ตามรอยผ้าไหมเขมรถิ่นไทย เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากด้วยพลังภาษาและวัฒนธรรม บ้านโพธิ์กอง ต.เชื้อเพลิง อ.ปราสาท จ.สุรินทร์


Head of Project:

Ms.Kumaree Laparporn

Researcher:

Ms.Kumaree Laparporn

Duration:

Background and Significance of Research

ชุมชนบ้านโพธิ์กอง ต.เชื้อเพลิง อ.ปราสาท จ.สุรินทร์ เป็นชุมชนที่มีศูนย์การเรียนรู้ด้านการทอผ้า และมีกลุ่มทอผ้าไหมที่มีการจัดตั้งกลุ่มมากว่า 20 ปี มีการบริหารจัดการกลุ่มอย่างเป็นระบบ และได้รับความไว้วางใจจากสมาชิกกลุ่ม รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐที่เข้ามาเกี่ยวข้อง ส่งผลให้การผลิตผ้าไหมของชุมชนบ้านโพธิ์กอง ได้รับการพัฒนา ความร่วมมือและความช่วยเหลือจากหน่วนงานภาครัฐหลายหน่วยงาน เช่น การพัฒนาการทอผ้าโดยใช้เครื่องสาวไหม การพัฒนาลายผ้าเกิดเป็นลายกโนบติงต็อฺง หรือตั๊กแตนตำข้าว อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของบ้านโพธิ์กอง เป็นต้น

แต่อย่างไรก็ตาม ยังคงพบประเด็นปัญหาอยู่หลายประการ เช่น ปัญหาด้านการสืบทอดและการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการทอผ้าไหม ปัจจุบันพบว่าผู้ที่สามารถทอผ้าได้ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้สูงอายุ เยาวชนคนรุ่นใหม่ไม่ค่อยให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ด้านการทอผ้า ปัญหาด้านการขาดความเข้าใจของผู้บริโภค เนื่องจากผู้บริโภคที่ไม่มีความเข้าใจในขั้นตอนการผลิต หรือกรรมวิธีการผลิตมักจะมองว่า ผ้าไหมราคาแพง จึงไม่นิยมซื้อ สวมใส่ รวมทั้งประเด็นปัญหาด้านทรัพย์สินทางปัญญา ได้มีการประดิษฐ์ลวดลายผ้าขึ้นใหม่ที่ชื่อว่า “กโนบติงต็อฺง” ซึ่งถือเป็นลวดลายที่เป็นอัตลักษณ์ของบ้านโพธิ์กอง ซึ่งหากทีมวิจัยไม่ได้ศึกษาองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญา ก็อาจจะถูกลอกเลียนแบบในอนาคตได้

Objectives

การดำเนินงานโครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 4 ข้อด้วยกัน ได้แก่

  1. เพื่อรวบรวมและบันทึกองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นชาวเขมรถิ่นไทย บ้านโพธิ์กอง โดยเฉพาะด้านการทอผ้าไหม
  2. เพื่อสร้างกระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการทอผ้าไหมสู่กลุ่มเยาวชน หรือกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่สนใจในการทอผ้า
  3. เพื่อผลิตสื่อความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการทอผ้าไหม บ้านโพธิ์กอง ทั้งในรูปแบบสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อดิจิทัล โดยมีกลุ่มเป้าหมาย 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มคนทั่วไป เพื่อเผยแพร่ให้ผู้บริโภคทั่วไปได้มีความรู้ ความเข้าใจ เล็งเห็นคุณค่าและความสำคัญของผลิตภัณฑ์ผ้าไหม และกลุ่มเยาวชน หรือกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่สนใจในด้านการทอผ้า เพื่อเป็นองค์ความรู้ในการศึกษาและพัฒนาต่อยอดสู่การประกอบอาชีพในอนาคต
  4. เพื่อศึกษาองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญา และผลักดันสู่การขึ้นทะเบียนมรดก ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ

Output

ผลผลิตจากการดำเนินงานวิจัยทำให้ได้ชุดความรู้ 7 ด้านด้วยกัน ได้แก่

  1. องค์ความรู้ด้านการจัดตั้งและการบริหารจัดการกลุ่มทอผ้าไหม
  2. องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับผ้าไหม
  3. กระบวนการถ่ายทอดความรู้ด้านการทอผ้าไหม
  4. สื่อองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับผ้าไหมทั้งรูปแบบสิ่งพิมพ์และรูปแบบดิจิทัล
  5. องค์ความรู้และความคิดเห็นของชุมชนด้านทรัพย์สินทางปัญญา
  6. ผ้าโฮล สุรินทร์ ได้รับการขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ
  7. ข้อมูลด้านตัวชี้วัดต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ตัวชี้วัดเศรษฐกิจฐานราก และตัวชี้วัดการเสริมพลังชุมชน เป็นต้น