ASEAN University Network on Culture and the Arts
ASEAN University Network on Culture and the Arts หรือ AUN-CA เป็นเครือข่ายทางด้านวัฒนธรรมภายในกลุ่มสมาชิก เครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน (ASEAN University Network) และมหาวิทยาลัยในกลุ่มประเทศอาเซียน+3 เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร กิจกรรม และงานวิจัยทางด้านศิลปวัฒนธรรม ซึ่งมหาวิทยาลัยมหิดลเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยเครือข่าย โดยมี ดร.สกาวรุ้ง สายบุญมี อาจารย์ประจำหลักสูตรวัฒนธรรมศึกษา สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย เป็นตัวแทนมหาวิทยาลัย
ในปีนี้ทาง AUN-CA ได้จัดกิจกรรม Dialogues Research Forum และ Crosslight Learning Sessions & Arts Festival ซึ่งเปิดให้สมาชิกส่งผลงานทาง ด้านศิลปวัฒนธรรมเข้าร่วมแสดง แต่เนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของ โคโรนาไวรัส กิจกรรมทั้งหมดจะทำการเผยแพร่ออนไลน์ผ่านทางเฟซบุ๊ก ASEAN University Network on Culture and the Arts ช่องยูทูบและเว็บไซต์ของ ASEAN University Network
สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นันธิดา จันทรางศุ หลักสูตรวัฒนธรรมศึกษา ได้ส่งผลงานวิจัยเรื่อง Moken Music and Revitalization: An Analysis from Participatory Action Research to Sustain Community’s Cultural Heritage เข้าร่วมในกิจกรรม Dialogues Research Forum ซึ่งมีการเผยแพร่เมื่อเร็ว ๆ นี้ โดยผลงานวิจัยนี้กล่าวถึงการฟื้นฟู วัฒนธรรมดนตรีของกลุ่มชาติพันธุ์มอแกน งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนา ชุดความรู้วัฒนธรรมดนตรีกลุ่มชาติพันธุ์มอแกนในพื้นที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะ สุรินทร์ จังหวัดพังงา และสร้างความตระหนักในการรักษามรดกทางวัฒนธรรมดนตรี กับเยาวชนมอแกน รวมทั้งยังเสนอแนวทางการมีส่วนร่วมของภาคเครือข่าย ในการฟื้นฟู อนุรักษ์ และต่อยอดทุนทางวัฒนธรรมดนตรีมอแกนอย่างยั่งยืน
ในส่วนของกิจกรรม Crosslight Learning Sessions & Arts Festival ได้มีการแบ่งกิจกรรม Arts Festival ออกเป็นรายการ Design Art Exhibit (ด้านการออกแบบ) Film Festival (ด้านภาพยนตร์) และ Performance Showcase (ด้านการแสดง) สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย โดย ดร.สกาวรุ้ง สายบุญมี อาจารย์ประจำหลักสูตรวัฒนธรรมศึกษา และนายอนุรักษ์ ก้านจันทร์ นักวิชาการวัฒนธรรม ได้ส่งผลงานการแสดงชุด Dvaravati Sri Suvarnabhumi (Pusa ASEAN: ASEAN Textile) เข้าร่วมในรายการ Performance Showcase โดยการแสดงชุดนี้เป็นการผูกเรื่องราวผ้ามัดหมี่ที่ พบเห็นทั่วภูมิภาคอาเซียน โดยนำบทเพลงและท่ารำของระบำทวารวดีที่ ผู้เชี่ยวชาญของกรมศิลปากรแต่งขึ้นในปี พ.ศ.2510 มาใช้เพื่อเชื่อมโยงอารยธรรม ขอม-มอญกับอารยธรรมอินเดียโบราณ ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดผ้ามัดหมี่ที่เก่าแก่ แห่งหนึ่งในโลก ทั้งนี้ยังสื่อความหมายของพื้นที่มหาวิทยาลัยมหิดลและจังหวัด นครปฐม ที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นดินแดนอารยธรรมทวารวดีตามหลักฐานทาง ประวัติศาสตร์ที่ปรากฏด้วย กิจกรรมการนำเสนอผลงานวิชาการและงานสร้างสรรค์ผ่านช่องทางออนไลน์ ถือเป็นปรากฏการณ์ใหม่ที่หลาย ๆ คนคุ้นชินกันไปแล้วในช่วงสถานการณ์การแพร่ ระบาดของโคโรนาไวรัส ถึงแม้จะมีข้อเสียตรงที่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจะไม่ได้พบกันจริง แต่ก็ยังมีข้อดีตรงที่สามารถพบปะกับเพื่อนที่อยู่ต่างที่ได้ง่ายเพียงแค่ปลายนิ้ว