบาดในชุมชนแออัดด้วย นอกจากนี้แหล่งที่เกิดการระบาดโควิด-19 ในเขตกรุงเทพมหานคร คือ บริเวณที่พักคนงานก่อสร้าง ซึ่งสภาพที่อยู่อาศัยแออัดและขาดสุขอนามัย การแก้ปัญหาของรัฐบาลในการกักตัวและปล่อยคนงานและการหลบหนีส่งให้มีทั้งผูู้เดินกลับภูมิลําเนา และการเดินทางในหางานทำ ในพื้นที่อื่น ๆ ในช่วงกลางปี 2564 จํานวนผู้ติดเชื้อรายวันเพิ่มมากขึ้นถึงเกือบสองหมื่นรายต่อวัน แม้ว่าในช่วงเวลาดังกล่าวนี้รัฐบาลพยายามเร่งให้เกิดการฉีดวัคซีนแก่ประชาชนให้มากเท่าที่สุดเท่าที่เป็นไปได้แต่เนื่องจากการบริหารวัคซีนของรัฐบาลค่อนข้างช้าและขาดประสิทธิภาพ จึงเกิดความไม่พึงพอใจต่อการทํางานของรัฐบาลโดยเฉพาะประเด็นการสั่งวัคซีนที่มีคุณภาพไม่สูงค่อนข้างมากในช่วงแรก ที่ไม่สามารถช่วยป้องกันการติดเชื้อหรือผลกระทบการติดเช้ือโควิด-19 กลายพันธุ์เช่น สายพันธุ์เดลต้า ในช่วงนี้เองที่การสาธารณสุขของประเทศซึ่งถือเคยว่ามีประสิทธิภาพอยู่ในภาวะลําบากกับการบริหารพื้นที่และบุคลากรให้รองรับกับจํานวนผู้ป่วยที่เพิ่มจํานวนมากขึ้นนี้ รัฐบาลเริ่มให้มีการจัดพื้นที่กักตัวและโรงพยาบาลสนามตามสถานที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศเพื่อรองรับผู้ป่วยที่เรียกว่า hospitel เพิ่มมากขึ้น

ผลกระทบจากภาวะการแพร่ระบาดโควิด-19 อันเกิดจากทั้งภาวการณ์ระบาดของโรค และมาตรการสาธารณสุข เช่น การล็อคดาวน์การควบคุมภาวะโรคระบาด การกักตัว 14 วัน หรือการปิดพื้นที่ต่าง ๆ ที่ยืดเยื้อมาตั้งแต่ปี 2563 จนถึงปัจจุบันกิจกรรมทางเศรษฐกิจหยุดชะงัก ทั้งภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการทั้งระดับมหภาคและจุลภาค ส่วนทางสังคมนั้นเกิดความเปลี่ยนแปลงภาวะทางสังคมและความสัมพันธ์ทางสังคม กล่าวได้ว่าภาวะการณ์ดังกล่าวส่งผลให้ภาวะความหวาดกลัวโรคระบาดมีผลต่อการอยู่ร่วมกันในสังคมไทย และส่งผลกระทบอย่างต่อเนื่องต่อชีวิตทางสังคมไทยในทุกมิติมากยิ่งขึ้นและอย่างลึกซึ้ง

ความสนใจของสังคมและนักวิชาการมุ่งไปที่ประเด็นด้านสาธารณสุขการแพทย์ การประดิษฐ์นวัตกรรมเพื่อการแก้ปัญหาในภาวะโรคระบาดโควิด-19 เนื่องจากเป็นปรากฏการณ์ที่มองเห็นได้ง่ายทั่วไป และเป็นปัญหาเร่งด่วน แต่การศึกษาเกี่ยวกับโควิด-19 ที่เกี่ยวเนื่องกับสังคมไทยยังมีอีกหลายประเด็นที่ต่องการการศึกษาอย่างลึกซ้ึง นับตั้งแต่การทําความเข้าใจ
โควิด-19 ในฐานะโรคระบาดและภาวะโรคระบาดในฐานะที่เป็นวิกฤตสังคมโลก ที่เป็นปัจจัยสําคัญก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนอกจากน้ีในประเด็นในทางสังคมวัฒนธรรมอื่น ๆ อันเกิดจากภาวะโรคระบาด โควิด 19 ยังไม่ได้รับการศึกษาในเชิงลึกอย่างเป็นระบบอย่างจริงจัง ทั้งที่ประเด็นดังกล่าวมีความสําคัญกับการพัฒนาสังคมไทยในช่วงการระบาดของโรค และโดยเฉพาะในอนาคตช่วงหลังการระบาดของไวรัสโควิด-19 เนื่องจากภาวะโควิด-19 สร?างความเปลี่ยนแปลงในชีวิตประจําวันของสมาชิกในสังคมทุกกลุ่ม รวมทั้งความเปลี่ยนแปลงในมิติทางสังคมวัฒนธรรม และเศรษฐกิจอื่น ๆ ที่ลึกซึ้ง

ชุดแผนวิจัยนี้จึงมุ่งเป้าศึกษาผลกระทบของภาวะโควิด-19 ต่อสังคมไทยในสี่มิติด้วยกัน คือ
มิติที่ 1 : พลวัตโรคระบาด นโยบายการบริหารจัดการของรัฐ และความเปลี่ยนแปลงทางสังคม
มิติที่ 2 : กลุ่มคนชายขอบ/กลุ่มเปราะบาง
มิติที่ 3 : แรงงานทางในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์และอุตสาหกรรมสร้างสรรค์
มิติที่ 4 : ประเด็นข้ามชาติของสังคมไทยในภาวะโควิด-19

ขอบเขต/พื้นที่ศึกษา :

วัตถุประสงค์ : วัตถุประสงค์หลักของแผนงานวิจัย
1. เพื่อศกึษาภูมิทัศน์ความเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยอันเกิดจากภาวะโรคระบาดโควิด-19 ตั้งแต่เดือนมกราคม 2563 ถึงปลายปี 2565 ในมิติต่าง ๆ 4 มิติในรูปแบบชุด โครงการวิจัยแบบสหวิทยาการ
2. ผลิตผลงานวิจัยในลักษณะการวิจัยพื้นฐานในลักษณะสหวิทยาการ เพื่อการสร้างความเข้าใจเกี่ยวสังคมไทยร่วมสมัยภายใต้ภาวะโรคระบาดโควิด-19
แหล่งทุนสนับสนุน :

โครงการเวทีวิจัยมนุษยศาสตร์ไทย ระยะที่ 8

หน่วยงานที่ร่วมมือ :
หน่วยงานหลัก
สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล
หน่วยงานสนับสนุน
คณะโบราณคดี, คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, คณะศลิปศาสตร์สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลยัราชภัฏสวนสุนันทา, สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
ผู้มีส่วนได้เสีย : -
ระดับความร่วมมือ : -
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ :

-

Web link : -
SDG Goal ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ :
รูปภาพประกอบ :
 

Research Institute for Languages and Cultures of Asia, Mahidol University
999 Budhamonthon Sai 4, Salaya, Budhamonthon, Nakhon Pathom 73170, Thailand. Tel. (662) 8002308-14 Fax. (662) 8002332