RILCA แอปพลิเคชันสอนภาษาไทยและอังกฤษสำหรับผู้เรียนวัยเด็กในยุคดิจิทัล

รองศาสตราจารย์ ดร.วัชรพล วิบูลยศริน
Share on :

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ดัชนีประสิทธิภาพทาง ภาษาอังกฤษที่จัดทำขึ้นโดยสถาบันการศึกษา Education First (EF) จากสหราชอาณาจักรสะท้อนให้เห็นว่า ประเทศไทยซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่ไม่ใช้ภาษาอังกฤษ เป็นภาษาหลัก มีคะแนนประสิทธิภาพอยู่ในระดับต่ำถึง ต่ำมาก (Low to Very Low) และเมื่อพิจารณาร่วมกับ ผลการประเมิน PISA 2015 โดยเฉพาะการอ่านของ นักเรียนพบว่า “ไม่ดีขึ้นนับจาก PISA 2000 เป็นต้นมา” (โครงการ PISA ประเทศไทย สถาบันส่งเสริมการสอน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2561, น.173) ผู้วิจัย ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญและความจำเป็นเร่งด่วนในการแก้ปัญหาดังกล่าว จึงได้รวมกลุ่มนักวิจัยคนอื่น ๆ ที่มี ความเชี่ยวชาญในศาสตร์ต่าง ๆ ทั้งการสอนภาษาไทย การสอนภาษาอังกฤษการแปล และเทคโนโลยี เพื่อร่วมกัน พัฒนา
แอปพลิเคชันสอนภาษาอังกฤษควบคู่ไปกับการเรียน ภาษาไทยเพื่อปูพื้นฐานทางภาษาให้กับผู้เรียนตั้งแต่ใน วัยเด็ก ด้วยความเชื่อมั่นตั้งแต่แรกที่ว่า หากผู้เรียนมีพื้นฐาน ความรู้ที่เข้มแข็งแล้วจะสามารถนำไปใช้ต่อยอดและค้นคว้า การเรียนรู้ในระดับที่สูงขึ้นต่อไปได้

แอป RILCA ได้รับการพัฒนาขึ้นตามแนวคิด การเรียนรู้แบบใช้ภาพเหตุการณ์เป็นฐาน (Scenario- Based Learning) เพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกฝนการใช้ภาษาภายใต้ สภาพแวดล้อมที่ใกล้เคียงกับชีวิตจริงและเชื่อมโยงผู้เรียน ให้สามารถใช้ภาษาได้อย่างเหมาะสมในสถานการณ์จริง ตามค่านิยมและวัฒนธรรมของสังคมไทย ผู้เรียนเรียนรู้ คำศัพท์ภาษาไทยและภาษาอังกฤษด้วยการมีปฏิสัมพันธ์ กับวัตถุต่าง ๆ ที่แสดงบนหน้าจอ ซึ่งจะมีเสียงคำอ่าน ภาษาอังกฤษ พร้อมทั้งความหมายภาษาไทย สามารถ นำไปใช้ในการสร้างประโยคลักษณะต่าง ๆ ด้วยการปรับ เปลี่ยนหรือแทนที่ด้วยคำศัพท์ใหม่ ๆ ที่ได้เรียนรู้ อันจะ ช่วยสร้างความมั่นใจในการใช้ภาษาให้กับผู้เรียนเป็นอย่างดี โดยแอปพลิเคชัน RILCA จะพร้อมให้ดาวน์โหลดบนระบบ ไอโอเอส (iOS) ภายในเดือนธันวาคม 2565 ผู้สนใจสามารถใช้งานได้ทั้งไอโฟน (iPhone) และไอแพด (iPad)

อนึ่ง คำว่า “RILCA” นี้ นอกจากจะพ้องกับชื่อย่อ ภาษาอังกฤษของสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดลแล้ว ยังมาจากการรวมกันของคำว่า “Revolution In teaching Languages and Cultures for Active learners” เพื่อสะท้อนให้เห็นว่าแอปพลิเคชัน นี้จะสร้างความเปลี่ยนแปลงในด้านการสอนภาษาและ วัฒนธรรมรูปแบบใหม่สำหรับผู้เรียนเชิงรุกที่สามารถเข้าถึง ข้อมูลความรู้และฝึกฝนทักษะทางภาษาด้วยตนเองทั้งใน ห้องเรียน โดยมีครูผู้สอนคอยกำกับดูแล และนอกชั้นเรียน โดยเรียนรู้ด้วยตนเองหรือเรียนรู้ไปพร้อมกับผู้ปกครอง ซึ่งถือเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อก้าวไปสู่ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ต่อไปอย่างยั่งยืน