|
|
ชื่อหลักสูตร : |
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์ |
ชื่อปริญญา : |
ชื่อเต็ม ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ภาษาศาสตร์) |
|
ชื่อย่อ ศศ.ม. (ภาษาศาสตร์) |
เทคโนโลยีการสื่อสารและการคมนาคมอันทันสมัยในยุคปัจจุบัน ส่งผลให้ผู้คนในภูมิภาคต่างๆ สามารถติดต่อสื่อสารกันได้รวดเร็วขึ้น ประกอบกับเมื่อมีการเปิดประชาคมอาเซียนแล้ว ได้มีประชากรของประเทศเพื่อนบ้านเดินทางเข้ามาทำงานในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก ทำให้สังคมไทยมีความหลากหลายทางภาษา สังคม และวัฒนธรรมมากขึ้น คนไทยและสังคมไทยจึงต้องรับมือกับกระแสของการเปลี่ยนแปลงนี้อย่างเข้าใจ ภาษานับเป็นเครื่องมือสำคัญอย่างหนึ่งที่จะช่วยทำให้ผู้คนที่มีความหลากหลายสามารถอยู่ร่วมกันอย่างเข้าใจกัน มีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน รวมถึงใช้แก้ปัญหาความขัดแย้งได้อีกด้วย อีกด้านหนึ่งของความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีนี้ ก็ได้ส่งผลกระทบต่อการธำรงอยู่ของภาษาและวัฒนธรรมโดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ที่มีอยู่อย่างหลากหลายในกลุ่มประเทศอาเซียน หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิตมีเป้าหมายที่จะผลิตบุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญทางด้านภาษา เพื่อเข้าไปมีส่วนในการพัฒนาตลอดจนแก้ปัญหาทางสังคมและวัฒนธรรมในภาคส่วนต่างๆ รวมถึงช่วยฟื้นฟูภาษาที่อยู่ในภาวะวิกฤตโดยผ่านกระบวนการวิจัย มหาบัณฑิตจะได้รับความรู้ทางภาษาศาสตร์ทั้งทางภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ มีทักษะการคิดวิเคราะห์ สำหรับใช้เป็นเครื่องมือในการวิจัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการวิจัยในประเด็นด้านภาษาและภาษาศาสตร์ ทั้งภาษาประจำชาติและภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์ ทั้งในประเทศไทยและในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียน
การเรียนการสอน
ในเวลาราชการ
อะไรที่แตกต่างจากหลักสูตรอื่น
-
สร้างความรู้ ความเข้าใจด้านทฤษฎีภาษาศาสตร์ทั้งด้านปฏิบัติ และประยุกต์
-
นำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลภาษา
-
เน้นการศึกษาภาษาและวัฒนธรรมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
-
ฝึกการวิจัยภาคสนาม การวิจัย และการนำเสนอผลงานวิชาการในเวทีวิชาการทั้งในระดับชาติและนานาชาติ
รายวิชาในหลักสูตร
-
หมวดวิชาปรับพื้นฐาน ไม่นับหน่วยกิต
- *วภภษ 501 ภาพรวมภาษาศาสตร์
ภาพรวมของวิชาภาษาศาสตร์ แขนงวิชาต่างๆ ทางด้านภาษาศาสตร์ ภาษาศาสตร์ทฤษฎีและภาษาศาสตร์ประยุกต์ แง่มุมทางสัทศาสตร์และสัทวิทยา การสร้างคำและการสร้างประโยค อรรถศาสตร์ สัมพันธสารวิเคราะห์ วัจนปฏิบัติศาสตร์ ภาษาศาสตร์สังคม ภาษาศาสตร์เชิงประวัติ ภาษาศาสตร์และการเรียนการสอนภาษา
- วภสว 601 สารัตถะของวิธีวิทยาระเบียบวิธีวิจัย
ปรัชญาและกระบวนทัศน์หลักในการวิจัย ประเด็นสำคัญในการวิจัยการสื่อสารในบริบททางวัฒนธรรมที่หลากหลาย การวางแผนการวิจัย การตั้งโจทย์ กรอบการวิจัย การทบทวนวรรณกรรม แนวทางระเบียบวิธีวิจัย จริยธรรมการวิจัยและธรรมชาติของความรู้ที่ได้มาจากวิธีการวิจัยที่แตกต่างกัน และความเหมาะสมในการตอบปัญหาการวิจัย
-
หมวดวิชาบังคับ จำนวน 15 หน่วยกิต
- *วภภษ 502 สัทศาสตร์และสัทวิทยา
อวัยวะที่ใช้ในการออกเสียง สรีรสัทศาสตร์ กลสัทศาสตร์ การเกิดเสียง การถ่ายถอดเสียงจากภาษาต่างๆ สู่สัทอักษร ทฤษฎีที่ใช้วิเคราะห์ระบบเสียง วิธีวิทยาเพื่อวิเคราะห์ระบบเสียงของภาษา การฝึกวิเคราะห์ศาสตร์เกี่ยวกับเสียงเชิงฝึกปฏิบัติโดยใช้ข้อมูลจากภาษาต่างๆ จริยธรรมการวิจัย
- วภภษ 505 วากยสัมพันธ์
มโนทัศน์พื้นฐานและระเบียบวิธีการวิเคราะห์ตามแนวคิดทฤษฎีต่างๆ การวิเคราะห์วากยสัมพันธ์ตามแนวโครงสร้างทางไวยากรณ์ การวิเคราะห์หน่วยคำ คำ วลี อนุพากย์ และประโยค ความสัมพันธ์ระหว่างวากยสัมพันธ์กับอรรถศาสตร์ การนำเสนอผลการศึกษาอย่างถูกต้องตามจริยธรรมทางวิชาการ
- วภภษ 509 ระเบียบวิธีวิจัยภาคสนามทางภาษาศาสตร์
ทฤษฎีและวิธีการทางภาษาศาสตร์ที่นำมาวิเคราะห์ภาษา จริยธรรมในการทำวิจัยภาคสนาม การซักถามภาษาและการสัมภาษณ์ที่ปรึกษาด้านภาษา การจัดการข้อมูลและการเรียบเรียงรายงานสังเขปภาษาและวัฒนธรรม
- วภภษ 525 ภาษาศาสตร์สังคม
ภาษาและบริบททางสังคมวัฒนธรรม การแปรภาษา การสัมผัสภาษา ภาวะทวิภาษาและพหุภาษา ภาษาและอัตลักษณ์ ภาวะวิกฤตทางภาษาและการฟื้นฟูภาษา การปนและการสลับภาษา ภาษาและชุมชน
- วภภษ 532 ภาษาศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ภาษาที่พูดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทางด้านวรรณนาและเปรียบเทียบ ลักษณะเฉพาะและลักษณะร่วมของภาษาในแต่ละตระกูลภาษา
-
หมวดวิชาเลือก แผน ก แบบ ก 2 จำนวน 9 หน่วยกิต / แผน ข จำนวน 15 หน่วยกิต
- วภภษ 506 ภาษาศาสตร์ชาติพันธุ์
ความสัมพันธ์ระหว่างมานุษยวิทยาและภาษาศาสตร์ ภาษาและโลกทัศน์ วิธีวิทยาและการเก็บข้อมูลแบบชาติพันธุ์วรรณนา ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรม สัญศาสตร์ สัมพันธสารกับภาษา ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับปริชาน
- วภภษ 507 ภาษาศาสตร์การศึกษา
ทฤษฎีทางภาษาศาสตร์ กับการศึกษา การประยุกต์ความรู้ภาษาศาสตร์เพื่อพัฒนาภาษาและจัดการศึกษาเพื่อการรู้หนังสือ การสอนภาษาในฐานะที่เป็นภาษาที่หนึ่ง ภาษาที่สอง หรือภาษาต่างประเทศ การเชื่อมโยงภาษาราชการ ภาษาประจำชาติ ภาษานานาชาติ นโยบายภาษาและการวางแผนทางภาษาเพื่อการศึกษาของกลุ่มประเทศในเอเชีย การรักษาความหลากหลายทางภาษาและวัฒนธรรม และสิทธิทางภาษา
- *วภภษ 510 กลสัทศาสตร์
ทฤษฎีทางกลสัทศาสตร์กับการผลิตเสียง ลักษณะทางกายภาพของคลื่นเสียง ความสัมพันธ์ระหว่างกลสัทศาสตร์กับสรีรสัทศาสตร์ เทคนิคการวิเคราะห์คลื่นเสียงโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ลักษณะทางกลสัทศาสตร์ของเสียงพยัญชนะ เสียงสระ ในภาษาต่างๆ ลักษณะทางกลสัทศาสตร์ของจังหวะและทำนองเสียงพูด ระดับเสียงและระยะเวลา เทคนิคการบันทึกเสียง และแปลงเป็นไฟล์คลื่นเสียงสำหรับการวิเคราะห์โดยใช้โปรแกรมพราท
- วภภษ 520 วัจนปฏิบัติศาสตร์
มโนทัศน์พื้นฐานทางวัจนปฏิบัติศาสตร์ ความสำคัญของบริบทต่อการติดต่อสื่อสาร ตัวบ่งบอก สภาวะเกิดก่อน การตีความหมายนัย วัจนกรรม การวิเคราะห์บทสนทนา โครงสร้างบทสนทนา ความสุภาพ ความสัมพันธ์ระหว่างความหมายและวัจนปฏิบัติศาสตร์ ความสัมพันธ์ระหว่างวัจนปฏิบัติศาสตร์กับโครงสร้างสัมพันธสาร
- วภภษ 523 สัมพันธสารวิเคราะห์
สัมพันธสารในปฏิบัติการทางสังคมวัฒนธรรมจากมุมมองทั้งเชิงทฤษฎีและปฏิบัติ การนิยามสัมพันธสาร วิธีการวิเคราะห์สัมพันธ์สาร หน่วยการวิเคราะห์สัมพันธสาร ประเภท สัมพันธสาร ภาพรวมทฤษฎีและระเบียบวิธีในการวิเคราะห์สัมพันธสารที่สำคัญ การฝึกวิเคราะห์สัมพันธสาร การนำเสนอผลการศึกษาอย่างถูกต้องตามจริยธรรมทางวิชาการ
- วภภษ 534 ภาษาศาสตร์เชิงประวัติ
หลักการวิวัฒนาการเชิงประวัติของภาษา การวิเคราะห์วิวัฒนาการภาษา การเปลี่ยนแปลงของภาษาและวิธีการสืบสร้างภาษา
- วภภษ 535 การเขียนและระบบการเขียน
วิวัฒนาการของการเขียนหนังสือตั้งแตยุคเริ่มแรก จากอักษรภาพจนถึงยุคตัวอักษร การบรรยาย และการเปรียบเทียบวิธีการเขียนหนังสือแบบตางๆ ในโลก กฎเกณฑที่จะใชอธิบายวิธีและวิวัฒนาการของการเขียนภาษาตางๆ การออกแบบระบบเขียนสำหรับภาษาที่ไม่มีภาษาเขียน
- วภภษ 536 อรรถศาสตร์
ระยะกาลในประวัติศาสตร์ของวิชาอรรถศาสตร์ ความแตกต่างระหว่างอรรถศาสตร์ในภาษาศาสตร์และอรรถศาสตร์ในรูปแบบอื่น มโนทัศน์พื้นฐาน ทฤษฎี และระเบียบวิธี การวิเคราะห์ความหมายของคำ ประโยค และข้อความ
- *วภภษ 538 การฝึกปฏิบัติการทางภาษาศาสตร์ภาคสนาม
การออกแบบโครงการวิจัยภาคสนามทางภาษาศาสตร์ การบันทึกข้อมูลภาษา การพรรณนาภาษา การพัฒนาภาษา การปฏิบัติการวิจัยในภาคสนาม การนำเสนอผลงานจากการฝึกปฏิบัติการ การเขียนรายงานอย่างถูกต้องตามจริยธรรมทางวิชาการ
- *วภภษ 539 ภาษาศาสตร์คลังข้อมูล
ภูมิหลังเชิงประวัติของภาษาศาสตร์คลังข้อมูล มโนทัศน์พื้นฐาน ทฤษฎี และระเบียบวิธี
การออกแบบคลังข้อมูล และการทำคำอธิบายประกอบคลังข้อมูล ประเภทของคลังข้อมูลภาษาและการประยุกต์ ซอฟต์แวร์วิเคราะห์คลังข้อมูลภาษา การประยุกต์ระเบียบวิธีทางภาษาศาสตร์คลังข้อมูลในภาษาศาสตร์แขนงต่าง ๆ
- วภภษ 543 การทำพจนานุกรม
พัฒนาการของการทำพจนานุกรม ประเภทของพจนานุกรมและการใช้ประเด็นศึกษาเชิงทฤษฎีและปฏิบัติในการทำพจนานุกรม การทำพจนานุกรมและภาษาศาสตร์คลังข้อมูล เครื่องมือซอฟต์แวร์ในการสร้างและการจัดพิมพ์พจนานุกรม
- วภภษ 547 ภาวะพหุภาษาและการศึกษาแบบพหุภาษา
แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับภาวะทวิภาษา พหุภาษา ความสำคัญ ผลกระทบด้านจิตวิทยา สังคมและวัฒนธรรม ยุทธศาสตร์และวิธีการในการจัดการศึกษาแบบทวิภาษาหรือพหุภาษา การออกแบบหลักสูตรที่ใช้ภาษาแม่เป็นฐานการเรียนรู้ และการผลิตสื่อการเรียนการสอน
- วภภษ 549 ภาษาศาสตร์ตระกูลทิเบต-พม่า
ลักษณะโครงสร้างของเสียง หน่วยคำ และวากยสัมพันธ์ของภาษาตระกูลทิเบตพม่า โดยเน้นปัญหาที่ปรากฏให้เห็นในโครงสร้างของภาษาต่างๆ พม่า กะเหรี่ยง อะข่า ละหู่
- วภภษ 562 ภาษาศาสตร์ตระกูลออสโตรเอเชียติก
ลักษณะโครงสร้างของเสียง หน่วยคำ และวากยสัมพันธ์ของภาษาในตระกูลออสโตรเอเชียติก โดยเน้นปัญหาที่ปรากฏให้เห็นในโครงสร้างของภาษาต่างๆ มอญ เขมร ละเวือะ ชอง กูย ญัฮกุร มลาบรี มานิ
- วภภษ 566 ภาษาศาสตร์ตระกูลออสโตรนีเซียน
ลักษณะโครงสร้างของเสียง คำ และวากยสัมพันธ์ของภาษาตระกูลออสโตรนีเซียน เน้นปัญหาที่ปรากฏในภาษาปัจจุบัน โดยเฉพาะภาษามาเลย์
- วภภษ 597 อักษรไท
ต้นกำเนิด รูปแบบ อักขรวิธี และพัฒนาการของอักษรไทชนิดต่างๆ ที่ใช้อยู่ในกลุ่มชนชาติพันธุ์ไท
- วภภษ 635 ความหลากหลายของกลุ่มชาติพันธุ์ในเอเชีย
วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ ลักษณะทางกายภาพ ภาษา วัฒนธรรม ความเชื่อ สังคม สถานภาพของอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์หลักๆ การคงอยู่ การปรับตัว การเปลี่ยนแปลง และการส่งเสริมจากภาครัฐและเอกชนในประเทศอินเดีย จีน และประเทศในกลุ่มอาเซียน
- วภภษ 637 ภาษาและภาษาศาสตร์ภาษาพม่า
การฟัง พูด อ่าน และเขียนภาษาพม่า วิเคราะห์ระบบเสียง คำ และวากยสัมพันธ์ภาษาพม่า
- วภภษ 638 เรื่องคัดเฉพาะทางภาษาและภาษาศาสตร์ภาษาพม่า
เรื่องที่คัดเลือกเฉพาะด้าน ระบบเสียง ระบบคำ ระบบไวยากรณ์ ความหมาย สัมพันธสาร วัจนปฏิบัติศาสตร์ ภาษาศาสตร์สังคม ภาษาศาสตร์เชิงประวัติ ภาษาและวัฒนธรรมของภาษาพม่า
- วภภษ 639 ภาษาและภาษาศาสตร์ภาษาจีน
การฟัง พูด อ่าน และเขียนภาษาจีน วิเคราะห์ระบบเสียง คำ และวากยสัมพันธ์ภาษาจีน
- วภภษ 645 เรื่องคัดเฉพาะทางภาษาและภาษาศาสตร์ภาษาจีน
การวิเคราะห์ประวัติและพัฒนาการของภาษาจีนท้องถิ่นแต่ละสำเนียงภาษา วิเคราะห์การแบ่งกลุ่มและความสัมพันธ์ของภาษาจีนท้องถิ่น ระบบเสียง ระบบคำ และไวยากรณ์ของภาษาจีนท้องถิ่น การทบทวนวรรณกรรมงานวิจัยของภาษาจีนถิ่น
- วภภษ 646 ภาษาศาสตร์ตระกูลจีน
ลักษณะโครงสร้างของเสียง หน่วยคำ และวากยสัมพันธ์ของภาษาในตระกูลจีน โดยเน้นปัญหาที่ปรากฏให้เห็นในโครงสร้างของภาษาต่างๆ ในปัจจุบัน ๗ กลุ่ม แมนดาริน หวู เซียง กั้น ฮากกา หมิน และ แคนโทนีส ความสัมพันธ์ระหว่างภาษาจีนทั้ง ๗ กลุ่ม การกระจายตัวของผู้พูดภาษาจีนทั้ง ๗ กลุ่ม
- วภภษ 647 ภาษาและภาษาศาสตร์ภาษาเขมร
การฟัง พูด อ่าน และเขียนภาษาเขมร วิเคราะห์ระบบเสียง คำ และวากยสัมพันธ์ภาษาเขมร
- วภภษ 648 เรื่องคัดเฉพาะทางภาษาและภาษาศาสตร์ภาษาเขมร
เรื่องที่คัดเลือกเฉพาะด้าน ระบบเสียง ระบบคำ ระบบไวยากรณ์ ความหมาย สัมพันธสาร วัจนปฏิบัติศาสตร์ ภาษาศาสตร์สังคม ภาษาศาสตร์เชิงประวัติ ภาษาและวัฒนธรรมของภาษาพม่า
- วภภษ 649 ภาษาและภาษาศาสตร์ภาษาเวียดนาม
การฟัง พูด อ่าน และเขียนภาษาเวียดนาม วิเคราะห์ระบบเสียง คำ และวากยสัมพันธ์ภาษาเวียดนาม
- วภภษ 669 เรื่องคัดเฉพาะทางภาษาและภาษาศาสตร์ภาษาเวียดนาม
เรื่องที่คัดเลือกเฉพาะด้าน ระบบเสียง ระบบคำ ระบบไวยากรณ์ ความหมาย สัมพันธสาร วัจนปฏิบัติศาสตร์ ภาษาศาสตร์สังคม ภาษาศาสตร์เชิงประวัติ ภาษาและวัฒนธรรมของภาษาเวียดนาม
- วภภษ 677 ภาษาและภาษาศาสตร์ภาษามาเลย์
การฟัง พูด อ่าน และเขียนภาษามาเลย์ วิเคราะห์ระบบเสียง คำ และวากยสัมพันธ์ภาษามาเลย์
- วภภษ 690 เรื่องคัดเฉพาะทางภาษาและภาษาศาสตร์ภาษามาเลย์
เรื่องที่คัดเลือกเฉพาะด้าน ระบบเสียง ระบบคำ ระบบไวยากรณ์ ความหมาย สัมพันธสาร วัจนปฏิบัติศาสตร์ ภาษาศาสตร์สังคม ภาษาศาสตร์เชิงประวัติ ภาษาและวัฒนธรรมของภาษามาเลย์
- วภภษ 691 เรื่องคัดเฉพาะทางภาษาและภาษาศาสตร์ตระกูลไท-กะได
เรื่องที่คัดเลือกเฉพาะด้าน ระบบเสียง ระบบคำ ระบบไวยากรณ์ ความหมาย สัมพันธสาร วัจนปฏิบัติศาสตร์ ภาษาศาสตร์สังคม ภาษาศาสตร์เชิงประวัติ ภาษาและวัฒนธรรมของภาษาตระกูลไท-กะได
- ภภษ 692 ภาษาศาสตร์ตระกูลไท-กะได
ลักษณะของภาษาไท-กะได การสืบสร้างภาษาดั้งเดิมอันเป็นภาษาแม่ของภาษาไท-กะได ความสัมพันธ์ระหว่างภาษาไท-กะไดกับภาษาในตระกูลออสโตรเอเชียติก และตระกูลจีน-ทิเบ
- วภภษ 695 วิทยาภาษาถิ่น
ความสัมพันธ์ทางประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์ของท้องถิ่นต่างๆ วิธีการเก็บรวบรวมคำภาษาท้องถิ่น ภาษาถิ่นเฉพาะภูมิภาคและการทำแผนที่ภาษาถิ่น เน้นหนักภาษาถิ่นต่างๆ ในประเทศไทยและ/หรือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
- วภภษ 696 การวิจัยตามกำหนด
นักศึกษาแต่ละคนเลือกศึกษาวิจัยหัวข้อที่ตนสนใจภายใต้การแนะนำของอาจารย์ผู้ควบคุมงานวิจัย การจัดทำโครงร่างวิทยานิพนธ์
-
วิทยานิพนธ์
- วภภษ 698 วิทยานิพนธ์
การออกแบบและกำหนดโครงการวิจัย การเสนอเค้าโครงวิจัย การศึกษาวิจัยอย่างมีจริยธรรม การคัดกรองข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การสังเคราะห์และวิพากษ์ผลการวิจัย การนำผลการวิจัยมาเรียบเรียงเป็นวิทยานิพนธ์ การนำเสนอวิทยานิพนธ์ การเรียบเรียงผลงานวิจัยเพื่อเผยแพร่ การเผยแพร่ผลงานวิจัยในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ จริยธรรมในการเผยแพร่ผลงานวิจัย
-
สารนิพนธ์
- วภภษ 697 สารนิพนธ์
การกำหนดหัวข้อสารนิพนธ์ การเสนอโครงร่าง การดำเนินการวิจัย อย่างมีจริยธรรม การรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ สังเคราะห์และวิพากษ์ข้อมูลผลการวิจัย การนำผลงานวิจัยมาเรียบเรียงเป็นสารนิพนธ์ การนำเสนอสารนิพนธ์ จริยธรรมในการเขียนรายงาน และการนำเสนอ
อาจารย์ประจำและอาจารย์พิเศษ
อาจารย์ประจำ
- รองศาสตราจารย์ ดร.โสภนา ศรีจำปา
Ph.D. (Linguistics), La Trobe University, Australia
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปัทมา พัฒน์พงษ์
Ph.D. (Linguistics), Macquarie University, Australia
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มยุรี ถาวรพัฒน์
ปร.ด. (ภาษาศาสตร์), มหาวิทยาลัยมหิดล, ประเทศไทย
- รองศาสตราจารย์ ดร.ศิริเพ็ญ อึ้งสิทธิพูนพร
ปร.ด. (ภาษาศาสตร์), มหาวิทยาลัยมหิดล, ประเทศไทย
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุมิตรา สุรัตน์เดชา
Ph.D. (Linguistics), University of Hawaii at Manoa, USA
- ดร.ยุทธพร นาคสุข
ปร.ด. (ภาษาศาสตร์), มหาวิทยาลัยมหิดล, ประเทศไทย
อาจารย์พิเศษ
- ศาสตราจารย์ ดร.อภิลักษณ์ ธรรมทวีธิกุล
Ph.D. (Linguistics), University of Texas at Austin, USA
- รองศาสตราจารย์ ดร.ชัชวดี ศรลัมภ์
Ph.D. (Linguistics), Chulalongkorn University, Thailand
- รองศาสตราจารย์ ดร.ชลธิชา บำรุงรักษ์
Ph.D. (Linguistics), University of Wisconsin–Madison, USA
- รองศาสตราจารย์ ดร.วีระ โอสถาภิรัตน์
Ph.D. (Linguistics), University of California, Berkeley, USA
- รองศาสตราจารย์ ดร.วริษา โอสถานนท์
Ph.D. (Linguistics), University of Hawaii at Manoa, USA
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิทยาวัฒน์ พิทยาภรณ์
Ph.D. (Linguistics), Cornell University, USA
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สาวิตรี คทวณิช
Ph.D. (Linguistics), University of Leeds, UK
- ผศ.ดร.จันทิมา อังคพณิชกิจ
ปร.ด. (ภาษาศาสตร์), จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ประเทศไทย
- ดร.จุฑามณี อ่อนสุวรรณ
Ph.D. (Linguistics), University of Michigan, USA
- ดร.นิตยา กาญจนะวรรณ
Ph.D. (Applied Linguistics), University of Texas at Austin, USA
- ดร.ศุจิณัฐ จิตวิริยนนท์
ปร.ด. (ภาษาศาสตร์), จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ประเทศไทย
- ดร.นรเศรษฐ์ พิสิฐพันพร
Ph.D. (Linguistics), La Trobe University, Australia
- Professor Dr.Robert S. Bauer
Ph.D. (Linguistics), University of California, USA
- Professor Dr.David Bradley
Ph.D. (Linguistics), University of London, UK
- Professor Dr.Jerold Edmondson
Ph.D. (Germanic Languages), University of California, Los Angeles, USA
- Professor Dr.John Hartmann
Ph.D. (English literature and Linguistics), University of Michigan, USA
- Professor Dr.Shoichi Iwasaki
Ph.D. (Linguistics),
University of Califonia, Los Angeles, , USA
- Professor Dr.Dennis Lee Malone
Ph.D. (Education), Indiana University, USA
- Professor Dr.Susan Elisabeth Malone
Ph.D. (Educational Leadership and Policy Studies), Indiana University, USA
- Assistant Professor Dr.Kirk Person
Ph.D. (Linguistics), University of Texas at Arlington, USA
- Associate Professor Dr. David Hirsh
Ph.D. (Applied Linguistics) Victoria University of Wellington, New Zealand
ข้อมูลเพิ่มเติม
ประธานหลักสูตร - ดร.ยุทธพร นาคสุข
โทรศัพท์
0-2800-2308-14
ต่อ 3113
โทรสาร
0-2800-2332
Email : yuttaporn.nak@mahidol.ac.th
เลขานุการหลักสูตร - ดร.สราวุฒิ ไกรเสม
โทรศัพท์
0-2800-2308-14
ต่อ 3324
โทรสาร
0-2800-2332
Email : sarawut.kra@mahidol.ac.th
งานสนับสนุนวิชาการ (หน่วยสนับสนุนการศึกษา)
โทรศัพท์
0-2800-2303,
0-2800-2308-14
ต่อ
3213,
3230
โทรสาร
0-2800-2332
การรับสมัคร
|