ลาย-ลักษณ์-ลิขสิทธิ์ ทรัพย์สินทางปัญญาจากงานวิจัยของ iCulture

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พธู คูศรีพิทักษ์
Share on :

เปิดมิติใหม่ของผลงานวิชาการของสถาบันฯ เมื่อผลงานวิจัยของ iCulture สามารถนำไปจดลิขสิทธิ์ ประเภทงานศิลปกรรม ลักษณะงานศิลปะประยุกต์

iCulture กลุ่มพันธกิจวัฒนธรรมสถานบริรักษ์ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นกลุ่มงานที่มีความอิสรเสรี รักความเป็นธรรม ทำงานด้วยแบบจำลองธุรกิจแบบวิสาหกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) หารายได้ด้วยตนเอง เพื่อคืนกลับสู่สังคม งานของ iCulture บูรณาการงานวิจัย งานการเรียนการสอน และบริการวิชาการอย่างมีบูรณภาพ

งานวิจัยที่ผ่านมาเกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์จำนวน 3 โครงการ ล้วนเข้าลักษณะผลงานวิชาการรับใช้สังคม ผลลัพธ์ของงานวิจัย นอกเหนือจากรายงานวิจัย บทความวิจัยตีพิมพ์ในวารสารวิชาการแล้ว ยังมีผลงานประเภทศิลปกรรม ลักษณะงานศิลปะประยุกต์ จำนวน 3 ชิ้น

ผลงานชิ้นที่ 1 : ลวดลายของนิทรรศการพิเศษ วิวิธชาติพันธุ์

จากโครงการเสริมสร้างความผูกพันกับสังคมด้วยการเรียนรู้เชิงปริวรรต ผ่านพิพิธภัณฑ์ มีผลลัพธ์ที่สำคัญประการหนึ่งคือ นิทรรศการพิเศษเคลื่อนที่ “วิวิธชาติพันธุ์” ลวดลายของที่แสดงอัตลักษณ์ของนิทรรศการ ผู้วิจัยได้ ออกแบบการสื่อความหมายเป็นลวดลายกราฟิก 5 ลายที่เรียงต่อกัน เป็น ตัวแทนของตระกูลภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ในประเทศไทย ลวดลาย ที่ปรากฏอยู่บนรถนิทรรศการพิเศษเคลื่อนที่สามารถนำไปใช้ในการออกแบบ ของที่ระลึกของพิพิธภัณฑ์ ถุงผ้า แก้วน้ำ โมเดลจำลองรถนิทรรศการพิเศษ วิวิธชาติพันธุ์ กราฟิกนิทรรศการ การ์ด โปสเตอร์

ผลงานชิ้นที่ 2 : iDoll

iDoll เป็นผลงานออกแบบจากโครงการวิจัยเดียวกับผลงานชิ้นที่ 1 ผู้วิจัย ออกแบบเป็นตุ๊กตากระดาษชาติพันธุ์ ของเล่นย้อนวัย ตัวตุ๊กตากระดาษ เป็นผู้หญิงใส่เสื้อ iCulture และมีชุดชาติพันธุ์ที่แตกต่างกัน 6 ชุด มีคำ อธิบายความหมายของชุดชาติพันธุ์ที่แตกต่างกัน สามารถนำไปออกแบบ เป็นสื่อของกิจกรรมการศึกษาอื่น ๆ เช่น ชุดระบายสีตุ๊กตากระดาษ ชาติพันธุ์ ชุดจิ๊กซอว์กระดาษชาติพันธุ์ แก้วพลาสติกชุดชาติพันธุ์

ผลงานชิ้นที่ 3 : ลายสัญลักษณ์ขอกุด

ผลงานที่จดแจ้งลิขสิทธิ์ประเภทศิลปกรรม ลักษณะงานศิลปะประยุกต์ อีกหนึ่งชิ้น ได้แก่ ลายสัญลักษณ์ขอกุด ผลลัพธ์ของโครงการวิจัยชาติพันธุ์ พลวัตการสืบสานวัฒนธรรมชาติพันธุ์ โครงการย่อย การเรียนรู้เชิงปริวรรต เพื่อสืบสานภาษาและวัฒนธรรมชาวไทยทรงดำผ่านพิพิธภัณฑ์ปี 2563 ใช้กระบวนการออกแบบสร้างสรรค์ร่วม (Co-creation) เพื่อสืบสาน วัฒนธรรม จนออกมาเป็น “ขนมขอกุด” ขนมที่มีรสชาติเฉพาะ มีส่วนผสม พิเศษจากสมุนไพรชาติพันธุ์ ออกแบบลวดลายสัญลักษณ์บนขนมคล้าย จั่วบ้านของชาวไทยทรงดำที่เรียกว่า “ขอกุด” หรือ “เขากุด” บ้าง ลวดลายนี้มีตัวหนังสือภาษาเขียนไทยทรงดำ เขียนว่า “ขอกุด” ด้านล่าง ด้วย สามารถนำไปประยุกต์เป็นลวดลายบนขนม กาแฟ จานรองแก้ว เครื่องใช้ เครื่องประดับ หรืออื่น ๆ 

จะเห็นได้ว่า ผลลัพธ์จากโครงการวิจัยของ iCulture ในลักษณะ ออกแบบงานศิลปะประยุกต์ต่าง ๆ ตั้งแต่ตราสัญลักษณ์ การออกแบบ กราฟิก สื่อ บรรจุภัณฑ์ สร้างมูลค่าและปริวรรตผลงานวิจัยได้อย่าง น่าสนใจ เกิดผลกระทบทางสังคมที่เป็นประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ ช่วย ส่งเสริมรายได้ชุมชนอย่างต่อเนื่อง และ iCulture ได้มอบลิขสิทธิ์นี้ให้แก่ สถาบันวิจัยภาษาฯ เป็นผู้รับประโยชน์ ด้วยเหตุนี้จึงเป็นการสั่งสมทุน ให้แก่สถาบันฯ ได้อีกทางหนึ่ง หวังว่าคงจะไม่ลืมกัน!

อนึ่ง ท่านสามารถซื้อผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ได้ที่ร้าน iCraft วิวิธชาติพันธุ์ หรือ FB: RILCAmuseumstudies