วัฒนธรรมแห่งสุขภาพในฐานะตัวกระตุ้นความยั่งยืนทางธุรกิจ

รองศาสตราจารย์ ดร.สิงหนาท น้อมเนียน
Share on :

ปฐมบทของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) ขององค์การ สหประชาชาติในปี 2558 ทำให้เห็นการยอมรับเป้าหมายหลัก 17 ประการโดยผู้นำระดับโลก และหลังจากนั้น จึงนำเป้าหมายเหล่านี้ไปสู่แนวทางปฏิบัติทางธุรกิจ ทั้งผู้นำทางการเมืองและผู้นำทางธุรกิจต่างเข้าใจดีว่า หนทางข้างหน้า คือการเติบโตอย่างยั่งยืนและการวางแนวเศรษฐกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เพื่อให้คนรุ่นต่อไปมั่นใจได้ว่า จะดำเนินต่อไปได้ ความยั่งยืนนั้นเป็นลักษณะพื้นฐานทางด้านสังคมที่มีร่วมกันของทุกคนในศตวรรษที่ 21

บริษัทและธุรกิจต่าง ๆ พยายามที่ จะรวม SDGs เข้ากับแนวปฏิบัติทางธุรกิจ โดยมีส่วนร่วมกับแนวคิด “ไตรกำไรสุทธิ” (Triple Bottom Line) ซึ่งเป็นแนวคิดของ John Elkington โดยชี้ให้เห็นว่า ธุรกิจจะเติบโต อย่างยั่งยืนได้นั้นจะต้องเติบโตอย่างสมดุลทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ กำไร (Profit) คน (People) และโลก (Planet) แทนที่จะวัดจากกำไร เพียงอย่างเดียว โดยที่ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ มีความสมดุลกับจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อม และการมุ่งเน้นที่ความเป็นอยู่ที่ดีของสังคม แนวคิด “ไตรกำไรสุทธิ” จึงเป็นวิธีที่สามารถ จัดการได้สำหรับธุรกิจ เพื่อให้แน่ใจว่าธุรกิจ เหล่านี้ได้รับผลลัพธ์ทางเศรษฐกิจโดยที่ ไม่ทำลายความเป็นอยู่ที่ดีของสังคมและ สิ่งแวดล้อม

อย่างไรก็ตาม ความพึงพอใจของ ธุรกิจในความพยายามที่จะบรรลุเป้าหมาย สามประการต้องหยุดชะงักลงเมื่อโควิด 19 ทำลายสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ ซึ่งทำให้ธุรกิจ ต้องลดขนาดการดำเนินงาน ลดทรัพยากรมนุษย์ และย้ายเข้าสู่โหมดการเอาตัวรอด (Survival Mode) ในขณะที่โลกกำลังค่อย ๆ กลับสู่ สภาวะปกติ แนวคิดเรื่องความยั่งยืนจำเป็น ต้องได้รับการทบทวนอีกครั้ง

แนวทางที่ธุรกิจต่าง ๆ ควรพิจารณา นำมาใช้คือ “วัฒนธรรมแห่งสุขภาพ” (Culture of Health: CoH) ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่ Robert Wood Johnson Foundation คิดค้นเพื่อพัฒนาสุขภาพให้เป็นประเด็นหลักของ สุขภาพของมนุษย์ในสังคมที่มีความหลากหลาย

วัฒนธรรมแห่งสุขภาพเกี่ยวข้องกับกรอบสี่เสาหลักที่ใช้วิเคราะห์ความเป็นอยู่ที่ดี ขององค์กรและสุขภาวะของสังคม อันได้แก่ สุขภาพพนักงาน (การปฏิบัติต่อพนักงาน) สุขภาพผู้บริโภค (สุขภาพและความปลอดภัย ของผลิตภัณฑ์และบริการ) สุขภาพชุมชน (ความพยายามด้านสุขภาพและความปลอดภัย ในสถานที่ของการทำธุรกิจ) และอนามัย สิ่งแวดล้อม (ผลกระทบของการดำเนินงานต่อ สิ่งแวดล้อม)

แนวทางวัฒนธรรมแห่งสุขภาพ ช่วยให้องค์กรต่าง ๆ ปรับกรอบวาระใหม่ เพื่อให้ครอบคลุมความเป็นอยู่ที่ดีของแต่ละ บุคคล องค์กร และสังคม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ ทิศทางเชิงกลยุทธ์เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมาย ของ SDGs วิธีการนี้เป็นการตอบสนองต่อ การมีส่วนร่วมของธุรกิจในการสร้าง Health Footprint ขององค์กรเพื่อให้ธุรกิจและ สังคมดีขึ้น

กลยุทธ์ของวัฒนธรรมแห่งสุขภาพ

กลยุทธ์ด้านสุขภาพของผู้บริโภค

ภายในเสาหลักนี้ องค์กรอาจใช้กลยุทธ์ที่เน้นคุณภาพของ ผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่การจัดหาไปจนถึงผลลัพธ์สุดท้าย องค์กรต่าง ๆ ควรให้ ข้อมูลผลิตภัณฑ์ทั้งหมดเพื่อให้แน่ใจว่าผลิตภัณฑ์ปลอดภัยสำหรับ การบริโภค วาระด้านสุขภาพของผู้บริโภคอาจได้รับการผลักดันไปข้างหน้า ด้วยการใช้กลยุทธ์ “From Farm to Table” โดยการจัดลำดับความสำคัญ ของผลิตผลในท้องถิ่นซึ่งช่วยให้สามารถสนับสนุนธุรกิจในท้องถิ่นและ ลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการนำเข้าและส่งออกได้

กลยุทธ์ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม

เสาหลักนี้กำหนดให้องค์กรต้องทบทวนผลเสียของการใช้ ทรัพยากรธรรมชาติและกระบวนการผลิต กลยุทธ์ด้านสิ่งแวดล้อม มีสองแนวทางสำคัญ ได้แก่ (1) ความมุ่งมั่นในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม ที่มีอยู่ เช่น การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เศษอาหาร การจัดการ ทรัพยากรน้ำที่ไม่ดี การกำจัดของเสีย) (2) ความมุ่งมั่นที่จะนำแนวทาง ปฏิบัติที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมาใช้

กลยุทธ์ด้านสุขภาพของพนักงาน

โปรแกรมให้ความช่วยเหลือพนักงานที่หลากหลาย ซึ่งตอบสนองทั้งสุขภาวะทางกายและจิตใจ โดยบทเรียนที่ดีจากโควิด 19 เกิดจากการที่องค์กรต่าง ๆ ละเลยปัญหาสุขภาพจิตของพนักงานมา เป็นเวลานาน และด้วยกลยุทธ์ต่าง ๆ เช่น การทำงาน Work from Home ทำให้บุคลากรมีสุขภาพดีขึ้นและมีประสิทธิผลในการทำงาน มากขึ้นเมื่อพนักงานหลุดพ้นจากสภาพแวดล้อมทางสังคมที่ทำให้ เสียสมาธิในที่ทำงาน ตอนนี้พวกเขาจึงสามารถมีสมาธิกับงานได้มากขึ้น และสร้างสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน

กลยุทธ์ด้านสุขภาพชุมชน

เสาหลักนี้เน้นการมีส่วนร่วมขององค์กรกับชุมชนท้องถิ่น เพื่อกำหนดวิธีการสร้างความร่วมมือที่ดีและการทำงานร่วมกัน องค์กร ต่าง ๆ อาจจัดลำดับความสำคัญของการว่าจ้างคนในท้องถิ่นแทนที่ จะเป็นบุคคลภายนอก หรือให้ความช่วยเหลือด้านการศึกษาหรือ การฝึกอบรมเพื่อสร้างกลุ่มผู้มีความสามารถในท้องถิ่นและอาจให้โอกาส ในการจ้างงานบุคคลเหล่านี้

การระบาดใหญ่ของโควิด 19 แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงความเปราะบางของเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลก ซึ่งเป็นเครื่องเตือนใจ ว่าเราจำเป็นต้องทบทวนวิธีการดำเนินธุรกิจของเรา รวมไปถึงตัวขับเคลื่อนอนาคตของความยั่งยืน การน้อมนำเอาหลักการของวัฒนธรรมแห่งสุขภาพ จะช่วยให้องค์กรสามารถต่อยอดและขับเคลื่อนวาระแห่งความยั่งยืนได้ โดยการสรรค์สร้างอัตลักษ์ของตนเองและองค์กรเพื่อกำหนดทิศทาง ธุรกิจหลังโควิด 19 ให้ประสบความสำเร็จผ่านการเพิ่มความยืดหยุ่นของธุรกิจ ส่งเสริมสุขภาพและฟื้นฟูสภาพความเป็นอยู่ของพนักงานและชุมชน

วัฒนธรรมแห่งสุขภาพจะเป็นสิ่งที่จะช่วยขับเคลื่อนให้ SME ยุคใหม่ครองใจลูกค้าและส่งต่อความยั่งยืนให้กับโลกใบนี้ เพราะเรื่อง ของความยั่งยืนไม่ได้เป็นเรื่องของธุรกิจยักษ์ใหญ่เท่านั้น แต่จริง ๆ แล้วไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดใด ก็สามารถมีส่วนช่วยในการสร้างความยั่งยืน ให้กับโลกใบนี้ได้ เพราะพลังและแรงขับเคลื่อนเล็ก ๆ จากคนหรือองค์กรหนึ่งนั้นสามารถสร้างแรงบันดาลใจเพื่อการเปลี่ยนแปลงให้กับผู้คนในสังคม และโลกใบนี้ให้ยั่งยืนในอนาคตได้

นี่คือส่วนหนึ่งของโครงการวิจัย “การปลูกฝังกรอบวัฒนธรรมแห่งสุขภาพในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม : การศึกษา เปรียบเทียบระหว่างญี่ปุ่นและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” (Embedding the Framework of Culture of Health in SMEs – A Comparative Prospective Between Japan and Southeast Asia) ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจาก Toshiba International Foundation และได้รับการสนับสนุน จาก International Research Network Grant 2.0 ของ Sunway University โดยมีคณะผู้วิจัยในโครงการ คือ Assoc. Prof. Dr. Alexander Trupp, Associate Dean – Research and Postgraduate Studies, School of Hospitality & Service Management และ Dr. Tan Ai Ling, Senior lecturer, Surrey International Institute at Dongbei University of Finance and Economics (SII-DUFE).