ผลกระทบและการปรับตัวของแรงงานและผู้ประกอบการหญิงในธุรกิจท่องเท่ียวภายใต้สถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19 กรณีศึกษา อําเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
หัวหน้าโครงการ:
นักวิจัย:
- รองศาสตราจารย์ ดร.ศิริจิต สุนันต๊ะ
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณรงค์ อาจสมิติ
ระยะเวลาดำเนินการ:
ที่มาและความสำคัญ
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมหลักของประเทศไทยที่สร้างรายได้ให้กับคนจำนวนมาก กว่าร้อยละ 20 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศมาจากธุรกิจภาคการท่องเที่ยว และกว่าร้อยละ 15 ของการจ้างงานในประเทศอยู่ในภาคการท่องเที่ยว (World Tourism and Travel Council 2014) ธุรกิจด้านการท่องเที่ยวและบริการเป็นภาคส่วนที่มีการจ้างแรงงานผู้หญิงสูง เนื่องจากเป็นงานที่ต้องการทักษะและบุคลิกภาพที่เชื่อมโยงกับความเป็นหญิง เช่น ความอ่อนโยน เอาใจใส่ มนุษยสัมพันธ์ดีและความยิ้มแย้มแจ่มใส (McDowell 2009, Pritchard et al. 2007, Sunanta 2020)
ธุรกิจการท่องเที่ยวจึงเป็นโอกาสในการสร้างอาชีพและความเป็นอิสระทางเศรษฐกิจให้กับผู้หญิง โดยผู้หญิงมีบทบาทเป็นทั้งลูกจ้างและผู้ ประกอบการธุรกิจในด้านกาท่องเที่ยวโดยเฉพาะธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก (Tucker & Boobana 2012, Trupp & Sunanta 2017) แม้จะเป็นงานที่ให้ค่าตอบแทนสูงกว่าภาคส่วนอื่นๆ เช่น ภาคการเกษตรและภาคการผลิต แต่งานในภาคการท่องเที่ยวก็มีความมั่นคงตํ่า งานในธุรกิจการท่องเที่ยวมีสัดส่วนของการจ้างงานแบบไม่เป็นทางการสูง แรงงานไม่ได้รับการคุ้มครองด้านรายได้และสวัสดิการตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ทั้งนี้ผู้หญิงมีสัดส่วนสูงในภาคการท่องเที่ยวที่ให้ค่าตอบแทนตํ่า และผู้หญิงยังเป็นส่วนสำคัญของแรงงานที่ไม่ได้รับค่าตอบแทนในธุรกิจการท่องเที่ยวแบบครอบครัว (World Tourism Organization 2021) ธุรกิจการท่องเที่ยวต้องเผชิญกับความผันผวนของรายได้ในแต่ละฤดูกาล และยังอ่อนไหวต่อผลกระทบจากปัจจัยต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกประเทศ
ในปี 2563 ภาคการท่องเที่ยวของประเทศไทยต้องเผชิญกับวิกฤติที่หนักที่สุดเท่าเคยประสบมา จากการระบาดของโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ โควิด 19 ที่ทำให้การเดินทางท่องเที่ยวหยุดชะงักลงทั้งโลก วิกฤติการณ์ที่กินระยะเวลายาวนาน ตั้งแต่ปลายปี 2562 ถึงปัจจุบัน ทำให้ผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวต้องพยายามปรับตัวเพื่อความอยู่รอด หลายธุรกิจต้องปิดกิจการชั่วคราวหรือถาวร ทำให้พนักงานจำนวนมากมีรายได้ลดลงอย่างมากหรือถูกเลิกจ้างผลกระทบที่เกิดกับภาคการท่องเที่ยวส่งผลต่อเศรษฐกิจไทยทั้งระบบเนื่องจากเศรษฐกิจไทยพึ่งพาธุรกิจการท่องเที่ยวสูง วิกฤตการณ์โรคระบาดโควิด 19 เผยให้เห็นความเปราะบางซึ่งมีอยู่แล้วของงานในภาคการท่องเที่ยว ช่วยตอกยํ้าให้เห็นปัญหาอย่างชัดเจนและรุนแรง การศึกษาผลกกระทบของการระบาดโควิด 19 จึงเป็นการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาความเปราะบางของเศรษฐกิจการท่องเที่ยวโดยรวมด้วย
วัตถุประสงค์
- เพื่อศึกษาผลกระทบของการระบาดของโรคโควิด 19 และการปรับตัวของแรงงานและผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็กด้านการท่องเที่ยวในพื้นที่ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์
- เพื่อสํารวจประสิทธิผลของมาตรการเยียวยาภาครัฐต่อแรงงานและผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็กด้านการท่องเที่ยวในพื้นที่ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์
- เพื่อเสนอแนะแนวทางในการลดผลกระทบจากสถานการณ์โควิด 19 ในระยะสั้นและระยะยาว ส่งเสริมการสร้างเครือข่ายธุรกิจ และแรงงานในภาคการท่องเที่ยว เสริมสร้างการให้ความคุ้มครองทางสังคมแก่แรงงานในภาคการท่องเที่ยว เพื่อพัฒนาธุรกิจการท่องเที่ยวในประเทศไทยให้มีความยั่งยืน เป็นภาคส่วนทางเศรษฐกิจที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชากรได้อย่างแท้จริง บนแนวทางการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ภาคเอกชน ภาครัฐ แรงงาน ภาคประชาสังคมและหน่วยงานวิชาการ
ผลผลิต
การนำเสนอผลการวิจัย
- การประชุมเชิงปฏิบัติการระดับนานาชาติ “Revisiting Tourism Culture” ณ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล วันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2565
- การประชุมวิชาการ บพค. 2565 PMU-B Brain Power Congress 2022: Future and Challenges of Frontier Research and Creative Economy toward Sustainable Development ณ อิมแพ็คอารีนา เมืองทองธานี วันที่ 29 ตุลาคม 2565
- การประชุมเชิงปฏิบัติการระดับนานาชาติ “Health and Wellbeing Tourism and International Retirement Migration to Thailand” ณ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล วันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565
- การสร้างสรรค์สารคดี เรื่อง “เบื้องหลังยิ้มสยาม” ร่วมกับบริษัทสื่อดลใจโดยการสนับสนุนจากกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สารธารณะ (กทปส.)
การสร้างความร่วมมือ
การสร้างความร่วมมือกับสถาบันวิจัยและวิชาการในพื้นที่ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ วิทยาเขตวังไกลกังวล และในระดับนานาชาติ ร่วมกับ Sociology and Human Geography Department, University of Salzburg, Austria