Migration, Ageing, Aged Care and Covid-19 Pandemic in Asia: Case Studies from Thailand and Japan
การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรสู่สังคมสูงวัยอย่างรวดเร็วส่งผลกระทบต่อระบบสุขภาพ เศรษฐกิจและสังคม พร้อมกันนั้นสถานการณ์ยิ่งมีความซับซ้อนเพิ่มขึ้นจากกระแสการย้ายถิ่น เหล่านี้เป็น ความท้าทายไม่เพียงแต่ในประเทศโลกเหนือเท่านั้น แต่ยังรวมถึงประเทศในโลกใต้ที่กำลังพัฒนา ด้วยเช่นกัน ในช่วงที่ผ่านมาการระบาดใหญ่ของโควิด-19 ทำให้ความท้าทายรุนแรงยิ่งขึ้น ทั้งในแง่ ของการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพและบริการทางสังคมที่เพียงพอสำหรับทุกคนในประเทศ โดยเฉพาะ อย่างยิ่งผู้สูงอายุ ผู้มีรายได้น้อยและผู้ย้ายถิ่นชาวต่างชาติ ซึ่งนับเป็นกลุ่มประชากรที่มีความเสี่ยงสูง ในสภาวการณ์เช่นนี้
หนังสือฉบับนี้จัดทำและตีพิมพ์โดย University of Vienna เพื่อรวบรวมประเด็นการศึกษาวิจัย เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงระดับมหภาคข้างต้นที่ส่งผลต่อภูมิภาคเอเชีย โดยมุ่งนำเสนอประเด็นปัญหาที่ เกิดขึ้น การตอบสนอง และการหาทางออกในประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น
ส่วนแรกของหนังสือ (บทที่ 1 – บทนำ) ได้นำเสนอการวิเคราะห์พลวัตและสถานะของการสูงวัย ทางประชากรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และให้ภาพรวมของความท้าทายที่ซับซ้อนเกี่ยวข้องกับระบบ สุขภาพและประกันสังคมของประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาค ในส่วนที่สอง (บทที่ 2 – 5) มุ่งเน้นไปที่ความต้องการ การดูแลระยะยาวที่เพิ่มขึ้นและความเกี่ยวข้องระหว่างการดูแลผู้สูงอายุและการย้ายถิ่น ที่สะท้อนให้เห็น โลกาภิวัฒน์เศรษฐกิจการดูแล (Globalizing Care Economies) โดยเสนอให้เห็นความทับซ้อนของ ปัญหาในการดูแลทั้งผู้สูงอายุในประเทศและผู้ย้ายถิ่นวัยเกษียณจากประเทศแถบซีกโลกเหนือที่มาอาศัย ระยะยาวในประเทศไทย รวมทั้งอภิปรายถึงความเชื่อมโยงระหว่างการท่องเที่ยว (ระยะยาว) การย้ายถิ่น (กึ่งถาวร) และการดูแลผู้สูงอายุ นอกจากการย้ายเข้าของกลุ่มผู้สูงอายุที่อยู่ในวัยที่ต้องการการดูแล (Incoming Care Cases) มายังประเทศปลายทางแล้ว ในส่วนนี้ยังได้เสนอแง่มุมที่ตรงกันข้ามของ การเคลื่อนย้ายออกของผู้ดูแล (Outgoing Carers) ผ่านกรณีศึกษาการย้ายถิ่นของพนักงานดูแลชาวไทย ไปยังประเทศญี่ปุ่น สะท้อนให้เห็น “ห่วงโซ่งานดูแลระดับโลก” (Global Care Chain) ที่ทำให้งานดูแล กลายเป็นสินค้าและสร้างความไม่เท่าเทียมเกิดขึ้นภายใต้อำนาจของการแย่งชิงทรัพยากรการดูแลในยุค สังคมสูงอายุที่เดินทางไปสู่ระดับขั้นสุด นอกจากนี้ ในส่วนนี้ยังเสนอให้เห็นการศึกษาจากประเทศญี่ปุ่น ในการต่อสู้กับความต้องการการดูแลที่เพิ่มขึ้น โดยค้นหาองค์ความรู้ที่จะป้องกันหรือชะลอการเข้าสู่ ภาวะพึ่งพิง (หรือภาวะเปราะบาง-Frailty) ให้นานที่สุดเพื่อลดอุปทานด้านการดูแลอุปสงค์ ส่วนที่สามของหนังสือเล่มนี้ (บทที่ 6 – 8) กล่าวถึงสถานการณ์ของแรงงานต่างชาติในช่วง การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 และการตอบสนองต่อปัญหาของประเทศไทย รวมทั้งเสนอมุมมอง การจัดการเชิงกลยุทธ์ต่อการแพร่ระบาดของโรคในกลุ่มแรงงานต่างชาติที่คำนึงถึงความแตกต่างทาง วัฒนธรรม (Cultural Approach) นอกจากกลุ่มแรงงานต่างชาติวัยทำงานแล้ว กลุ่มเด็กที่เป็นลูกหลาน แรงงานข้ามชาติก็ได้รับผลกระทบอย่างมาก โดยผู้เขียนได้อภิปรายให้เห็นถึงความไม่เท่าเทียมในการเข้าถึง การศึกษาและบริการสุขภาพที่จำเป็นในช่วงของการแพร่ระบาดของโรค ในบทความสุดท้ายของหนังสือ แสดงให้เห็นถึงข้อจำกัดในการสื่อสารข้อมูลข่าวสารในช่วงของการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ใน กลุ่มแรงงานต่างชาติ เนื้อหาส่วนนี้ยังอภิปรายประเด็นเรื่องสิทธิทางภาษาของคนกลุ่มน้อย บริการ สาธารณะในการล่ามและการแปลเพื่อให้กลุ่มแรงงานต่างชาติสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร รวมทั้งข้อมูล ต่าง ๆ ที่จำเป็นในการดูแลตนเองในช่วงของการแพร่ระบาดของโรคด้วยภาษาที่พวกเขาเข้าใจ