รศ.ดร.โสภนา ศรีจำปา อาจารย์ตัวอย่างปี 2563 กับความเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล

ปิยวรรณ เกาะแก้ว

“การจะทำสิ่งใดนั้น ให้นึกว่า สังคมจะได้ประโยชน์อะไร จากการที่มีเราอยู่ในสังคม หรืองานที่เราทำ” คำสัมภาษณ์ “รองศาสตราจารย์ ดร.โสภนา ศรีจำปา” ที่ได้กล่าวไว้ ซึ่งสอดคล้องกับคำพระราชปณิธานของ พระราชบิดา สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดช วิกรม พระบรมราชชนก ที่ดำรัสไว้ว่า “ขอให้ถือ ประโยชน์ส่วนตนเป็นที่สอง ประโยชน์ของเพื่อน มนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง ลาภ ทรัพย์และเกียรติยศ จะตกมาแก่ท่านเอง ถ้าท่านทรงธรรมะแห่งวิชาชีพ ไว้ให้บริสุทธิ์” สมแล้วกับตำแหน่ง “อาจารย์ตัวอย่าง” ของมหาวิทยาลัยมหิดลแห่งนี้

“การครองงาน” อาจารย์เป็นคนที่มีนิสัย “รักและสนุก ในสิ่งที่ทำ ไม่ฝืนใจ” และมีนิสัยชอบเรียนรู้ ชอบ งานใหม่ ๆ ท้าทาย เป็นคนไม่ยอมแพ้อะไรง่าย ๆ และ ที่สำคัญ ต้องรู้จักให้เกียรติ ส่งเสริม สนับสนุน และให้ โอกาสผู้ร่วมงานและนักศึกษา  ในส่วน “การครองตน” เป็นคนที่ใช้ชีวิตเรียบง่าย พอเพียง รักความยุติธรรม เห็นอะไรมีประโยชน์ จะมีความกล้าที่จะเสนอ อะไร ถูกต้องก็จะกล้าแนะนำ ใฝ่เรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อคนอื่น และสังคมจะได้ประโยชน์ เพราะที่สุดประโยชน์นั้น จะกลับมาที่ตัวเราเอง

อาจารย์มีความเชี่ยวชาญด้านภาษาศาสตร์อะไรเป็นแรงจูงใจให้หันมาสนใจวัฒนธรรมโดยเฉพาะอินเดีย

สำหรับแรงจูงใจที่ทำให้อาจารย์หันมาสนใจอินเดียมากที่สุดน่าจะมาจากการ ได้ไปร่วมประชุมวิชาการที่ประเทศอินเดียเป็นครั้งแรกในปี 2005 รู้สึกประทับใจมาก ด้วยความที่อินเดียเป็นประเทศที่เก่าแก่ประเทศหนึ่งในอารยธรรมของโลก โดยเฉพาะความเข้มแข็งทางวัฒนธรรมและความสวยงามของสถาปัตยกรรม นอกจากนี้ อินเดียยังเป็นหนึ่งในมหาอำนาจของเอเชียที่มีผู้คนมากถึง 1.4 พันล้านคน “หากจะทำการค้า อินเดียก็มีความน่าสนใจไม่น้อยไปกว่าจีน” จึงเป็น แรงบันดาลใจให้เกิดความสนใจอินเดีย ซึ่งเป็นงานบุกเบิกใหม่ ๆ ที่ท้าทาย สำหรับนักวิชาการไทยและประเทศ โดยใช้ประสบการณ์ที่ทำงานกับเวียดนาม มานับสิบปี ไปศึกษาเรื่องอินเดียต่อไปค่ะ

ผลงานอะไรที่สร้างความภาคภูมิใจ

อันดับแรกคงเป็นงานเกี่ยวกับเวียดนามค่ะ เพราะเป็นงานที่ตัวเองบุกเบิกในสมัย อดีตนายกฯ พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ และได้รับการยอมรับจากผู้ที่สนใจในการ เรียนรู้ภาษาเวียดนามในประเทศไทย และผลงานยังถูกนำไปใช้ในการเรียนการสอน ภาษาเวียดนามด้วย ถัดมาคงเป็นเรื่องการสร้างเครือข่ายทางธุรกิจให้กับนักธุรกิจ SMEs ไทยที่สนใจลงทุนในประเทศเวียดนาม จนเกิดเครือข่ายทางธุรกิจมาจน ถึงปัจจุบันและได้นำไปต่อยอดในอีกหลายสาขา นอกจากนี้ ยังตั้งศูนย์ภารตะศึกษา เพื่อปฏิบัติภารกิจในด้านวิจัย บริการวิชาการเผยแพร่ความรู้ และสร้างเครือข่าย ซึ่งช่วยสร้างการรับรู้ให้กับสังคมทั้งในประเทศและต่างประเทศ ส่วนลำดับสุดท้าย คือ งานวิจัยเชื่อมโยงทางถนนไตรภาคีระหว่างไทย-เมียนมา-อินเดีย ที่ยังไม่เคย มีผู้ใดทำมาก่อน ลักษณะของงานวิจัยที่ชี้นำเพื่อเสนอแนะเชิงนโยบายให้กับประเทศ เพื่อนำผลไปพัฒนาต่อ เป็นการเชื่อมโยงระหว่างการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว

ในฐานะนักวิจัยมีวิธีการปรับตัวอย่างไรในการทำงานในยุคดิจิทัล

ในสถานการณ์โรคระบาด COVID-19 ระบบดิจิทัลมีความเปลี่ยนแปลงไปอย่าง รวดเร็วมาก โดยส่วนตัวเห็นว่า เราต้องปรับตัว มิฉะนั้นจะทำงานไม่ได้ ซึ่งอาจารย์ จะไม่ปฏิเสธความรู้ในเรื่องดิจิทัล จะพยายามเรียนรู้เพื่อนำไปใช้ให้ได้มากที่สุด ด้วยการเข้าอบรมในเรื่องต่าง ๆ ที่จะเป็นเครื่องมือในการทำงาน สำหรับยุคดิจิทัลกับการทำงานของศูนย์ภารตะศึกษานั้น ด้วยคอนเซ็ปต์ของศูนย์ฯ มีว่า “เข้ามา ชมเว็บไซต์ของศูนย์ฯ ต้องได้ความรู้ออกไป” มีการทำแพลตฟอร์มออนไลน์ ซึ่งได้รับ ผลตอบรับดีมากกว่าที่คาดไว้ เช่น การอบรมโยคะที่มีผู้สนใจเป็นจำนวนมากจาก ทั่วโลก สำหรับแผนการทำงานในยุคดิจิทัลนั้น อาจารย์มองว่า เครื่องมือและ ความรู้มีส่วนสำคัญที่จะช่วยให้การทำงานวิจัยประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่นักวิจัยไม่อาจลงพื้นที่เพื่อเข้าถึงแหล่งข้อมูลได้ โดยผ่านการใช้ข้อมูลทางด้านสื่อสารสนเทศ รวมทั้งการสัมภาษณ์พูดคยแบบ ออนไลน์แทน ซึ่งช่วยให้เชื่อมต่อการสื่อสารระหว่างกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เราสามารถนำเทคโนโยลีดิจิทัลมาพลิกฟื้นสถานการณ์โควิดได้หรือไม่

โดยส่วนตัวไม่อาจตอบได้ว่าได้หรือไม่ แต่มองว่าการจะไปสู่ SDG ในยุคดิจิทัล ไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจากประเทศเรายังขาดความพร้อม การจะไปถึงยุคดิจิทัล ได้ต้องประกอบด้วยปัจจัยหลายอย่าง อันดับแรกคือ รัฐหรือเอกชนต้องสร้าง โครงสร้างพื้นฐานให้เข้าถึง WiFi ซึ่งเป็นช่องทางที่สำคัญที่จะเข้าสู่ยุคดิจิทัล ที่ทุกคนควรเข้าถึงได้ สองคือ ต้องจัดหาเครื่องมือที่มีคุณภาพในราคาเป็นธรรม และทั่วถึง และสามคือ รัฐต้องให้ความรู้และพัฒนาทักษะให้คนกลุ่มต่าง ๆ สามารถ ทำสื่อการเรียนรู้ออนไลน์ E-commerce หรือสื่อความรู้เบื้องต้นได้ อย่างไรก็ตาม ในด้านการแพทย์ คิดว่าเมื่อสถานการณ์ COVID-19 ผ่านไป การรักษาโรคผ่าน ทางออนไลน์จะยังคงอยู่ในบางโรคที่ Follow up และนิ่งแล้ว เพราะช่วยประหยัด เวลาและลดความแออัด นอกจากนี้ ชุมชนก็ควรมีการจัดการเกี่ยวกับดิจิทัล ร่วมกับโรงเรียน สถาบันการศึกษาในการให้ความรู้แก่ประชาชน เป็นการบริหาร จัดการทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ฝากท้ายแรงจูงใจในการทำงานในสถานการณ์ COVID-19”

“ให้คิดบวก” คือทำหน้าที่ที่ต้องทำให้ดีที่สุดแม้ในภาวะวิกฤติโรคระบาด ให้ตั้ง คำถามกับตัวเองว่า เราได้ทำอะไรให้องค์กร และองค์กรต้องได้ประโยชน์อะไร จากการมีเรา ดังนั้น เราจึงต้องมีผลงาน ทำอย่างไรให้คนนึกถึงเรา เพราะเราเป็น คนสำคัญต่อองค์กร มีคุณค่าและสำคัญต่อหน้าที่ที่รับผิดชอบ อีกทั้ง อย่าลืมทำชีวิต ให้สมดุลด้วยการดูแลสุขภาพกายและใจด้วย