หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพิพิธภัณฑศึกษา

หน้าแรก > การศึกษา > หลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา > ปริญญาโท พิพิธภัณฑศึกษา

ชื่อหลักสูตร : หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพิพิธภัณฑศึกษา


คำอธิบายหลักสูตร


นับจากปี พ.ศ. 2534 ผศ. อภิญญา บัวสรวง ผู้ก่อตั้งแขนงวิชาพิพิธภัณฑศึกษา ได้ริเริ่ม บุกเบิกวงวิชาพิพิธภัณฑศึกษาให้เป็นที่รู้จัก บัดนี้ได้พัฒนาต่อยอดประสบการณ์ องค์ความรู้ จนเป็นหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพิพิธภัณฑศึกษา หลักสูตรใหม่ ปี พ.ศ. 2566 หลักสูตรแรกและหลักสูตรเดียวในประเทศไทย ที่ประสาทปริญญาโทด้านพิพิธภัณฑศึกษา

หลักสูตรฯ มุ่งสร้างมหาบัณฑิตผู้มีความเชี่ยวชาญทั้งการปฏิบัติและทฤษฎี มีทักษะวิจัย นำไปใช้แก้ปัญหาได้จริง มั่นคงยิ่งในจริยธรรม เป็นผู้นำในวงวิชาการและวิชาชีพ เพื่อทำงานในแวดวง GLAM (Gallery Library Archive Museum) และยังมุ่งเน้นการเป็นชานชาลาแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อความเท่าเทียมทางสังคม สร้างความตระหนักรู้ในการออกแบบพิพิธภัณฑ์สำหรับทุกคน (Inclusive) เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน มุ่งพัฒนาคน พัฒนาความรู้ และนวัตกรรมในการทำงานเพื่อช่วยให้ “พิพิธภัณฑ์อยู่ดี สังคมมีสุข”

ความโดดเด่นของหลักสูตร
  • หลักสูตรแรกและหลักสูตรเดียวที่ประสาทปริญญาโทด้านพิพิธภัณฑศึกษา สั่งสมประสบการณ์การจัดการเรียนการสอนมากกว่า 30 ปี
  • สารัตถะครอบคลุม 3 มิติของงานพิพิธภัณฑ์ 1. การสงวนรักษามรดกทางวัฒนธรรม 2. การออกแบบประสบการณ์ผู้ชม และ 3.การบริหารจัดการ
  • มี Consortium ของตัวจริงในวงการพิพิธภัณฑ์ จัดความสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน ในลักษณะการทำงานวิจัยและการเรียนรู้แบบร่วมหัวจมท้าย
  • เรียนรู้โดยฐานการวิจัยทั้งในเชิงทฤษฎี การปฏิบัติ และการวิพากษ์ผ่านการเรียนรู้ในห้องเรียน การฝึกงานอย่างเข้มข้น การเรียนรู้ภาคสนาม โดยใช้ปัญหาในโลกแห่งชีวิตจริง
  • เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วบัณฑิตจะมีคุณลักษณะสำคัญรู้ปฏิบัติพร้อมทฤษฎี, มีทักษะวิจัย, นำไปใช้แก้ปัญหาได้จริง, มั่นคงยิ่งในจริยธรรม และเป็นผู้นำในวงวิชาการและวิชาชีพ

ค่าใช้จ่ายในการศึกษา (เหมาจ่าย)

ชำระต่อภาคการศึกษา (บาท)


ภาคปกติ : 35,000 บาท

ค่าใช้จ่ายเพื่อการศึกษาดูงาน 10,000 บาท (จัดเก็บครั้งเดียวตลอดหลักสูตร)

หมายเหตุ : จัดเก็บค่าใช้จ่ายในอัตราเดียวกันทุกแผนการศึกษา ทั้งนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างประเทศ

อาชีพที่เกี่ยวข้อง


  1. ภัณฑารักษ์ นักวิจัย นักอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรม นักจัดกิจกรรมการศึกษาใน พิพิธภัณฑสถาน หอศิลป์ สวนสัตว์ ห้องสมุด สวนพฤกษศาสตร์ และวัฒนธรรมสถาน
  2. นักวิจัย นักวิชาการ นักปฏิบัติการทางพิพิธภัณฑ์
  3. นักสื่อสาร เขียนบท และออกแบบนิทรรศการในพิพิธภัณฑ์สถาน หอศิลป์ สวนสัตว์ ห้องสมุด สวนพฤกษศาสตร์ และวัฒนธรรมสถาน
  4. นักวางแผนพิพิธภัณฑ์

โครงสร้างหลักสูตร


ชั้นปีที่แผน 1.1แผน 1.2แผน 2
1

ภาคเรียนที่ 1

ภาคเรียนที่ 1

ภาคเรียนที่ 1

วภพภ 798  วิทยานิพนธ์วภพภ 501  ทฤษฎีและปฏิบัติการด้านพิพิภัณฑศึกษาวภพภ 501  ทฤษฎีและปฏิบัติการด้านพิพิภัณฑศึกษา
วภพภ 502  ระเบียบวิธีวิจัยทางพิพิธภัณฑศึกษาวภพภ 502  ระเบียบวิธีวิจัยทางพิพิธภัณฑศึกษา
วิชาการเลือกไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิตวิชาการเลือกไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต

รวม 6 หน่วยกิต

รวม 12 หน่วยกิต

รวม 12 หน่วยกิต

ภาคเรียนที่ 2

ภาคเรียนที่ 2

ภาคเรียนที่ 2

วภพภ 798  วิทยานิพนธ์วภพภ 503  ภัณฑรักษวิจัยวภพภ 503  ภัณฑรักษวิจัย
วภพภ 504  การฝึกงานในพิพิธภัณฑสถานวภพภ 504  การฝึกงานในพิพิธภัณฑสถาน
วภพภ 505  วิทยสโมธานวภพภ 505  วิทยสโมธาน
วิชาเลือก 3 หน่วยกิตวิชาเลือก 3 หน่วยกิต

รวม 12 หน่วยกิต

รวม 12 หน่วยกิต

รวม 12 หน่วยกิต

2

ภาคเรียนที่ 1

ภาคเรียนที่ 1

ภาคเรียนที่ 1

วภพภ 798  วิทยานิพนธ์วภพภ 798  วิทยานิพนธ์วภพภ 798  วิทยานิพนธ์

รวม 12 หน่วยกิต

รวม 6 หน่วยกิต

รวม 6 หน่วยกิต

ภาคเรียนที่ 2

ภาคเรียนที่ 2

ภาคเรียนที่ 2

วภพภ 798  วิทยานิพนธ์วภพภ 798  วิทยานิพนธ์วภพภ 798  วิทยานิพนธ์

รวม 6 หน่วยกิต

รวม 6 หน่วยกิต

รวม 6 หน่วยกิต

การสมัคร


การรับเข้าศึกษา

  1. พิจารณาจากเอกสารประกอบการสมัคร
  2. สอบสัมภาษณ์

ช่วงเวลาการเปิดรับสมัคร

ประกาศรับสมัครและกำหนดการ

เกณฑ์การสมัคร

  1. IELTS 3.0
  2. TOEFL-iBT 32
  3. MU GRAD PLUS (MU GRAD TEST + SPEAKING) 40
  4. MU GRAD TEST 40

*นักศึกษาต่างชาติที่เข้าเรียนหลักสูตรภาษาไทยต้องมีผลสอบภาษาไทยตามเกณฑ์ที่บัณฑิตวิทยาลัยกำหนด
*ไม่มีผลคะแนนภาษาอังกฤษ / มีผลคะแนนไม่ถึงเกณฑ์ขั้นต่ำที่รับเข้าศึกษา – สามารถสมัครได้

แบบ 1.1 ผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาโทแบบ 2.1 ผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาโทแบบ 2.2 ผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี
  1. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าทุกสาขาวิชา
  2. มีผลงานตีพิมพ์บทความในวารสารระดับชาติ หรือนานาชาติอย่างน้อย 1 บทความ หรือมีประสบการณ์ทำงานวิจัยไม่น้อยกว่า 2 ปี
  3. คุณสมบัติอื่น ๆ เป็นไปตามที่บัณฑิตวิทยาลัยกำหนก
  4. ผู้ที่มีคุณสมบัติต่างจากเกณฑ์ข้างต้นอาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษา ตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตร และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

  1. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าทุกสาขาวิชา
  2. คุณสมบัติอื่น ๆ เป็นไปตามที่บัณฑิตวิทยาลัยกำหนก
  3. ผู้ที่มีคุณสมบัติต่างจากเกณฑ์ข้างต้นอาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษา ตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตร และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
  1. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าทุกสาขาวิชา
  2. มีประสบการณ์ทำงานในวงการพิพิธภัณฑ์ไม่น้อยกว่า 2 ปี
  3. คุณสมบัติอื่น ๆ เป็นไปตามที่บัณฑิตวิทยาลัยกำหนด
  4. ผู้ที่มีคุณสมบัติต่างจากเกณฑ์ข้างต้นอาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษา ตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตร และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

เอกสารที่ใช้สมัคร

  1. รูปถ่าย
  2. สำเนาปริญญาบัตร / หนังสือรับรองการเป็นนักศึกษา
  3. สำเนา Transcript / Grade Report ฉบับภาษาอังกฤษ
  4. สำเนาบัตรประชาชน
  5. สำเนาทะเบียนบ้าน
  6. หลักฐานแสดงการดำเนินการขอเอกสาร หรือหลักฐานแสดงการดำเนินการจัดส่ง บันทึกผลการศึกษาตลอดหลักสูตร (Transcript) ฉบับภาษาอังกฤษ และกรณีสำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศ เพิ่มเติมเอกสารหนังสือรับรองการเทียบคุณวุฒิการศึกษาฯ Personal Statement หรือ หนังสือแนะนำตัว

ข้อมูลติดต่อ


ประธานหลักสูตร (Program Director)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พธู คูศรีพิทักษ์
patoo.cus@mahidol.ac.th