All day healthy food
Head of Project:
Researcher:
Assistant Professor Dr.Jitjayang Yamabhai
Duration:
Background and Significance of Research
ชุมชนโพธิ์ทอง อยู่ในพื้นที่ ม. 5 ต.ศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม บริเวณข้างวัดสาลวัน ติดริมคลองมหาสวัสดิ์ ลักษณะพื้นที่เป็นชุมชนค่อนข้างแออัด บ้านที่อยู่อาศัยเป็นพื้นที่เช่า ชุมชนโพธิ์ทองมี 150 ครัวเรือน มีจำนวนประชากรโดยประมาณรวมทั้งสิ้น 400-500 คน อาชีพของคนในชุมชนโพธิ์ทองส่วนใหญ่มีอาชีพค้าขายตามตลาดและตลาดนัด เช่น อาหาร เสื้อผ้า รับจ้างทั่วไป มอเตอร์ไซด์รับจ้าง พนักงานรักษาความปลอดภัย เป็นต้น ช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ประชาชนในชุมชนอยู่ในภาวะตกงาน ไม่มีการจ้างงาน ตลาด/ตลาดนัดปิดทำให้ค้าขายได้ลดลง จึงส่งผลให้ขาดรายได้ และบางครัวเรือนรายได้ลดลง ส่งผลให้ประชาชนบางครัวเรือนในชุมชนโพธิ์ทองเกิดภาวะเครียดและกดดันจากการขาดรายได้ในชีวิตประจำวัน ทั้งนี้ประชาชนในชุมชนมีความสนใจที่จะพัฒนาทักษะการประกอบอาหารให้มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น และเป็นการเพิ่มช่องทางการค้าขายให้สอดรับกับกระแสในปัจจุบัน
ผลกระทบจากสถานการณ์ข้างต้น มหาวิทยาลัยมหิดลร่วมกับหน่วยงานท้องถิ่น แกนนำชุมชน และอสม. ดูแลและให้วางแผนความช่วยเหลือชุมชนทั้งทางด้านสุขภาพ เศรษฐกิจ และสังคม จากการลงพื้นที่พบว่าชุมชนยังประสบปัญหาในเรื่องรายได้ที่ลดลงจากการประกอบอาชีพ ซึ่งมหาวิทยาลัยมหิดลมีบุคลากรที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญทั้งด้านการตลาด จากภาควิชาบริหารธุรกิจ วิทยาลัยนานาชาติ, ด้านโภชนาการ จากสถาบันโภชนาการ, ด้านการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการสร้างแพลตฟอร์มและตลาดออนไลน์ จากคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
Objectives
- เพื่อส่งเสริม สนับสนุนและให้ความช่วยเหลือผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์และผู้ด้อยโอกาสให้ได้รับการศึกษาหรือพัฒนาเพื่อให้มีความรู้ความสามารถในการประกอบอาชีพตามความถนัดและมีศักยภาพที่จะพึ่งพาตนเองในการดำรงชีวิตได้
- เพื่อสร้างผู้ประกอบอาชีพค้าขายอาหาร “สุขภาพ สะอาด สะดวก”
- เพื่อพัฒนาทักษะการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ และเทคโนโลยีดิจิทัล จนสามารถค้าขายบนแพลทฟอร์มออนไลน์ มีรายได้เพิ่มขึ้น
- เพื่อสร้างแพลตฟอร์มตลาดขายอาหารออนไลน์ของชุมชน (โพธิ์ทองมาร์เก็ตเพลส)
Output
(on process)