หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาและการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม

หน้าแรก > การศึกษา > หลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา > ปริญญาโท ภาษาและการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม

ชื่อหลักสูตร : หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาและการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม


คำอธิบายหลักสูตร


ในการบูรณาการศาสตร์ด้านภาษาและการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมเพื่อประยุกต์กับการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุเป้าหมาย หลักสูตรฯ จึงได้ออกแบบการเรียนการสอนให้ผู้เรียนสามารถเลือกความเชี่ยวชาญตามความสนใจ 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการสอนภาษา ด้านการแปล และด้านการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมเพื่อการบริหาร โดยเน้นการนำความรู้ด้านภาษาและการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมไปใช้ในการพัฒนาการทำงานในสังคมที่มีความแตกต่างหลากหลายและการเปลี่ยนแปลงในวิถีใหม่ รวมถึงการลดปัญหาอันเกิดจากความขัดแย้งทางภาษาและวัฒนธรรม ซึ่งไม่เพียงแต่มุ่งให้ผู้เรียนได้เรียนรู้แนวคิดทฤษฎีเฉพาะทางเท่านั้น แต่ยังเน้นให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติ และเรียนรู้จากสถานการณ์จริงที่เกิดขึ้นปัจจุบัน โดย “มุ่งสร้างมหาบัณฑิตที่มีความรู้และทักษะด้านภาษาและการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม เพื่อนำไปประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม

ความโดดเด่นของหลักสูตร
  • กระบวนการเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนในด้านภาษาและการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมและพร้อมนำไปใช้กับการทำงานด้านการสอนภาษา การแปล หรือการบริหารองค์กร

  • หลักสูตรตอบโจทย์โลกสมัยใหม่ และช่วยสร้างความสามารถในการแข่งขัน สร้างโอกาสให้กับผู้เรียนในการประกอบอาชีพทั้งในปัจจุบันและอนาคต (เช่น ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาและการสื่อสาร ครูสอนภาษา นักแปล นักสื่อสารประชาสัมพันธ์ นักวางแผนกลยุทธ์ด้านการสื่อสาร/การตลาด นักพัฒนาทรัพยากรบุคคลในองค์กรระหว่างประเทศ เอกชน ราชการ SMEs ผู้ประกอบการ เป็นต้น)

  • ทีมคณาจารย์เป็นผู้เชี่ยวชาญที่เข้าใจการเปลี่ยนแปลงและความหลากหลายของโลก สังคม และผู้เรียน มีประสบการณ์เข้าถึงกระบวนการทำงานของคนทุกเจนเนอเรชั่นในยุคดิจิทัล และสามารถช่วยออกแบบ จัดการกระบวนการเรียนรู้ (การสอน การจัดกิจกรรมเสริมการเรียนรู้ การให้คำปรึกษางานวิจัย การให้คำแนะนำ) เพื่อพัฒนาผู้เรียนแต่ละคนได้อย่างเหมาะสม

ค่าใช้จ่ายในการศึกษา (เหมาจ่าย)

ชำระต่อภาคการศึกษา (บาท)


ภาคปกติ : 35,000 บาท

ภาคพิเศษ : 50,000 บาท

หมายเหตุ : จัดเก็บค่าใช้จ่ายในอัตราเดียวกันทุกแผนการศึกษา ทั้งนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างประเทศ

อาชีพที่เกี่ยวข้อง


  1. ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาและการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม
  2. นักวิจัยและนักวิชาการด้านภาษาและการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม
  3. ที่ปรึกษาด้านภาษาและการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม

โครงสร้างหลักสูตร


ชั้นปีที่แผน ก แบบ ก1แผน ก แบบ ก2แผน ข
1ภาคเรียนที่ 1

วภสว 798 วิทยานิพนธ์ 

วภสว 505 ทฤษฎีการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม

วภสว 506 การวิเคราะห์ภาษาเพื่อการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม 

วิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต

ภาคเรียนที่ 2
วภสว 798 วิทยานิพนธ์วภสว 507 การออกแบบและปฏิบัติการวิจัย
วภสว 552 สัมมนาประเด็นปัจจุบันด้านภาษาและการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม
วิชาบังคับตามกลุ่มความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน 3 หน่วยกิต
วิชาเลือก 3 หน่วยกิต
สอบประมวลความรู้
2ภาคเรียนที่ 1
วภสว 798 วิทยานิพนธ์วภสว 698 วิทยานิพนธ์วิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต
วภสว 697 สารนิพนธ์
ภาคเรียนที่ 2
วภสว 798 วิทยานิพนธ์วภสว 698 วิทยานิพนธ์วภสว 697 สารนิพนธ์

การสมัคร


การรับเข้าศึกษา

  1. พิจารณาจากเอกสารประกอบการสมัคร
  2. สอบข้อเขียนวิชาเฉพาะของหลักสูตร
  3. สอบสัมภาษณ์

ช่วงเวลาการเปิดรับสมัคร

ประกาศรับสมัครและกำหนดการ

เกณฑ์การสมัคร

  1. IELTS 3.0
  2. TOEFL-iBT 32
  3. MU GRAD PLUS (MU GRAD TEST + SPEAKING) 40
  4. MU GRAD TEST 40
  5. MU ELT 84

*นักศึกษาต่างชาติที่เข้าเรียนหลักสูตรภาษาไทยต้องมีผลสอบภาษาไทยตามเกณฑ์ที่บัณฑิตวิทยาลัยกำหนด
*ไม่มีผลคะแนนภาษาอังกฤษ / มีผลคะแนนไม่ถึงเกณฑ์ขั้นต่ำที่รับเข้าศึกษา – สามารถสมัครได้

แผน ก แบบ ก2แผน ข
  1. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีทุกสาขาวิชา จากสถาบันอุดมศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง
  2. ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรไม่ต่ำกว่า 2.50
  3. มีผลการสอบภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ที่บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดลกำหนด
  4. มีประสบการณ์การทำงานที่เกี่ยวข้องไม่น้อยกว่า 1 ปี
  5. ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ข้างต้น อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษา ตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
เกณฑ์การสมัครของแผน ข เหมือนกับแผน ก แบบ ก2

เอกสารที่ใช้สมัคร

  1. รูปถ่าย
  2. สำเนาปริญญาบัตร / หนังสือรับรองการเป็นนักศึกษา
  3. สำเนา Transcript / Grade Report ฉบับภาษาอังกฤษ
  4. สำเนาบัตรประชาชน
  5. สำเนาทะเบียนบ้าน
  6. หลักฐานแสดงการดำเนินการขอเอกสาร หรือหลักฐานแสดงการดำเนินการจัดส่ง บันทึกผลการศึกษาตลอดหลักสูตร (Transcript) ฉบับภาษาอังกฤษ และกรณีสำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศ เพิ่มเติมเอกสารหนังสือรับรองการเทียบคุณวุฒิการศึกษาฯ

ข้อมูลติดต่อ


ประธานหลักสูตร (Program Director)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ธีรพงษ์ บุญรักษา
theeraphong.boo@mahidol.ac.th