Assoc. Prof. Dr.Sophana Srichampa
Non-stipendiary Researcher, Center for Bharat Studies
โสภนา ศรีจำปา เป็นรองศาสตราจารย์ด้านภาษาศาสตร์ชาติพันธุ์-ภาษาและวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนา เธอมีพื้นฐานเกี่ยวกับภาษาเวียดนามและภาษาศาสตร์ ภาษาและวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ มีบทความที่เกี่ยวข้องทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษประมาณ 60 บทความ หนังสือ 8 เล่ม และพจนานุกรม 1 เล่ม
เธอขยายขอบเขตการวิจัยไปยังประเด็นทางสังคม ศาสนา และวัฒนธรรมอื่นๆ ของกลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มพลัดถิ่น และกลุ่มแรงงานข้ามชาติในประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต่อมาความสนใจด้านวิชาการของเธอขยายไปถึงอินเดียศึกษา การจัดการความหลากหลายทางวัฒนธรรมของคนบางกลุ่มในอาเซียนและอินเดีย ความเชื่อมโยงจากไทยสู่อินเดียผ่านทางหลวงไตรภาคีเพื่อการค้า การท่องเที่ยว และความร่วมมือระหว่างประชาชน นโยบายภาษาของแรงงานข้ามชาติในอาเซียนและนโยบายภาษาของอินเดีย นอกจากนี้เธอยังสนใจปรากฏการณ์ทางสังคมและวัฒนธรรมใหม่ ๆ ที่เกี่ยวข้องระหว่างอินเดียและอาเซียน โดยเฉพาะประเทศไทย ปัจจุบันเธอมุ่งเน้นไปที่การศึกษาพลัดถิ่นและความเชื่อมโยงผ่านทางหลวงไตรภาคี (ไทย-เมียนมา-อินเดีย) งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับอินเดีย (ภารตะ) ของเธอประกอบด้วยบทความ 50 บทความและหนังสือ 4เล่ม
เธอได้พยายามส่งเสริมการเชื่อมต่อระหว่างชาวไทยและชาวอินเดียเพื่อสร้างความเข้าใจที่ดีระหว่างกัน ในการสร้างความร่วมมือที่เป็นประโยชน์และจริงใจต่อไป นอกจากนี้ เธอยังพยายามสนับสนุนภูมิปัญญาโบราณของอินเดีย เช่น โยคะและอายุรเวทในประเทศไทยและระดับนานาชาติผ่านการฝึกอบรมฟรีมากมายแก่สาธารณชน และหลักสูตรประกาศนียบัตรนานาชาติด้านศาสตร์แห่งโยคะและอายุรเวทเป็นเวลา 10 เดือน การบรรยายสาธารณะและการสัมมนาประจำปีเกี่ยวกับความสัมพันธ์อินเดีย-ไทยที่จัดขึ้นอย่างสม่ำเสมอทั้งนอกสถานที่ (ก่อนโควิด) และออนไลน์ (ช่วงโควิด) นอกจากนี้ ยังมีการจัดทำจดหมายข่าวสองภาษา (ไทย-อังกฤษ) India Calling ทั้งแบบออฟไลน์และออนไลน์
เธอเป็นอาจารย์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528 สอนระดับบัณฑิตศึกษา ในระดับปริญญาโท สาขาภาษาศาสตร์ สาขาวัฒนธรรมศึกษา สาขาอาเซียนศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (บัณฑิตวิทยาลัย ม.มหิดล) และปริญญาเอก สาขาภาษาศาสตร์ ได้ผลิตนักวิชาการให้กับหลายสถาบันทั้งในและต่างประเทศ
เธอเป็นผู้อำนวยการสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล ระหว่างปี พ.ศ. 2549-2552; ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย (RILCA) มหาวิทยาลัยมหิดล ระหว่างปี พ.ศ. 2555-2559 เธอเป็นผู้ก่อตั้ง Center for Bharat Studies (CBS) ที่ RILCA มหาวิทยาลัยมหิดล ในปี 2553 และเป็นประธานของ CBS ตั้งแต่ปี 2553-ปัจจุบัน