Mahidol University     |     Webmail     |     RILCA Intranet     |     Contact     ||     EN     |     TH     |           
 
RILCA SUSTAINABLE DEVELOPMENT GOALS (SDGS)
เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน
 

KEY TOPICS
OTHERS      
     

ชื่องานวิจัย :
การบันทึกความรู้ทางด้านพฤกษศาสตร์ของกลุ่มเขมรถิ่นไทยในรูปแบบดิจิทัล : โดยการทำงานร่วมกันของนักภาษาศาสตร์ และคนในชุมชน
คณะ/สาขาวิชา :

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ศิริเพ็ญ อึ้งสิทธิพูนพร
สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย

ที่มาและความสาคัญ :
กลุ่มชาติพันธุ์เขมรถิ่นไทยในประเทศไทยมีจำนวนประชากรประมาณ 1.4 ล้านคน อาศัยอยู่มากในจังหวัดสุรินทร์ ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ จันทบุรี ตราด ฯลฯ ถึงแม้ว่าจะมีจำนวนประชากรมากก็ตาม แต่ก็เผชิญปัญหาการถดถอยของการใช้ภาษาและวัฒนธรรม เนื่องจากใช้ภาษาไทยมากขึ้น และใช้ภาษาเขมรถิ่นไทยน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด ในอดีตชาวเขมรถิ่นไทยมีความใกล้ชิดกับธรรมชาติมาก แต่เมื่อไม่นานมานี้มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อนคือการที่เจ้าของภาษาใช้ภาษาและวัฒนธรรมน้อยลง ซึ่งมีผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีววิทยา หากไม่มีการทำอะไรภายในไม่กี่ปีข้างหน้าความรู้ที่เกี่ยวกับพืชต่างๆในชุมชนอาจจะสูญหายได้ จึงจำเป็นต้องมีการบันทึกองค์ความรู้เหล่านั้นในรูปแบบดิจิทัล เพราะสามารถให้ผู้สนใจศึกษาเข้าถึงได้สะดวกรวดเร็ว ดังนั้นช่วงเวลาสองปีของโครงการนี้ นักภาษาศาสตร์จากสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย ม.มหิดล โดย ผศ.ดร.ศิริเพ็ญ อึ้งสิทธิพูนพร จะทำงานแบบสหวิทยาการร่วมกับนักภาษาศาสตร์ นักพฤกษศาสตร์ชาติพันธุ์ จาก SOAS, ประเทศ สหราชอาณาจักร และทำงานร่วมกับชาวเขมรถิ่นไทยในชุมชน ร่วมกันสร้างฐานข้อมูลดิจิทัล เกี่ยวกับชื่อพืชพรรณ และการใช้ประโยชน์ของพืชที่พบในป่าชุมชน และการศึกษาชาติพันธุ์วรรณาของการถ่ายโอนความรู้จากรุ่นสู่รุ่น มีการจัดอบรมให้ความรู้ด้านการบันทึกข้อมูลและเก็บข้อมูลภาคสนามในชุมชน โดยเน้นการให้ความรู้กับคนในชุมชนเพื่อเก็บบันทึกข้อมูลพร้อมทั้งการใช้แหล่งข้อมูลดิจิทัล
ขอบเขต/พื้นที่ศึกษา :
ชุมชนเขมรถิ่นไทย หมู่ 8 บ้านขนาด-ปรีง ตำบลเชื้อเพลิง อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์
วัตถุประสงค์ : (1) ต้องการบันทึกองค์ความรู้ด้านพฤกษศาสตร์ การใช้ประโยชน์ และการจัดกลุ่มพันธุ์พืชตามภูมิปัญญาของกลุ่มเขมรถิ่นไทยในจังหวัดสุรินทร์ ในรูปแบบดิจิทัล
(2) ประเมินการถ่ายทอดองค์ความรู้เหล่านั้นไปยังรุ่นลูกหลาน ซึ่งอาจมีหลายวิธี เช่น ทั้งการใช้คำพูดหรือไม่ใช้คำพูดก็ได้ เพื่อประโยชน์ในการวางแผนการอนุรักษ์ฟื้นฟูภาษาวัฒนธรรม
(3) วิเคราะห์ข้อมูลการจัดแบ่งประเภทพืชพรรณดังกล่าวโดยเปรียบเทียบกับทางวิทยาศาสตร์
(4) อบรมให้ความรู้กับชุมชนและนักวิชาการที่สนใจในการใช้โปรแกรมเทคโนโลยีที่ใช้ผลิตสื่อสำหรับถ่ายทอดองค์ความรู้ให้ลูกหลานต่อไป
แหล่งทุนสนับสนุน :
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) / British Academy (Newton Mobility Fund)
หน่วยงานที่ร่วมมือ :
SOAS, University of London, University of the South Pacific, University of Kent
ผู้มีส่วนได้เสีย : ชุมชนเขมรถิ่นไทย หมู่ 8 บ้านขนาด-ปรีง ตำบลเชื้อเพลิง อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์
ระดับความร่วมมือ : นานาชาติและชุมชน
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ :
เดือนตุลาคม 2563 หนังสือ 5 เล่ม ได้แก่
1. เรียนภาษาเขมรถิ่นไทยแบบบูรณาการ เล่ม 1
2. เรียนภาษาเขมรถิ่นไทยแบบบูรณาการ เล่ม 2
3. คู่มือการบันทึกความรู้ท้องถิ่น : การใช้เทคโนโลยีภาคสนามทางภาษาและวัฒนธรรม
4. พืชเขมรถิ่นไทย เล่ม 1
5. พืชเขมรถิ่นไทย เล่ม 2
ที่เกิดจากผลผลิตในโครงการนำไปแจกจ่ายให้กับหน่วยงานในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ที่มีผู้พูดภาษาเขมรถิ่นไทย ได้แก่
1.ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวที่ 16 สุรินทร์
2.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลเชื้อเพลิง
3. สำนักงานสาธารณสุข อำเภอปราสาท
4. โรงเรียนอนุบาลปราสาทศึกษาคาร
5. โรงเรียนสุวรรณวิจิตรวิทยา
6. สำนักงานป่าไม้ อำเภอปราสาท
7. สำนักงานเกษตรอำเภอปราสาท
8. รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์
9. กศน. อำเภอปราสาท
10. นายอำเภอปราสาท
11. โรงเรียนเชื้อเพลิงวิทยา
12. โรงเรียนบ้านเชื้อเพลิง
13. โรงเรียนบ้านโพธิ์กอง
14. โรงเรียนบ้านปราสาท
15. โรงเรียนประสาทวิทยาคาร
16. โรงเรียนรัฐประชาสามัคคี
17. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเชื้อเพลิง
18. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโพธิ์กอง
19. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านระเบอะ
20. อบต.เชื้อเพลิง
21. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
22. สภาวัฒนธรรมจังหวัดสุรินทร์
23. ผู้บังคับกองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ 217 (โรงเรียนในสังกัด ตชด.)
24. ทีมวิจัยชุมชน
25. ศึกษานิเทศก์
Web link : https://langarchive-th.org/th/collection/northern-khmer
SDG Goal ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ :
รูปภาพประกอบ :
   
 

Research Institute for Languages and Cultures of Asia, Mahidol University
999 Budhamonthon Sai 4, Salaya, Budhamonthon, Nakhon Pathom 73170, Thailand. Tel. (662) 8002308-14 Fax. (662) 8002332