Mahidol University     |     Webmail     |     RILCA Intranet     |     Contact     ||     EN     |     TH     |           
 
RILCA SUSTAINABLE DEVELOPMENT GOALS (SDGS)
เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน
 

KEY TOPICS
OTHERS      
     

ชื่องานวิจัย : สาธารณศิลป์: การสร้างสรรค์ศิลปกรรมเพื่อวิถีความเหมาะสมใหม่ในการขับเคลื่อนสังคมวัฒนธรรมหลังสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19
คณะ/สาขาวิชา : ผศ.ดร.นันธิดา จันทรางศุ, อ.ดร.สกาวรุ้ง สายบุญมี
ที่มาและความสาคัญ :
คณะผู้วิจัยเลือกนําเสนอ การสสร้างสรรค์ "สาธารณศิลป์" (Art for Public)" มาเป็นแนวทางและพลังการสสร้างสรรค์ศิลปกรรมเพื่อการเตรียมพร้อมกับวิถีชีวิตแบบปกติใหม่ (Preparing for the New Normal) ที่จะนําไปสู่ความเข้าใจและความตระหนักเกี่ยวกับ "ความเหมาะสมใหม่ - ในโรคและโลกหลังโควิด" และการส่งเสริมให้ประชาชนเตรียมพร้อมมือกับการเปลี่ยนแปลง (Coping with Transition) ผ่านกระบวนการสสร้างสรรค์งานศิลปกรรมโดยบูรณาการการทํางานใน 2 ระดับ ได้แก่ การบูรณาการแนวคิดต่าง ๆ เพื่อสร้างการสร้างสรรค์สาธารณศิลป์ ได้แก่ แนวคิดนิเวศสุนทรีย์ (ecological aesthetic) แนวคิดสุนทรียศาสตร์เชิงสัมพันธ์ (relational aesthetic) และแนวคิดการทํางานร่วมกันอย่างสสร้างสรรค์ (collaborative creativity) และการบูรณาการโจทย์ทางสังคมวัฒนธรรม (socio-cultural) บางประการที่เกี่ยวข้องที่ต้องพิจารณาให้เหมาะสมทั้งกาลและเทศะในการบูรณาการ ตลอดจนการให้ความใส่ใจเรื่องมาตรการการป้องกันโรคในการเข้าร่วมกิจกรรมทางศิลปะ ผ่านกระบวนการต่าง ๆ เช่น กระบวนการสื่อสาร กระบวนการมีส่วนร่วมระหว่างศิลป์นและผู้เข้าร่วมกิจกรรม เป็นต้น ไม่เพียงเท่านั้น คณะผู้วิจัยมีความคาดหวังว่า ในกระบวนการวิจัยนี้ยังส่งเสริมให้เกิดกลุ่มผู้เสพงานศิลปะ (audiences) กลุ่มใหม่ ๆ เกิดการทํางานร่วมกันของศิลป์นสาขาต่าง ๆ เพื่อสสร้างสรรค์ "ศิลปกรรมที่มีสุนทรียภาพและมีความเหมาะสมใหม่" สําหรับสังคมไทย อันจะนําไปสู่ผลกระทบของโครงการคือ "การปลอบประโลมใจและสร้างกําลังใจที่จะอยู่ร่วมกันอย่างมีความหวังในสภาวการณ์โรคระบาด" นี้ด้วยความเชื่อที่ว่า "ศิลปะสามารถช่วยรักษาและสสร้างใหม่ได้" (arts can help us to heal and rebuild) ตลอดจนข้อเสนอต่อการพัฒนาแนวทางสสร้างสรรค์ศิลปกรรมเพื่อสาธารณะ เพื่อเป็นทางออกหรือทางเลือกในการทํางานสสร้างสรรค์ในกลุ่มศิลป์นและอุตสาหกรรมสสร้างสรรค์ในสภาวการณ์ของโรคระบาดต่อไปในอนาคต
ขอบเขต/พื้นที่ศึกษา : จังหวัดกรุงเทพมหานคร, จังหวัดนครปฐม (สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล พื้นที่ในความดูแลของมหาวิทยาลัยมหิดล), จังหวัดปทุมธานี (คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)
วัตถุประสงค์ :
"อยู่เย็นเป็นสุข ณ ศาลายา" โมเดลงานสาธารณศิลป์เพื่อเยียวยาชุมชนในสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 แม้สถานการณ์ของการติดเชื้อโรคระบาดโควิด-19 จะดีขึ้นแต่ก็มีแนวโน้มความไม่แน่นอนสูงสำหรับโรคนี้ กลุ่มนักวิจัยสาธารณศิลป์นำโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นันธิดา จันทรางศุ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล ดร.วิจิตร อภิชาตเกรียงไกร ศิลป์สุนทรีย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภาวิณี บุญเสริม คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ ดร.สุรสีห์ ชานกสกุล คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พร้อมด้วยภาคีศิลปิน นักวิชาการสาขาศิลปกรรมศาสตร์ ร่วมกันดำเนินโครงการวิจัยสาธารณศิลป์: การสร้างสรรค์ศิลปกรรมเพื่อวิถีความเหมาะสมใหม่ในการขับเคลื่อนสังคมวัฒนธรรมหลังสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ทุนสนับสนุนโดยบพค. สอวช. มุ่งศึกษาผลกระทบและค้นหาโครงสร้างใหม่ของการสร้างสรรค์ศิลปกรรมเพื่อรองรับบริบทสังคมวัฒนธรรมหลังโรคระบาดโควิด-19 โดยหาวิธีสร้างสรรค์ "ศิลปกรรมที่มีสุนทรียภาพและมีความเหมาะสมใหม่" ที่จะนำไปสู่การปลอบประโลมใจและสร้างกำลังใจที่จะอยู่ร่วมกันอย่างมีความหวังหลังโรคระบาดผ่านไป
แหล่งทุนสนับสนุน : หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.)
หน่วยงานที่ร่วมมือ : มหาวิทยาลัยศิลปากร คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์
มหาวิทยาลัยมหิดล คณะสิ่งแวดล?อมและทรัพยากรศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะศิลปกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์
ผู้มีส่วนได้เสีย : -
ระดับความร่วมมือ : -
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ :

โครงการฯ ได้ใช้พื้นที่ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐมเป็นพื้นที่ทดลองปฏิบัติการ ซึ่งในปัจจุบันไม่พบผู้เข้าเกณฑ์เฝ้าระวังโรคในพื้นที่ศาลายา(ข้อมูล ณ วันที่ 7มิ.ย.65) หลังจากมีมาตรการผ่อนคลายมาตรการควบคุมแบบบูรณาการเพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคในปลายเดือนเมษายนที่ผ่านมา โครงการฯ ได้ดำเนินการสำรวจกลุ่มตัวอย่างในพื้นที่ศาลายาในช่วงเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน พบว่า ชาวศาลายาจำนวน 455 คน ได้รับผลกระทบจากโรคนี้มากที่สุด ใน 5 ด้าน ที่ส่งผลกระทบต่อ "ความสุขและความทุกข์"ด้านความทุกข์ ได้แก่ การดำเนินชีวิต ด้านการมีส่วนร่วมกับชุมชนและสังคม ด้านสุขภาพจิต ด้านความสัมพันธ์ โดยเฉพาะความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์โควิด การกลัวการติดเชื้อ ความวิตกกังวลกับสถานการณ์ในระยะยาว เป็นห่วงครอบครัว และในเรื่องของการดำเนินชีวิตที่ยังไม่กลับมาเป็นปกติ ทำให้ไม่สามารถใช้ชีวิตอย่างปกติได้ และด้านเศรษฐกิจมากที่สุด โดยส่วนใหญ่จะพูดถึงการขาดรายได้ รายได้รวมของครอบครัวที่ลดลง ตกงาน และค่าครองชีพที่สูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ความสุขที่เกิดในช่วงสถานการณ์ของโรคระบาดนี้ก็ยังมีอยู่ เช่น การได้ใช้เวลาอยู่กับครอบครัวมากขึ้น การมีเวลาพักผ่อนมากขึ้นจากการไม่ต้องเดินทาง และได้ทำกิจกรรมที่ตนเองสนใจมากยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ ผลการสำรวจยังระบุว่าหากสถานการณ์ของโรคดีขึ้น ยังมีความต้องการพื้นที่ทางศิลปวัฒธรรมในรูปแบบ Onsite เกือบครึ่ง (44.18%) จากผลการสำรวจจึงนำมาสู่งานสาธารณศิลป์ (Art for Public) ซึ่งจะเป็นหนทางในการเยียวยาจิตใจให้กับชาวศาลายาได้ จากประวัติศาสตร์ศาลายาที่เก็บยาเป็นศาลายาใจโดยกำหนดจัดงาน"อยู่เย็นเป็นสุข ณ ศาลายา" ในวันที่ 13 กรกฎาคม 2565 ณ วัดสุวรรณาราม ศาลายา โดยมีกิจกรรมต่างๆ มากมาย เช่น MAKE PAINT FROM PLANT ตกแต่งขวดสเปรย์แอลกอฮอล์แฟนตาซี ปั้นแหวานแทนใจ ขนมพื้นถิ่นไทย-เพื่อนบ้านอาเซียน อาหาร - ขนมหวาน ศาลายา หมู่ 1 เป็นต้น รวมทั้งมีมหรสพรื่นเริงทั้งทุนทางวัฒนธรรมของพื้นที่ไม่ว่าจะเป็น เพลงแหล่ เพลงเรือ ลิเก ละครชาตรี แตรวง เป็นต้น รวมทั้งเครือข่ายศิลปินจากภายนอกชุมชน ซึ่งวันนั้นทางโครงการฯ จะทำการเปิดตัวต้นกัลปพฤกษ์ที่เกิดจากการบูรณาการศิลปกรรมหลายแขนงเข้าด้วยกัน โดยหวังว่า กิจกรรมดังกล่าวจะนำมาสู่ "การเยียวยาจิตใจและเปิดพื้นที่แห่งความสุข" ให้กับคนในศาลายาผ่านกิจกรรมดังกล่าว

Web link : https://www.facebook.com/artforpublic.th
https://fb.watch/esD0gGsC6R/
https://youtu.be/RAoAnAJyK4o
SDG Goal ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ : 17
รูปภาพประกอบ :
    
    
     
    
     
    
 

Research Institute for Languages and Cultures of Asia, Mahidol University
999 Budhamonthon Sai 4, Salaya, Budhamonthon, Nakhon Pathom 73170, Thailand. Tel. (662) 8002308-14 Fax. (662) 8002332