RILCA Museum Application นวัตกรรมแห่งความใกล้ชิด พิพิธภัณฑ์มานุษยวิทยาวัฒนธรรม
ในวันที่พิพิธภัณฑ์มานุษยวิทยาวัฒนธรรมกลายเป็นทำเลทองทางวิชาการของสถาบันวิจัยภาษาและ วัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล อย่างไรก็ตาม อาจมีชาวสถาบันฯ บางท่านห่างเหินและยังไม่มีโอกาส ได้กลับไปเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ฯ กอปรกับมาตรการ Work form Home ของมหาวิทยาลัย ทำให้ชาวสถาบันฯ กับพิพิพิธภัณฑ์ฯ ต้องเว้นระยะห่างทางสังคม
ในวันนี้กลุ่มพันธกิจวัฒนธรรมสถานบริรักษ์ (iCulture) ขอนำเสนอ “นวัตกรรมแห่งความใกล้ชิด” แอปพลิเคชัน “RILCA Museum” อุปกรณ์ดิจิทัลชิ้นใหม่ของพิพิธภัณฑ์มานุษยวิทยา วัฒนธรรมและนิทรรศการพิเศษเคลื่อนที่วิวิธชาติพันธุ์ ที่จะเพิ่ม มิติในการเรียนรู้อย่างเพลิดเพลิน ง่ายดาย และลุ่มลึก ผ่านระบบ Augmented Reality (AR)
แอปพลิเคชันนี้เป็นผลลัพธ์ของโครงการวิจัยเสริมสร้าง ความผูกพันเพื่อการเรียนรู้เชิงปริวรรตผ่านพิพิธภัณฑ์ ที่ได้รับทุน จากรัฐบาล คณะผู้วิจัยในนาม “กลุ่มพันธกิจวัฒนธรรมสถานบริรักษ์” (iCulture) ได้พัฒนาร่วมกับคณะ ICT มหาวิทยาลัยมหิดล จัดการเรียนการสอนในลักษณะ Service Learning ใช้พิพิธภัณฑ์เป็น ชานชาลาการเรียนรู้ของนักศึกษา โดย iCulture ได้มอบทุนให้แก่ นักศึกษาคณะ ICT ชั้นปีที่ 2 เพื่อพัฒนาเว็บไซต์พิพิธภัณฑ์ และ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ทำโครงการศึกษาพัฒนาแอปพลิเคชันของ พิพิธภัณฑ์
แอปพลิเคชันต้นแบบ (Prototype) RILCA Museum ขณะนี้สามารถใช้ได้กับโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟนระบบ iOS มี Feature การใช้งานผ่าน Augmented Reality (AR) 3 รูปแบบ ได้แก่ Face Detection, Image Detection และ Object Detection
Face Detection เป็นระบบที่ใช้ในการตรวจจับใบหน้า ของผู้ใช้บริการ มีระบบ AR สร้างภาพหมวกชาติพันธุ์เสมือนจริง หลากหลายรูปแบบ
Image Detection ตรวจจับภาพนิ่งในพิพิธภัณฑ์ที่กำหนด ไว้ และนำเสนอวีดิทัศน์ในหัวข้อที่เกี่ยวข้อง
Object Detection ใช้ในการตรวจจับวัตถุจัดแสดงใน พิพิธภัณฑ์ ให้ความรู้ว่าวัตถุจัดแสดงนั้นคืออะไร มีความสำคัญ อย่างไร พร้อมเสียงบรรยาย
ขอเชิญชวนทุกท่านดาวน์โหลดแอปพลิเคชันผ่านระบบ ปฏิบัติการ iOS โดยค้นหาในชื่อ RILCA Museum และหวังว่าใน สถานการณ์โควิดและความปรกติใหม่ แอปพลิเคชั่นดังกล่าวจะช่วย สร้างความเพลิดเพลินและความใกล้ชิดระหว่างพวกเรากับพิพิธภัณฑ์ มานุษยวิทยาวัฒนธรรมและวิวิธชาติพันธุ์ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น