Thai-Western Mobilities and Migration Intimacy within Cross-Border Connections
Thai-Western Mobilities and Migration Intimacy within Cross-Border Connections
Edited by Paul Statham, Sarah Scuzzarello, Sirijit Sunanta and Alexander Trupp, Routledge, Copyright Year 2022
หนังสือเล่มนี้เป็นการนำบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารฉบับพิเศษของ Journal of Ethnic and Migration Studies ปีที่ 46 เล่มที่ 8 ปี 2020 ภายใต้หัวข้อ Thai-Western Mobilities and Migration มาพิมพ์รวมเล่ม ในรูปแบบของหนังสือรวมบทความ ทั้งนี้ Journal of Ethnic and Migration Studies เป็นวารสารชั้นนำในด้านการศึกษาการย้ายถิ่น ตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ Routledge และในปี 2021 สำนักพิมพ์ได้เลือกนำวารสารฉบับพิเศษฉบับนี้ มาพิมพ์รวมเล่มในรูปแบบหนังสือ
ที่มาของวารสารฉบับพิเศษที่ได้รับเลือกให้นำมาพิมพ์ใหม่ในรูปแบบ ของหนังสือรวมบทความมาจากความร่วมมือทางวิชาการระหว่างประเทศ ของบรรณาธิการทั้ง 4 ท่าน ได้แก่ Prof. Paul Statham, University of Sussex, ประเทศสหราชอาณาจักร, Dr. Sarah Scuzzarello, University of Sussex, ประเทศสหราชอาณาจักร, รศ.ดร.ศิริจิต สุนันต๊ะ, มหาวิทยาลัยมหิดล,ประเทศไทย และ Dr. Alexander Trupp, Sunway University, ประเทศมาเลเซีย ซึ่งบทความในวารสารฉบับพิเศษส่วนใหญ่ มาจากบทความที่นำเสนอในการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ EuroSEAS ในปี 2015 ณ สาธารณรัฐออสเตรีย และในปี 2017 ณ สหราชอาณาจักร ใน Panel เกี่ยวกับการย้ายถิ่นระหว่างประเทศไทยและยุโรป
บทความในวารสารฉบับพิเศษและในหนังสือรวมบทความเล่มนี้ ศึกษาความสัมพันธ์ทางสังคมข้ามชาติและความเชื่อมโยงข้ามพรมแดนของ คนธรรมดาในการเคลื่อนย้ายและการย้ายถิ่นระหว่างประเทศไทยและ ประเทศตะวันตก โดยทั่วไปการศึกษาประเด็นนี้มักจะมองผ่านมุมมองของ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและเรื่องเล่าของปัจเจกผ่านการศึกษาการแต่งงาน ข้ามชาติ แต่หนังสือเล่มนี้ต้องการมองปรากฏการณ์นี้มากไปกว่าเรื่องเล่าของ ปัจเจกในการศึกษาการแต่งงานข้ามชาติ โดยการพิจารณาโครงสร้างทางสังคม ที่มีผลต่อการโยกย้ายข้ามชาติในรูปแบบต่าง ๆ หนังสือเล่มนี้ให้ความสำคัญกับบริบทและโครงสร้างทางสังคมใน รัฐต้นทางและปลายทาง ตลอดจนข้อกำหนดต่าง ๆ ของรัฐที่มีส่วนในการ ตัดสินใจโยกย้ายและการก่อรูปชีวิตและประสบการณ์หลังการโยกย้ายของ ผู้ย้ายถิ่นที่แตกต่างไปจากผู้ไม่ย้ายถิ่นในประเทศต้นทางและปลายทาง บทความเกี่ยวกับผู้หญิงไทยที่แต่งงานกับผู้ชายตะวันตกที่อายุมากกว่าและ ย้ายติดตามสามี ชายและหญิงชาวตะวันตกที่ย้ายถิ่นมาใช้ชีวิตหลังเกษียณ เพื่อการผ่อนคลายในประเทศไทย การย้ายถิ่นของชายชาวตะวันตก เพื่อใช้ชีวิตคู่กับผู้หญิงไทยในประเทศไทย และผลของการย้ายถิ่นต่อ การเปลี่ยนแปลงครอบครัวไทยในชนบท กรณีศึกษาเหล่านี้บอกเล่า ประสบการณ์ทางเพศภาวะในชีวิตทางสังคมข้ามชาติ ตลอดจนการตัดสินใจ ของปัจเจกและผลของการตัดสินใจนั้นต่อชีวิตของผู้ย้ายถิ่น ปรากฏการณ์ เหล่านี้ต้องทำความเข้าใจผ่านบริบทและผลของกระบวนการโลกาภิวัตน์ใน รูปแบบเฉพาะที่ประเทศไทยเข้าไปมีส่วนร่วมและส่งผลต่อการก่อรูป ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับส่วนอื่น ๆ ของโลกในหลายทศวรรษ ที่ผ่านมา กระบวนโลกาภิวัตน์ที่เชื่อมโยงประเทศไทยเข้ากับโลกจากการเข้ามา ของทุน วัฒนธรรม และผู้คนข้ามชาติ ผ่านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวโดยมี ความเหลื่อมล้ำระหว่างเมืองกับชนบทเป็นฉากหลัง เป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อ รูปแบบและประสบการณ์การโยกย้ายข้ามชาติระหว่างประเทศไทยและ ประเทศตะวันตก