สองวัยเข้าใจสื่อ: การขับเคลื่อนงานเฝ้าระวังและการรู้เท่าทันสื่อกับกลุ่มเยาวชนสู่กลุ่มผู้สูงวัยผ่านมิติวัฒนธรรม


หัวหน้าโครงการ:

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นันธิดา จันทรางศุ

นักวิจัย:

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นันธิดา จันทรางศุ
รองศาสตราจารย์ ดร.นันทิยา ดวงภุมเมศ
อ.ดร.สกาวรุ้ง สายบุญมี

ระยะเวลาดำเนินการ:

31 พฤษภาคม 2565 – 31 พฤษภาคม 2566

ที่มาและความสำคัญ

โครงการสองวัยเข้าใจสื่อ: การขับเคลื่อนงานเฝ้าระวังและการรู้เท่าทันสื่อกับกลุ่มเยาวชนสูงกลุ่มผู้สูงวัยผ่านมิติวัฒนธรรมเป็นโครงการที่พัฒนาขึ้นจากงานวิจัยของกลุ่มวิจัยการสื่อสารเพื่อการพัฒนา สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล และข้อมูลจากการร่วมทํางานกิจกรรมเวทีส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน 5 ภูมิภาคของ คณะอนุกรรมการเกี่ยวกับการเฝ้าระวังสื่อไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์ งานวิจัยและข้อมูลชี้ให้เห็นว่า ผู้สูงอายุส่วนมาก ไม่สามารถพิจารณาความน่าเชื่อถือของข้อมูลข่าวสารที่เปิดรับ ทําให้ผู้สูงอายุเองเกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง และกลายเป็นต้นตอในการเผยแพร่ข่าวปลอมไปยังผู้อื่นในสังคม กลุ่มวิจัยการสื่อสารเพื่อการพัฒนา สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล จึงสร้างหลักสูตรวัยเพชรรู้ทันสื่อซึ่งประกอบด้วยเนื้อหาและวิธีการสอนที่สามารถปรับประยุกต์ใช้ได้ตามบริบทของพื้นที่และวัฒนธรรม อีกทั้งการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ของโครงการซึ่งมุ่งเน้นกระบวนการมีส่วนร่วม จะเกิดประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อม และส่งเสริมเยาวชนให้มีบทบาทสําคัญที่เข้ามามีส่วนร่วมในการช่วยขับเคลื่อนความรู้

วัตถุประสงค์

โครงการสองวัยเข้าใจสื่อ: การขับเคลื่อนงานเฝ้าระวังและการรู้เท่าทันสื่อกับกลุ่มเยาวชนสู่กลุ่มผู้สูงวัย โดยมีวัตถุประสงค์ของการดําเนินการ ดังนี้

  1. เพื่อจัดอบรมเชิงปฏิบัติการกลุ่มเยาวชนต้นแบบ 5 ภูมิภาค ให้มีทักษะการเฝ้าระวังและการรู้เท่าทันสื่อ
  2. เพื่อขับเคลื่อน ติดตาม การขยายผลกลุ่มเยาวชนต้นแบบสู่การถ่ายทอดทักษะการเฝ้าระวังและการรู้เท่าทันสื่อไปยังกลุ่มก่อนเข้าสู่สูงวัยและกลุ่มสูงวัย
  3. ถอดบทเรียนการขยายผลกลุ่มเยาวชนต้นแบบสู่การถ่ายทอดทักษะการเฝ้าระวังของกลุ่มเป้าหมายที่มีความแตกต่างตามบริบททางวัฒนธรรมของแต่ละภูมิภาค
  4. เพื่อผลิตวิดิทัศน์ “สองวัยเข้าใจสื่อ” 5 วิดิทัศน์เพื่อการขับเคลื่อนงานเฝ้าระวังและการรู้เท่าทันสื่อที่ได้จากกระบวนการขับเคลื่อนผ่านมิติทางวัฒนธรรม 5 ภูมิภาค รวมทั้
  5. กรุงเทพมหานคร เพื่อช่วยขยายเครือข่ายทั้งในเชิงพื้นที่ ภาคีการทํางาน และผลที่ครอบคลุมทั้งมิติของสื่อและวัฒนธรรม และที่สําคัญเป็นการเพิ่มปริมาณของประชากรทุกช่วงวัยที่เข้าใจการเฝ้าระวังและการรู้เท่าทันสื่อ เพื่อเป็นภูมิคุ้มกันป้องกันผลกระทบทางลบจากการใช้สื่อที่ไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์ทั้งในระดับบุคคลและสังคมโดยรวม

ผลผลิต

(อยู่ระหว่างดำเนินการ)