DOCTOR OF PHILOSOPHY PROGRAM IN LANGUAGE AND INTERCULTURAL COMMUNICATION

Home > Academics > Graduate Programs > Ph.D (LANGUAGE AND INTERCULTURAL COMMUNICATION)

COURSE NAME : DOCTOR OF PHILOSOPHY PROGRAM IN LANGUAGE AND INTERCULTURAL COMMUNICATION


Course description


ปรัชญาของหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาและการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม คือ “การสร้างดุษฎีบัณฑิตที่มีความตระหนักรู้อย่างลึกซึ้งในด้านภาษาและการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม มีความสามารถในการสร้างองค์ความรู้ใหม่ หรือนำเสนอทางเลือกใหม่ โดยบูรณาการและประยุกต์ความรู้ด้านการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมร่วมกับศาสตร์อื่น ๆ ในสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์เพื่อนำไปสู่การพัฒนาสังคมในศตวรรษที่ 21 ให้มีความเข้มแข็ง มีดุลภาพ ลดความเหลี่ยมล้ำ ลดความขัดแย้ง และเกิดสันติสุขอย่างยั่งยืน” อันจะเป็นที่ประจักษ์ว่าดุษฎีบัณฑิตเป็นที่พึ่งหลักของสังคมและเป็น “ปัญญาของแผ่นดิน” ตามปณิธานของมหาวิทยาลัยมหิดลได้สมบูรณ์โดยแท้จริง

Course Highlights
  • Build leaders of change by applying and integrating analytical and synthetic thinking theory and skills for advanced multidisciplinary and cross-disciplinary research in language and intercultural communication. The program focuses on research and innovation that impacts policy, economic and social development in order to enhance the quality of life of mankind amid a volatile society and multilingual and cultural diversity.

Course fee


ภาคปกติ
แบบ 1.1 (ทำวิทยานิพนธ์)265,200
แบบ 1.2 (ศึกษารายวิชาและทำวิทยานิพนธ์)282,800
ภาคพิเศษ
แบบ 1.1 (ทำวิทยานิพนธ์)265,200
แบบ 1.2 (ศึกษารายวิชาและทำวิทยานิพนธ์)291,200

Related occupation


ผู้สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาและการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม เป็นผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านภาษาและการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม สามารถบูรณาการความรู้เพื่อทำความเข้าใจปรากฏการณ์ทางสังคมและวัฒนธรรม และสามารถสร้างองค์ความรู้จากการวิจัยในระดับปริญญาเอก ทำให้สามารถประกอบอาชีพได้อย่างกว้างขวางทั้งในภาครัฐและเอกชน ดังเช่น

  1. ที่ปรึกษานโยบายด้านภาษาและการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม
  2. นักวิชาการด้านภาษาและการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม
  3. นักวิจัยด้านภาษาและการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม

โครงสร้างหลักสูตร (ภาคปกติและภาคพิเศษ)


ชั้นปีที่แบบ 1.1แบบ 2.1
1ภาคเรียนที่ 1ภาคเรียนที่ 1
วภสว 898 วิทยานิพนธ์วภสว 701 กระบวนทัศน์และทฤษฎีด้านภาษาและการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม
วภสว 702 ระเบียบวิธีวิจัยขั้นสูง
วภสว 703 สัมมนาภาษาและการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม
รวม 9 หน่วยกิตรวม 9 หน่วยกิต
ภาคเรียนที่ 2ภาคเรียนที่ 2
วภสว 898 วิทยานิพนธ์วิชาเลือก 3 หน่วยกิต
วภสว 699 วิทยานิพนธ์
รวม 9 หน่วยกิตรวม 9 หน่วยกิต
สอบวัดคุณสมบัติสอบวัดคุณสมบัติ
2ภาคเรียนที่ 1ภาคเรียนที่ 1
วภสว 898 วิทยานิพนธ์วภสว 699 วิทยานิพนธ์
รวม 9 หน่วยกิตรวม 9 หน่วยกิต
ภาคเรียนที่ 2ภาคเรียนที่ 2
วภสว 898 วิทยานิพนธ์วภสว 699 วิทยานิพนธ์
รวม 9 หน่วยกิตรวม 9 หน่วยกิต
3ภาคเรียนที่ 1ภาคเรียนที่ 1
วภสว 898 วิทยานิพนธ์วภสว 699 วิทยานิพนธ์
รวม 6 หน่วยกิตรวม 6 หน่วยกิต
ภาคเรียนที่ 2ภาคเรียนที่ 2
วภสว 898 วิทยานิพนธ์วภสว 699 วิทยานิพนธ์
รวม 6 หน่วยกิตรวม 6 หน่วยกิต

Application


Admission

รับทั้งนักศึกษาไทย นักศึกษาต่างชาติที่มีคุณสมบัติเป็นไปตามแนวปฏิบัติฯ ของบัณฑิตวิทยาลัย

Application period

Applications are open throughout the year

Criteria for application

แบบ 1.1 (ทำวิทยานิพนธ์)แบบ 2.1 (ศึกษารายวิชาและทำวิทยานิพนธ์)
  1. สำเร็จการศึกษาหลักสูตรปริญญาโททุกสาขาจากสถาบันอุดมศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง
  2. ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.50
  3. มีผลคะแนนภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย
  4. กรณีผู้สมัครชาวต่างชาติ ต้องมีคุณสมบัติเป็นไปตามแนวปฏิบัติมาตรฐานความรู้ภาษาไทยขั้นต่ำสำหรับชาวต่างชาติที่มาศึกษาต่อในหลักสูตรภาษาไทยระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
  5. มีประสบการณ์การทำวิจัยด้านการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม ไม่น้อยกว่า 2 ปีและมีผลงานวิชาการที่ตีพิมพ์เผยแพร่อย่างน้อย 1 เรื่อง ในวารสารทางวิชาการระดับชาติหรือนานาชาติตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ และเป็นผู้ประพันธ์อันดับแรก (First author) หรือผู้ประพันธ์บรรณกิจ (Corresponding author)
  6. ผู้ที่มีคุณสมบัติต่างจากที่กำหนดไว้ใน ข้อ 2) – ข้อ 4) อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษา ตามดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
  1. สำเร็จการศึกษาหลักสูตรปริญญาโททุกสาขาจากสถาบันอุดมศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง
  2. ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.50
  3. มีผลคะแนนภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย
  4. กรณีผู้สมัครชาวต่างชาติ ต้องมีคุณสมบัติเป็นไปตามแนวปฏิบัติมาตรฐานความรู้ภาษาไทยขั้นต่ำสำหรับชาวต่างชาติที่มาศึกษาต่อในหลักสูตรภาษาไทยระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
  5. ผู้ที่มีคุณสมบัติต่างจากที่กำหนดไว้ในข้อ 2) - ข้อ 4) อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษา ตามดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

Application documents

  1. photograph
  2. copy of degree certificate/certificate of student status
  3. copy of transcript / grade report in English
  4. ID card copy
  5. copy of house registration
  6. evidence showing the request for documents or proof of delivery of academic results throughout the course (transcript) in English and in case of graduation abroad, please include certificate of equivalence of education qualifications.
  7. Statement of Purpose
  8. โครงร่างวิจัย (Research proposal)
  9. ผลงาน / รางวัลทางวิชาการ (ถ้ามี)
  10. บทความตีพิมพ์ในวารสาร (ถ้ามี)

Contact Information


Program Director
Assoc. Prof. Dr.Singhanat Nomnian
Email : singhanat.non@mahidol.ac.th, snomnian@hotmail.com