“พหุวัฒนธรรมสมดุล” : การสร้างสมรรถนะระหว่างวัฒนธรรมในกรณีแรงงานต่างชาติในประเทศไทยท่ีมีสัญชาติเมียนมา กัมพูชา และลาว
หัวหน้าโครงการ:
รองศาสตราจารย์ ดร.ขวัญจิต ศศิวงศาโรจน์
นักวิจัย:
- รองศาสตราจารย์ ดร.ขวัญจิต ศศิวงศาโรจน์
- รองศาสตราจารย์ ดร.นันทิยา ดวงภุมเมศ
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธีรพงษ์ บุญรักษา
- อ.ดร.สิรินทร พิบูลภานุวัธน์
ระยะเวลาดำเนินการ:
พฤศจิกายน 2564 – ตุลาคม 2567
ที่มาและความสำคัญ
–
วัตถุประสงค์
โครงการนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อผลิตองค์ความรู้ใหม่ในการสร้าง “สมรรถนะระหว่างวัฒนธรรม” ให้คนในสังคมไทยมีทักษะในการดำรงชีวิตสำหรับโลกศตวรรษที่ 21 ผ่านแนวคิด “พหุวัฒนธรรมสมดุล” (Balanced multiculturalism) เพื่อมุ่งยกระดับคุณภาพการอยู่ร่วมกันของคนในสังคมที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมจากการย้ายถิ่นโดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะ ดังนี้
- ขยายพรมแดนความรู้ที่เปิดเผยภาวะความหลากหลายทางวัฒนธรรม (cultural diversity) ในสังคมไทย จากการเข้ามาของผู้ย้ายถิ่นที่เป็นแรงงานต่างชาติจากประเทศเพื่อนบ้านอาเซียน ในมิติครอบคลุมภูมิหลัง ภาษา ค่านิยม ความเชื่อ และวิถีชีวิต ผ่านวิธีการ Culturagram (Congress, 1994)
- สำรวจสถานการณ์ของการอยู่ร่วมกัน (co-existence) ในสังคมระหว่างแรงงานต่างชาติกับคนไทยในท้องถิ่น ที่เผยให้เห็นแง่มุมของทัศนคติที่มีต่อกัน และความสัมพันธ์ทางสังคมทั้งในเชิงบวกและลบ (ยอมรับ เปิดโอกาส หรือปฏิเสธ ขัดแย้ง กีดกัน หวาดระแวง) ที่สะท้อนรูปแบบของการอยู่ร่วมกันแบบผสานรวม (inclusion) หรือแบ่งแยก (exclusion)
- พัฒนา “แนวทางการสร้างสมรรถนะระหว่างวัฒนธรรม” เพื่อการอยู่รวมกันอย่างสมานฉันท์ (a cohesive society) ภายใต้แนวคิด“พหุวัฒนธรรมสมดุล” ในรูปแบบของกิจกรรมและสื่อทางวัฒนธรรมเพื่อสร้างความเข้าใจ ลดความขัดแย้งและความต่างทางวัฒนธรรม เพื่อสร้างการอยู่ร่วมกันบนความหลากหลายทางวัฒนธรรมอย่างสันติสุข และเป็นการเตรียมคนในสังคมไทยให้มีทักษะการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 ที่สามารถอยู่ร่วมกับคนต่างวัฒนธรรมได้อย่างสร้างสรรค์ ในยุคที่สังคมมีความหลากหลายมากขึ้น
ผลผลิต
(อยู่ระหว่างดำเนินการ)