วภวธ 610 พหุวัฒนธรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หลังยุคอาณานิคม
ประวัติศาสตร์การสร้างชาติในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ความหลากหลายทางวัฒนธรรมก่อนรัฐชาติสมัยใหม่ มรดกของอาณานิคมและความตึงเครียดระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์และกลุ่มทางวัฒนธรรม ที่ส่งผลต่อความสำคัญระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์และการสร้างอัตลักษณ์ นโยบายและแนวคิดชาตินิยม บริบทของลัทธิล่าอาณานิคมอิทธิพลทางการเมือง และการทหารของมหาอำนาจที่มีส่วนในการก่อรูปความสัมพันธ์ และนโยบายเกี่ยวกับความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรมในภูมิภาคนี้ ผลสะท้อนของวาทกรรมเกี่ยวกับพหุวัฒนธรรมระดับโลก และการส่งเสริมสิทธิของชนกลุ่มน้อยในเอเชียตะวันออกฉียงใต้ ความสัมพันธ์
ระหว่างทฤษฎีหลังอาณานิคมกับพหุวัฒนธรรมนิยม รูปแบบของอาณานิคมใหม่ที่แสดงออกผ่านทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม
วภวธ 611 การข้ามชาติ การอพยพโยกย้าย และการพลัดถิ่นในเอเชีย
แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับโลกาภิวัตน์ วัฒนธรรมและอัตลักษณ์ การศึกษาพลวัตโลกและเศรษฐกิจ การเคลื่อนย้ายการผลิต แรงงาน สินค้า และทุนข้ามแดนในเอเชีย ความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรมในเอเชีย อันเป็นผลจากการเคลื่อนย้ายของผู้คนทั้งในอดีตและปัจจุบัน การพลัดถิ่นของชาวจีนและอินเดียในประเทศอาเซียน ความเป็นพลเมืองและการปรับใช้แนวคิดเรื่องสิทธิโดยผู้ลี้ภัยและผู้อพยพ โดยเฉพาะจากพม่า เขมร และลาว ความเข้าใจต่อความเป็นพลเมืองแบบใหม่ๆ พลเมืองแบบยืดหยุ่น พลเมืองโลก พลเมืองสากล พลเมืองพหุวัฒนธรรม และนัยต่อบริบทเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ความหลากหลายของเงื่อนไขและแรงจูงใจของการเคลื่อนย้ายของประชากรในเอเชีย การหนีจากภัยคุกคาม การย้ายถิ่นของแรงงาน การย้ายถิ่นเพื่อโอกาสทางการศึกษา การท่องเที่ยวและการย้ายถิ่นเพื่อวิถีชีวิตที่ดีกว่า การย้ายถิ่นเพื่อการแต่งงาน และการค้ามนุษย์
วภวธ 614 พหุวัฒนธรรมกับการศึกษา
ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมกับการศึกษา การศึกษาในฐานะเครื่องมือการสร้างอุดมการณ์ชาติ การศึกษาในสังคมที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม กรณีศึกษาจากประเทศไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น ฮ่องกง ประเด็นเกี่ยวกับการศึกษาของนักเรียนต่างด้าวและกลุ่มชาติพันธุ์ ประเด็นและหลักการของการศึกษาพหุวัฒนธรรม อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมและการเรียนรู้ การศึกษาเพื่อการต่อต้านการเหยียดหยามทางวัฒนธรรม รูปแบบการสอนสำหรับผู้เรียนที่ความหลากหลายทางเชื้อชาติ ศาสนา ชนชั้นทางสังคม เพศสภาพ และความบกพร่องทางร่างกาย การศึกษาพหุวัฒนธรรมในทางปฏิบัติ หลักสูตร แบบเรียน นโยบาย กิจกรรมในโรงเรียน สื่อการสอน
วภวธ 619 การศึกษาประเด็นเฉพาะ
ปรึกษาประเด็นที่สนใจโดยตรงกับอาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญในประเด็นนั้นๆ
วภวธ 620 การเมืองของสิทธิทางวัฒนธรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
แนวคิดและการปฏิบัติเกี่ยวกับการขยายความหมายของสิทธิมนุษยชน ให้ครอบคลุมสิทธิทางวัฒนธรรม สิทธิทางภาษา สิทธิของชุมชนในการจัดการทรัพยากร ความเป็นเจ้าของร่วมในมรดกและทรัพย์สินทางวัฒนธรรม ทั้งที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้ ข้อโต้แย้งเกี่ยวกับมิติด้านมานุษยวิทยาของสิทธิ ท้องถิ่นภิวัตน์ของวาทกรรมสิทธิมนุษยชน การสร้างพื้นที่ต่อรองทางวัฒนธรรม โดยการผสมผสานมโนทัศน์สากลเกี่ยวกับสิทธิและความหลากหลายกับมโนทัศน์ท้องถิ่น ลิขสิทธิ์ทางความรู้ของชนเผ่าพื้นเมือง การตรวจสอบเชิงวิพากษ์ในประเด็นการเคลื่อนไหวทางสังคม ที่มีวัฒนธรรมเป็นตัวขับเคลื่อนโดยเฉพาะในบริบทของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
วภวธ 621 การสื่อสารกับพหุวัฒนธรรมเอเชีย
ทฤษฎีและแนวคิดเกี่ยวเกี่ยวกับพหุวัฒนธรรมการสื่อสาร การสื่อสารข้ามวัฒนธรรมและการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม บทบาทและอิทธิพลของปัจจัยทางสังคมวัฒนธรรมต่อการสื่อสารในบริบทเอเชียที่หลากหลาย ความเปลี่ยนแปลงของการสื่อสาร รูปแบบการสื่อสาร และการเมืองของวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารในสังคมเอเชีย การเติบโตของการสื่อสารแบบดิจิทัลกับประเด็นการเมืองของอัตลักษณ์ การสื่อสารมวลชน สิทธิการสื่อสาร การบริโภค สมรรถนะทางพหุวัฒนธรรม ชนชั้น และเพศสภาพ
วภวธ 622 พหุวัฒนธรรม โลกาภิวัตน์ กับพหุลักษณ์ทางการแพทย์
ทิศทางและแนวโน้มของพหุลักษณ์ทางการแพทย์ในบริบทของความเป็นพหุวัฒนธรรม อำนาจในการนิยามความหมายความเจ็บป่วยและการให้บริการ การต่อรองความหมายระหว่างการเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานหรือการเป็นสินค้าสุขภาพ การเข้าถึงบริการสุขภาพและสิทธิของกลุ่มคนชายขอบ กลุ่มคนพิการ ผู้สูงอายุ กลุ่มคนชาติพันธุ์ ผู้ด้อยโอกาสทางเศรษฐานะ และแรงงานข้ามชาติ อุบัติการณ์ของโรคและโรคอุบัติใหม่ที่มาจากการเคลื่อนย้ายแรงงานผู้คน ทุนและอิทธิพลของทุนกับการให้บริการและประเภทของสถานบริการสุขภาพ การวิเคราะห์กรณีศึกษาจากประเทศในภูมิภาคเอเชียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
วภวธ 623 ภาษา อำนาจ และอัตลักษณ์
ทฤษฎีและกรณีศึกษาเกี่ยวกับความหลากหลายและการเปลี่ยนแปลงภาษาในประเทศไทย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภาษากับการก่อรูปอัตลักษณ์ ภาษากับความสัมพันธ์เชิงอำนาจ ภาษากับการสร้างและท้าทายพรมแดนทางชาติพันธุ์ ชนชั้น และชาติ อิทธิพลของนโยบายรัฐและองค์กรข้ามชาติ ต่อความหลากหลายทางภาษาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
วภวธ 624 พลวัตทางวัฒนธรรมกับความหลากหลายในสังคมเมือง *
เมืองกับพัฒนาการในบริบทสังคมวัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของพหุวัฒนธรรมนิยมกับความเป็นเมืองในสภาวะสังคมโลกาภิวัตน์ ที่มีต่อวิถีชีวิตของผู้คนทั้งที่อาศัยในเขตเมืองและพื้นที่รอบนอก ผลของการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมต่อการปรับตัวของผู้คน ความเป็นชุมชนวัฒนธรรมในเมืองรวมทั้งผลกระทบที่มีต่อสังคมชนบท อิทธิพลของภูมิรัฐศาสตร์กับความหลากหลายวัฒนธรรม อัตลักษณ์ของกลุ่มคน พื้นที่ทางสังคม การเคลื่อนย้ายของผู้คน ความสัมพันธ์ของกลุ่มคนที่มีต่อกัน ความขัดแย้งและความรุนแรงทางวัฒนธรรมผ่านมิติความสัมพันธ์เชิงอำนาจ ตัวอย่างกรณีศึกษาจากประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกฉียงใต้
วภวธ 625 มรดกวัฒนธรรม พิพิธภัณฑ์ และการท่องเที่ยวกับพหุวัฒนธรรมเอเชีย *
ทฤษฎี แนวคิด ข้อโต้แย้งปัจจุบันเกี่ยวกับมรดกวัฒนธรรม พิพิธภัณฑ์ และการท่องเที่ยวในความหลากหลายทางสังคมศาสตร์ มรดกวัฒนธรมและการท่องเที่ยวในฐานะการเมืองทางวัฒนธรรม และภาคปฏิบัติการทางวัฒนธรรมในบริบทสังคมเอเชีย การจัดการอุตสาหกรรมมรดกวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวโดยองค์กรระดับโลก ระดับชาติ และท้องถิ่น การบริหารจัดการมรดกวัฒนธรรม การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในระดับชาติและท้องถิ่น และสิทธิทางวัฒนธรรม
วภวธ 626 ชาติพันธุ์ เชื้อชาติ ในสังคมร่วมสมัยเอเชีย *
พัฒนาการแนวคิดและข้อถกเถียงทางชาติพันธุ์ศึกษาในบริบทสังคมร่วมสมัย การศึกษาความหลากหลายทางวัฒนธรรม การเมืองทางชาติพันธุ์และเชื้อชาติ ศาสนากับเชื้อชาติและชาติพันธุ์ การธำรงอยู่และการเปลี่ยนแปลงทางอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ภายใต้บริบทรัฐชาติและกระแสโลกาภิวัตน์ ความรุนแรงและความขัดแย้งทางชาติพันธุ์ การประกอบสร้างขอบเขตชาติพันธุ์และความเป็นอื่น การวิเคราะห์กรณีศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มในเอเชียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้