Mahidol University     |     Webmail     |     RILCA Intranet     |     Contact     ||     EN     |     TH     |           
 
RILCA SUSTAINABLE DEVELOPMENT GOALS (SDGS)
เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน
 

KEY TOPICS
 
  
ชื่อกิจกรรม/โครงการ :
โครงการหลักสูตรอบรมนานาชาติ "ศาสตร์แห่งโยคะและอายุรเวท" (Yogic Science and Ayurveda)
ที่มาและความสำคัญ :

โยคะ (Yoga) ภาษาสันสกฤตมีหลายความหมายซึ่งเปลี่ยนไปตามยุคสมัย รวมความคือ "ความอุตสาหะ ความบากบั่น การเชื่อมกัน ความสัมพันธ์ สมาธิ" โยคะถือกำเนิดในประเทศอินเดียก่อนสมัยพระเวทประมาณ 2000 และ1000 ปีก่อนคริสต์ศักราช (ปัจจุบัน คือส่วนหนึ่งของประเทศปากีสถาน) โยคะได้พัฒนาอย่างเป็นระบบมีหลายสำนัก การฝึกปฏิบัติ และเป้าหมายที่หลากหลายทั้งในศาสนาฮินดู พุทธ และเชน แต่ลำดับการเขียนเป็นตำราโยคะไม่ชัดเจน จนนักปราชญ์ชาวฮินดูคนหนึ่งชื่อว่า ปตัญชลี เป็นคนแรกที่ปรับปรุงการฝึกโยคะขั้นพื้นฐาน เขาเขียนสูตรของการฝึกโยคะเป็นหัวข้อ 8 หัวข้อสั้นๆ หัวข้อเหล่านี้เชื่อว่าได้ถูกเขียนขึ้นเมื่อ 200 ปีก่อนคริสต์ศักราช โดยผู้ที่ปฏิบัติโยคะที่เป็นผู้ชายเรียกว่า โยคิน หรือ โยคี ส่วนผู้หญิงเรียกว่า โยคินี ส่วนผู้สอนเรียกว่า คุรุ (ครู) การฝึกโยคะจะเน้นความแข็งแรงและความยืดหยุ่นของกระดูกสันหลังทำให้เลือด และสารอาหารไปเลี้ยงประสาทไขสันหลังเพิ่ม การฝึกโยคะจะทำให้การทำงานของต่อมต่างๆ รวมทั้งต่อมไร้ท่อทำงานดีขึ้น ท่าของการฝึกโยคะเป็นการยืดเหยียดกล้ามเนื้อตามแบบของโยคะ และมีการสอดคล้องกับการหายใจเป็นการรวมกาย และจิตร่วมกัน การฝึกท่าโยคะจะเป็นการฝึกประสาท ความยืดหยุ่น ความแข็งแรง การทรงตัว ลดความอ่อนล้าของกล้ามเนื้อ คลายความเครียด ซึ่งจะส่งผลให้สุขภาพจิต และสุขภาพกายดีขึ้น

อายุรเวท (Ayurveda) แปลว่า "ความรู้แห่งชีวิต" อายุ หรือชีวิตเป็นการผสมผสานของจิต จิตวิญญาณ/ จิตสำนึก และร่างกาย สามสิ่งนี้เป็นเหมือนขาตั้งที่ค้ำชูชีวิตไว้ ดังนั้นภาวะทุกอย่างของมนุษย์ไม่ว่าจะเป็นภาวะเจ็บป่วย สุข หรือเศร้า ต่างมีผลต่อร่างกาย จิตใจ และวิญญาณ สุขภาพคือการที่องค์ประกอบทั้งสามของชีวิตนั้นอยู่ในภาวะปกติ อายุรเวทคือการรักรักษาโรคหรือการดูแลสุขภาพ ส่วนประโยชน์อีกประการคือการไม่เป็นโรคซ้ำๆ ที่สร้างความทุกข์ทรมานให้กับชีวิต

อายุรเวทเป็นระบบทางการแพทย์ที่มีสองวัตถุประสงค์
1. การดูแลสุขภาพที่ดีของบุคคลโดยการรับประทานอาหารและการทำตามข้อปฏิบัติที่ดีในการใช้ชีวิต
2. การรักษาโรคสำหรับบุคคลที่เป็นโรคโดยการใช้ยาและการบำบัด
การจะบรรลุวัตถุประสงค์ได้นั้น องค์ประกอบทั้งสามคือร่างกาย จิตใจ และวิญญาณจะต้องสมบูรณ์ทั้งหมด (Indulal 2014:23-26)

ในปัจจุบัน ผู้คนทั่วโลกต่างให้ความสนใจในการดูและสุขภาพมากขึ้น โยคะและอายุรเวทจึงเป็นศาสตร์องค์รวมที่ประชาคมอาเซียนให้ความสนใจ ด้วยเหตุนี้ ศูนย์ภารตะศึกษาจึงจัดหลักสูตรอบรมนานาชาติ "ศาสตร์แห่งโยคะและอายุรเวท" ให้กับบุคคลภายนอกทั้งในประเทศและในประชาคมอาเซียน อีกทั้งเพื่อเป็นการเชื่อมโยงงานการศึกษาสู่การให้บริการวิชาการเผยแพร่ความรู้สู่สังคมไทย

ช่วงเวลาที่จัดกิจกรรม/โครงการ :

รุ่นที่ 1 วันที่ 21-22 ตุลาคม, 18-19 พฤศจิกายน, 16-17 ธันวาคม 2560, 20-21 มกราคม, 17-18 กุมภาพันธ์, 17-18 มีนาคม, 21-22 เมษายน, 19-20 พฤษภาคม และ 16-17 มิถุนายน 2561

รุ่นที่ 2 วันที่ 18-19 สิงหาคม, 15-16 กันยายน, 20-21 ตุลาคม, 17-18 พฤศจิกายน, 15-16 ธันวาคม 2561,
19-20 มกราคม, 16-17 กุมภาพันธ์, 16-17 มีนาคม, 20-21 เมษายน และ 18-19 พฤษภาคม 2562

รุ่นที่ 3 วันที่ 17-18 สิงหาคม, 21-22 กันยายน, 19-20 ตุลาคม, 16-17 พฤศจิกายน, 21-22 ธันวาคม 2562, 18-19 มกราคม, 15-16 กุมภาพันธ์, 21-22 มีนาคม, 16-17 พฤษภาคม และ 20-21 มิถุนายน 2563

รุ่นที่ 4 วันที่ 17-18 ตุลาคม, 21-22 พฤศจิกายน, 19-20 ธันวาคม 2563, 16-17 มกราคม, 13-14กุมภาพันธ์, 13-14 มีนาคม, 3-4 เมษายน, 15-16 พฤษภาคม, 19-20 มิถุนายน และ 17-18 กรกฎาคม 2564

สถานที่จัดงาน :
สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล
หน่วยงานที่ร่วมจัดงาน : -
วัตถุประสงค์ของการจัดงาน :
1. เพื่อให้การอบรมศาสตร์ด้านโยคะ และอายุรเวทที่ถูกต้องแก่สังคมอาเซียน
2. เพื่อเผยแพร่ชื่อเสียงศูนย์ สถาบันฯ และมหาวิทยาลัยในเรื่องดังกล่าว และสร้างเครือข่ายระหว่างกันต่อไปให้กว้างขวางมากขึ้น
กลุ่มเป้าหมาย/กลุ่มผู้ร่วมกิจกรรม : ประชาชนทั่วไปทั้งในประเทศและต่างประเทศ
จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม :

รุ่นที่ 1 มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 22 คน แบ่งเป็น ไทย อินเดีย จีน และพม่า
รุ่นที่ 2 มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 14 คน แบ่งเป็น ไทย อินเดีย แคนาดา สวิตเซอร์แลนด์ และเวียดนาม
รุ่นที่ 3 มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 11 คน แบ่งเป็น ไทย อินเดีย ปากีสถาน และอเมริกา
รุ่นที่ 4 มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 14 คน แบ่งเป็น ไทย อินเดีย และอเมริกา

ผลลัพธ์ที่ได้จากงานสัมมนา / Conference :
1. เผยแพร่ชื่อเสียงศูนย์ภารตะศึกษา และสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย
2. ส่งเสริมสังคมให้มีวิธีการที่ดีในการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม
3. เป็นการหารายได้ให้กับสถาบันฯ ทางหนึ่ง
Web link : https://lc.mahidol.ac.th/th/AcademicServices/TrainingYoga.htm
SDG goal ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ -
รูปภาพประกอบ :
 
     
 
     
 
 

Research Institute for Languages and Cultures of Asia, Mahidol University
999 Budhamonthon Sai 4, Salaya, Budhamonthon, Nakhon Pathom 73170, Thailand. Tel. (662) 8002308-14 Fax. (662) 8002332