ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ : |
1. ด้านนโยบาย
1.1 ราชบัณฑิตยสถาน-: คณะกรรมการนโยบาย โดยผลการวิจัยนำไปสู่การเสนอให้คณะกรรมการดังกล่าว เพื่อเป็นแนวทางในการนำไปพิจารณาประกอบยุทธศาสตร์ในการจัดทำนโยบายภาษาแห่งชาติของประเทศไทยต่อไป
1.2 นำเสนอแนวทางในการประชุมการวางแนวทางยุทธศาสตร์พหุวัฒนธรรมของประเทศ
2. ด้านสาธารณะ
2.1 คณะผู้วิจัยได้มีโอกาสนำเสนอผลการวิจัยในการประชุม/สัมมนาที่จัดโดยภาครัฐ เช่น กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และการประชุมอื่นๆโดยภาควิชาการและภาคประชาสังคมเป็นระยะๆ โดยใช้ข้อมูลที่ได้จากงานวิจัยในการบรรยายและอภิปรายสาธารณะ, นำเสนอผลการวิจัยในการประชุม/สัมมนาที่จัดโดยภาครัฐ เช่น กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และแชร์ข้อมูลกับภาคประชาสังคมและ UNHCR เพื่อประโยชน์ในการทำงาน
3. ด้านชุมชนและพื้นที่
3.1 องค์กรเอกชนที่ทำงานกับแรงงานข้ามชาติในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร เพื่อร่วมผลักดันข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่ค้นพบจากงงานวิจัยนี้ไปสู่การรับรู้และรับไว้พิจารณาของกระทรวงต่างๆ ที่เกี่ยวข้องร่วมกับทีมวิจัย
3.2 องค์กรพัฒนาเอกชนที่ทำงานเกี่ยวกับผู้ลี้ภัย โดยใช้ข้อมูลในการผลักดันนโยบายในระดับท้องถิ่นและใช้ข้อมูลในการปฏิบัติงานในพื้นที่
3.3 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย โรงพยาบาลเชียงแสน โรงพยาบาลแม่สาย รพ.สต. เกาะช้าง รพ.สต. สบรวก โดยผู้วิจัยได้แลกเปลี่ยนข้อมูลและผลการวิจัยให้แก่สถานพยาบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ศึกษา เพื่อให้หน่วยงานได้ทราบสถานการณ์การใช้บริการสุขภาพข้ามพรมแดนที่วิเคราะห์จากข้อมูลจริงที่เก็บโดยสถานพยาบาลแต่ละแห่ง และนำผลการวิจัยไปพิจารณาเพื่อวางแนวทางในการจัดการบริการสุขภาพแก่ประชากรข้ามพรมแดนต่อไป
4. ด้านวิชาการ
4.1 กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยโครงการวิจัยเสนอแนะเชิงนโยบายให้กับสองกระทรวงเพื่อนำไปสู่การพิจารณาดำเนินการต่อไป โครงการได้เผยแพร่ผลการวิจัยผ่านบทความวิชาการ
4.2 ภาควิชาสังคมและสุขภาพ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ให้นักศึกษาระดับปริญญาเอก จำนวน 3 คน จากหลักสูตรสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข และ Health Social Sciences International Program เข้าร่วมเป็นนักวิจัยในโครงการ และได้ร่วมวางแผนการดำเนินงาน เก็บข้อมูลวิจัยในพื้นที่ทั้งเชิงคุณภาพและปริมาณ รวมถึงร่วมวิเคราะห์ข้อมูล และมีนักศึกษานำผลการวิจัยไปใช้ต่อยอดเพื่อพัฒนาหัวข้อดุษฎีนิพนธ์ และใช้ขอทุนปริญญาเอกกาญจนาภิเษกของ สกว.
นอกจากนี้ ผลการศึกษาและองค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษา ถูกนำไปใช้ผนวกเป็นเนื้อหาในรายวิชาต่างๆ ที่เกี่ยวกับสังคมศาสตร์และระบบสุขภาพ ใน 3 หลักสูตร ของมหาวิทยาลัยมหิดล ได้แก่ หลักสูตรสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข และ Health Social Sciences International Program ของคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ และ ASEAN Studies for Sustainable Development Program ของบัณฑิตวิทยาลัย
4.3 สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ใช้ผลการวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษาทั้งในระดับปริญญาโทและเอก
4.4 สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดลและบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ใช่ผลการวิจัยใช้เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอน 2 หลักสูตรด้วยกัน คือ หลักสูตรปริญญาเอกพหุวัฒนธรรมศึกษา และหลักสูตรปริญญาโทอาเซียนศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
4.5 คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้นำผลการวิจัยไปใช้ในการเรียนการสอนหลักสูตรปริญญาเอกด้านสังคมสงเคราะห์
5. การเผยแพร่/ประชาสัมพันธ์
5.1 สิ่งพิมพ์ หรือสื่อทั่วไป
5.1.1 การประชุมเชิงปฏิบัติการ Transnational Mobility in ASEAN: Challenges and Implications for Multicultural Society, Human Rights, Social Protection and Health System ณ ศูนย์การเรียนรู้มหิดล วันที่ 21 สิงหาคม 2560
5.1.2 การประชุมเชิงปฏิบัติการ International Workshop Human Mobility in ASEAN : Social Protection and Multiculturalism ณ โรงแรมสุโกศล วันที่ 11 กรกฎาคม 2561
5.1.3 นำเสนอผลงานวิจัย เรื่อง "พหุวัฒนธรรมอาเซียนในพื้นที่ออฟไลน์และออนไลน์ : พลวัต การบริหารการจัดการและสมรรถนะทางพหุวัฒนธรรมในบริบทการย้ายถิ่นข้ามชาติ กรณีศึกษาประเทศไทย สิงคโปร์ และมาเลเซีย" งานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2562 (Thailand Research Expo 2019) วันที่ 7 - 10 เมษายน 2562 ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์
5.1.4 ใช้ข้อมูลในการบรรยายในหัวข้อ Protecting and promoting the rights of children on the move ใน CRC@30: Regional Workshop on the proposed draft ASEAN Declaration on Children on the Move จัดโดย UNICEF and Ministry of Social Development and Human Security, 26-27 June 2019, Bangkok, Thailand.
5.1.5 ใช้ข้อมูลบรรยายในโอกาสเฉลิมฉลอง 30 ปี อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก หัวข้อ เด็กในสถานการณ์โดยกย้ายถิ่น จัดโดยกรมกิจการเด้กและเยาวชน กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และยูนิเซฟ วันที่ 20 พฤศจิกายน 2562 กรุงเทพ
5.2 สิ่งพิมพ์ทางวิชาการ (วารสาร, การประชุม ให้ระบุรายละเอียดแบบการเขียนเอกสารอ้างอิง เพื่อการค้นหา ซึ่งควรประกอบด้วยชื่อผู้แต่ง ชื่อเรื่อง แหล่งพิมพ์ ปี พ.ศ. (ค.ศ.) ฉบับที่ หน้า)
5.2.1 Nirathron, Narumol & Theerakosonphong, Kritsada. (2018). Social Protection for Those Who Are Left Behind: Proposed Recommendations for Consideration. Thammasat Review, 21(1), 93-110.
5.2.2 Sumarlan, Yanuar and Kranrattanasuit, Naparat. (2019). Restricted Right to Employment among Refugee and Asylum Seekers in Indonesia and Its Consequences. In Culture and International Law: Proceedings of the International Conference. Hikmahanto Juwana, Jeffrey Thomas, Mohd Hazmi Mohd Rusli & Dhiana Puspitawati (Eds.), (pp. 21-42). CRC Press/Balkema—London: Taylor & Francis Group.
5.2.3 Kranrattanasuit, Naparat (2020). Emergency, Exclusion, and Inequity in Education of Refugee and Asylum Seeker Children in Indonesia. The Social Science Journal. 57(1): 1-16. DOI: 10.1080/03623319.2020.1728504.
5.2.4 Sumarlan, Yanuar. 2020. "Political Economy of Pragmatic Refugee Policies in Indonesia As a Transit Country". ASIAN REVIEW 32 (3), 63-93. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/arv/article/view/240363.
5.2.5 Srichampa, Sophana; Burarungrot, Mirinda; Samoh, Uniansasmita, (2018). Language planning through policy in Thailand, Malaysia and Singapore for unskilled migrant workers. Journal of Languages and Linguistics.36(2), 89-121.
5.2.6 นฤมล นิราทร, วิไลภรณ์ โคตรบึงแก, และ กฤษฎา ธีระโกศลพงศ์. (2563). ครอบครัวที่อยู่ข้างหลังของแรงงานย้ายถิ่น: การคุ้มครองทางสังคมสำหรับคนจนและเปราะบางในเขต Ou Chrov ประเทศกัมพูชา. วารสารธรรมศาสตร์, 39(3), [ตอบรับการตีพิมพ์แล้วและจะเผยแพร่ในเดือนธันวาคม 2563]
5.2.7 มรกต ไมยเออร์, วิมลสิริ เหมทานนท์, ภัทราภรณ์ ภูบาล และสิทธิพร เนตรนิยม (2562). "พัฒนาการนโยบายแรงงานข้ามชาติของประเทศมาเลเซียและปัญหาปัจจุบันจากมุมมองของแรงงาน". วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. ฉบับพิเศษ 2562, 163-187.
หมายเหตุ การตีพิมพ์เพิ่มเติมกำลังอยู่ในระหว่างดำเนินการ |