นิตเนม : วัตรและทัศน์แห่งสิกข์ ปรัชญาศาสนาสิกข์สำหรับสังคมไทย

อภิรัฐ คำวัง
Share on :

หนังสือเล่มเดียวที่สามารถอธิบายปรัชญาศาสนา สิกข์ได้อย่างครบถ้วนสำหรับวงวิชาการไทย ซึ่งเป็นประเด็นด้าน อินเดียศึกษา ที่ขาดแคลนขอแนะนำหนังสือเรื่อง “นิตเนม : วัตรและทัศน์แห่งสิกข์” (พ.ศ.2566) เป็นผลงานจากโครงการ วิจัยที่ใช้ชื่อเดียวกับหนังสือ โครงการได้รับทุนอุดหนุนจาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) หนังสือเล่มนี้ถือได้ว่า ทำหน้าที่เพิ่มฐานข้อมูลทางปรัชญาศาสนาสิกข์ โดยผล สังเคราะห์ได้นำเสนอองค์ความรู้จากคำสั่งสอนที่เป็น ภูมิปัญญาอันทรงคุณค่ายิ่งของมวลมนุษยชาติ เสริมสร้าง ความรู้ความเข้าใจให้ได้รู้จักกันมากขึ้นว่าศาสนาสิกข์เป็นอย่างไร และมุ่งสนับสนุนต่อบริบททางสังคมพหุภาษา พหุวัฒนธรรม และพหุศาสนา

“นิตเนม” คือ ผูกบทภาวนาบทสวด เป็นวัตร ตามหลักศาสนวินัยของสิกข์ (5 บท 3 วัตร) ประพันธ์เป็นสังคีต อินเดียโบราณด้วยอักษรคุรมุขี (ภาษาปัญจาบี) แต่ละบท มีเป้าหมายที่ต่างกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บทภาวนาวัตรเช้า “ยัปยี ซาฮิบ” ได้รับการยกย่องว่าเป็นรัตนะของบทสวด เปิดเผยอภิปรัชญา และบทสวดวัตรก่อนนอน “โซเฮลา” ที่มีทั้งความงดงามทางภาษาและความหมาย เป็นบทเดียวกับ การสวดในพิธีฌาปนกิจ

ส่วนหนึ่งในเล่มได้แสดงให้เห็นถึงกระบวนการสรรเสริญ พระบารมีของพระองค์หรือพระเจ้าสูงสุด ซึ่งไม่มีชื่อให้เรียกขาน พระองค์ในฐานะ “คุรู” โปรดสั่งสอนศิษย์-มนุษย์ให้พัฒนา ศักยภาพทางปัญญา อันเป็นต้นเรื่องของการเรียกชื่อศาสนา (ซิกข์ สิกข์ ศิษย์) มีนัยว่าศิษย์สาวกของพระองค์ คำสั่งสอน หรือพระวจนะเรียกว่า “คุรบานี” ที่เปิดเผยให้ถึงเป้าหมาย อันสูงสุดของสิกข์ นั่นคือ การหลอมรวมเป็นเอกะกับพระองค์ ขณะที่มีชีวิตอยู่ภายใต้รูปกายของมนุษย์ อันเป็นต้นเรื่องที่ อธิบายถึงหน้าที่ของมนุษย์ เป็นการตอบคำถามที่ว่า ชีวิต มาจากไหน ตายแล้วไปไหน เกิดมาทำไม ตลอดจนได้เปิดเผย สัจวิถีให้ศิษย์จงวิจารณ์และปฏิบัติ แทนการหลงตัวตน หลงทรัพย์ หลงยศ พัฒนาปัญญาให้บังเกิดโชติแห่งปัญญา ที่จะนำข้ามมหาสมุทรแห่งสังสารวัฏ หากไม่ใช่สัจวิถีแล้ว ก็ยังคงหลงพเนจร ณ โลกนี้ ไปตลอดกาล ดังนั้น จิตของสิกข์ จงภาวนาเพื่อเชื่อมสัมพันธภาพเชิงนามธรรมกับพระองค์ ซึ่งสถิต ณ สรรพสถาน จึงนับเป็นการบูชาที่แท้จริง อันเป็น ที่มาของศาสนวินัยและวิถีแห่งสิกข์

ขณะเดียวกัน ปกหนังสือก็แสดงปรัชญานำเรื่อง อุปมาไว้ว่า พระบาทเสมือนกมลซึ่งเป็นบัวแดงที่บานแล้ว พระบารมีจากพระบาทที่มีกลิ่นหอมประดุจบัวบาน ขจรกระจาย ไปทั่วสารทิศ ศิษย์สาวกของพระองค์ขอน้อมพึ่ง ณ เบื้อง พระบาทนั้น

ความสำคัญและความพิเศษของเล่มนี้ก็คือ เป็น ครั้งแรกที่นำเสนอวัตรนิตเนมครบทั้งห้าบท ยังไม่เคยมีเอกสาร ทางวิชาการใดของไทยที่ให้ความกระจ่างเกี่ยวกับทัศน์แห่งสิกข์ ได้อย่างเพียงพอ จึงจะเป็นเล่มที่นำไปใช้อ้างอิงในทางวิชาการ และงานวิจัยอื่นต่อไป

ดังนั้น การทำความเข้าใจปรัชญาศาสนาก็จะเข้าใจ มูลฐานวิถีชีวิต วิถีชุมชน ซึ่งโครงสร้างทางสังคมแห่งสิกข์ ถูกออกแบบและบัญญัติเอาไว้แล้ว อย่างไรก็ดี (คนนอก) ที่ไม่ใช่ ศาสนิกอาจจะเข้าใจในพระองค์และศิษย์สาวกของพระองค์ ได้ไม่ง่ายนัก หากใช้กระบวนทัศน์และจักรวาลทัศน์คนละ ชุดกัน ทว่า เล่มนี้ลำดับวัตรและทัศน์ให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น เปิดเผย ในเรื่องที่ถูกเปิดเผยไว้แล้ว จากอักษรคุรมุขีเป็นภาคภาษาไทย หมายเหตุ: หนังสือจัดพิมพ์จำนวนจำกัด ผู้ที่สนใจสามารถสอบถามได้ที่ aphirat.kam@mahidol.edu