ทหารกับพิพิธภัณฑ์
พลอากาศตรี ไพฑูรย์ ไล้เลิศ สำเร็จการศึกษาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ จากโรงเรียนนายเรืออากาศ ในปี 2533 และศึกษาต่อศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวัฒนธรรมศึกษา (พิพิธภัณฑ์ศึกษา) จากสถาบันวิจัยภาษา และวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล ในปี 2556 ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเจ้ากรมสารบรรณทหารอากาศ ด้านการบริหาร เคยบริหารพิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศและการบินแห่งชาติตั้งแต่เป็นผู้บริหารระดับต้นจนถึงปัจจุบันเป็นเวลา 17 ปี เป็นผู้ส่งเสริมบุคลากรของพิพิธภัณฑ์ฯ ให้พัฒนาทักษะของตนเองให้พร้อมปฏิบัติหน้าที่ ทำให้พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ และการบินแห่งชาติได้รับรางวัลมาตรฐานแหล่งท่องเที่ยวประจำปี 2559, 2560 และ 2564 เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย รวมถึงการทำโครงการพัฒนาพิพิธภัณฑ์เพื่อก้าวสู่การเป็น “พิพิธภัณฑ์การบินและอวกาศแห่งชาติ” ด้วยปณิธานและ ความมุ่งมั่นในการทำงาน พลอากาศตรี ไพฑูรย์ ไล้เลิศ จึงได้รับ “รางวัลศิษย์เก่าดีเด่นประเภทบริหาร จากสมาคม ศิษย์เก่าบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล” ในปี 2562
“พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศและการบินแห่งชาติ”มีความเป็นมาและมีจุดประสงค์อย่างไรในการก่อตั้ง
พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศและการบินแห่งชาตินั้นเกิดขึ้นจากบรรพบุรุษ ทหารอากาศได้เห็นว่าการซื้อเครื่องบินที่ใช้งบประมาณของแผ่นดิน จัดหามาในกิจการบินของไทย เมื่อปลดประจำการแล้วน่าจะอนุรักษ์ ให้คนไทยในรุ่นหลังได้ศึกษาและเกิดความภาคภูมิใจ จึงได้รวบรวมและ จัดตั้งพิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศขึ้นในปี 2495 โดยมีวัตถุประสงค์ ในการรวบรวมและเก็บรักษาอากาศยาน เครื่องมือสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ อาวุธยุทโธปกรณ์ที่เคยใช้ในกองทัพอากาศ ตลอดจนบริภัณฑ์ประจำตัว นักบิน เครื่องแบบ และพัสดุอื่น ๆ รวมถึงเอกสารต่าง ๆ ที่เห็นสมควร เก็บรักษาไว้เพื่อเป็นตำนานของกองทัพอากาศ แต่เดิมตั้งอยู่ดอนเมือง โดยใช้การจัดเก็บแบบระบบคลังปิด เป็นเพียงสถานที่เก็บของเท่านั้น
ต่อมาในวันที่ 27 มีนาคม 2502 พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศเปิดให้ เข้าเยี่ยมชมอย่างเป็นทางการ ด้านหน้ากองบัญชาการกองทัพอากาศ หรือสถานที่ตั้งในปัจจุบัน เป็นระบบคลังเปิด ใช้การจัดแสดงอากาศยาน และมีป้ายคำบรรยายเพื่อบอกรายละเอียดของวัตถุพิพิธภัณฑ์นั้น ๆ และมีการพัฒนาการจัดแสดงเพิ่มขึ้นตามลำดับ โดยใช้การจัดแสดงแบบ Exhibition และเปลี่ยนชื่อเป็น พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศและ การบินแห่งชาติ ในปี 2557 ซึ่งทางเราตั้งเป้าหมายไว้ว่า ในอนาคต พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศและการบินแห่งชาติจะจัดแสดงและให้บริการ แบบ “Discovery” คือ ร่วมค้นหาหรือค้นพบ พิพิธภัณฑ์จึงต้องเป็น มากกว่าการบอกเล่า คือต้องอ้างอิงได้ (Information Base)
ถ้าเราศึกษาบทบาทหน้าที่ของพิพิธภัณฑ์ในระดับสากล จะพบว่า พิพิธภัณฑ์นั้นทำหน้าที่มากกว่าการเก็บของเก่า ซึ่งในประเทศไทย ควรใช้จุดเด่นของพิพิธภัณฑ์ที่มีอยู่มากกว่า 4,000 แห่งทั่วประเทศ เป็น Soft Power ในการกระตุ้นเศรษฐกิจ ดึงดูดทรัพยากร และสร้างคน เป็นต้น ซึ่งผมได้จัดทำวิจัยเรื่อง “แนวทางการส่งเสริม พิพิธภัณฑ์ของประเทศไทยให้เป็นพลังอำนาจแห่งชาติ” พบว่า พิพิธภัณฑ์สามารถตอบสนองต่อพลังอำนาจแห่งชาติได้ทั้ง 5 ด้าน ประกอบด้วยด้านการทหาร ยกตัวอย่างเช่น การที่กองทัพอากาศ เวียดนามมอบเครื่องบินขับไล่สกัดกั้นความเร็วเหนือเสียงให้แก่ กองทัพอากาศไทยได้จัดแสดง เป็นการสร้างความเป็นมิตรและ ลดความหวาดระแวงต่อกัน หยุดความขัดแย้งในอดีต ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สามารถสร้างฐานความรู้ด้านการบินและอวกาศผ่าน พิพิธภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง ด้านการเมือง มีพิพิธภัณฑ์ที่พูดเรื่องการเมือง โดยตรง ซึ่งพิพิธภัณฑ์ควรต้องทำหน้าที่ระงับความขัดแย้งได้ โดยทำให้ เรื่องราวที่เกิดขึ้นมีความชัดเจน ตรงไปตรงมา บอกที่มาที่ไป ข้อดี ข้อเสีย และบอกบทเรียนของเหตุการณ์นั้น ๆ ได้ นอกจากนี้ยังมี ด้านสังคมวัฒนธรรมและด้านเศรษฐกิจอีกด้วย ซึ่งเราควรใช้ประโยชน์ จากพิพิธภัณฑ์ที่เป็นแหล่งเรียนรู้ของชาติเพื่อตอบสนองผลให้กับ ประเทศชาติของเราได้ในทุกมิติ
ความรู้ในศาสตร์ด้านพิพิธภัณฑ์ที่ได้รับจาก ม.มหิดล ช่วยส่งเสริมการบริหารงานพิพิธภัณฑ์ฯ ที่ท่านรับผิดชอบ อย่างไรบ้าง
มีประโยชน์มากครับ นอกจากผมจะได้ความรู้แล้ว ยังสามารถนำ วิชาการต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้ในพิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศและการบิน แห่งชาติได้อีกด้วย ได้รับความเชื่อมั่นจากผู้ร่วมงาน ผู้ปฏิบัติงานเป็น อย่างดี และสามารถสอบทานกับบริษัทที่เข้ามาเกี่ยวข้องในการทำงาน และแก้ไขให้ถูกต้องตามหลักการปฏิบัติ ซึ่งส่งผลให้การปฏิบัติงาน และผลงานที่ออกมานั้นเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
กระบวนการเรียนรู้ของผมมี 4 Step คือ ขั้นที่ 1 คือ เรียนรู้ ขั้นที่ 2 เข้าใจ ขั้นที่ 3 ตระหนักว่า และขั้นที่ 4 คือ การพัฒนา คือ เมื่อเรียนรู้ เข้าใจ ตระหนักแล้วคือการลงมือใช้งาน เมื่อใช้งานจะพบข้อบกพร่อง และพัฒนาได้ นี่จึงเป็นความหมายของคำว่าการเรียนรู้ที่สมบูรณ์ที่สุด สามารถนำไปเป็นพื้นฐานในการปฏิบัติงานได้เป็นอย่างดี กระบวนการเรียนรู้ของผมมี 4 Step คือ ขั้นที่ 1 คือ เรียนรู้ ขั้นที่ 2 เข้าใจ ขั้นที่ 3 ตระหนักว่า และขั้นที่ 4 คือ การพัฒนา คือ เมื่อเรียนรู้ เข้าใจ ตระหนักแล้วคือการลงมือใช้งาน เมื่อใช้งานจะพบข้อบกพร่อง และพัฒนาได้ นี่จึงเป็นความหมายของคำว่าการเรียนรู้ที่สมบูรณ์ที่สุด สามารถนำไปเป็นพื้นฐานในการปฏิบัติงานได้เป็นอย่างดี
การเรียนในสาขาพิพิธภัณฑ์จึงเป็นการนำทฤษฎีหลายเรื่องมารวมกัน ซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้หลายเรื่อง เป็นหลักสูตรสังคมศึกษาที่ตอบคำถามได้หลากหลาย ไม่ตายตัวเหมือนด้าน วิทยาศาสตร์ที่เรียนมา เพราะช่วยตีกรอบความคิดให้กระจัดกระจาย ไปสร้างกรอบใหม่ ๆ ซึ่งนำมาสู่แนวคิดในการทำงานได้เป็นอย่างดี โดยปัจจุบันได้นำมาประยุกต์ใช้กับแนวทางการพัฒนาของกองทัพ อากาศที่มุ่งสู่การเป็น Smart Airforce โดยเราได้กำหนดไว้ว่า เราจะต้องเป็น “Smart Museum” ประกอบด้วย Smart People, Smart Equipment, Smart System & Environment และ Smart Output & Outcome
ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา ส่งผลกระทบ ต่อการดำเนินงานของพิพิธภัณฑ์อย่างไรบ้าง
ความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา แต่ที่เห็นเด่นชัดเลยคือ กรณี COVID-19 ที่ส่งผลกระทบหลายด้าน เช่น ในแง่ของผู้เข้าชม สิ่งที่ กระทบอย่างแรกเลยคือ คนไม่อยากเดินทาง ไม่อยากเข้ารวมกลุ่ม ผู้คน อยู่ในโลกออนไลน์มากขึ้น เราจึงต้องกลับมาทบทวนบทบาทหน้าที่ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของโลก ไม่ว่าจะเป็นการคิด การบริหาร การจัดแสดง และการบริการ พิพิธภัณฑ์จึงต้องเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ อ้างอิงและเชื่อถือได้
ทางพิพิธภัณฑ์ฯ มีการส่งเสริมและกระตุ้นให้ผู้ชม เกิดการเรียนรู้จากการได้เข้าชมพิพิธภัณฑ์ด้วยวิธีการใด เพื่อให้ประชาชนสนใจเข้าชมอย่างต่อเนื่อง และเพิ่มมากขึ้น
เราชี้แจงข้อเท็จจริงว่าประชาชนคือเจ้าของพิพิธภัณฑ์และเราคือ ผู้ดูแลเพื่อให้เกิดความตระหนักและมีส่วนร่วม ต่อมาคือ “การหาลูกค้า ประจำ” ลูกค้าของพิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศและการบินแห่งชาติ ส่วนใหญ่เป็นนักเรียน ครูคือผู้ตัดสินใจในการกลับมาชม ดังนั้น เราจึงให้ความสำคัญกับครูด้วยการ Service ขอช่องทางติดต่อไว้ เพื่อให้บอกต่อและกลับมาชมพิพิธภัณฑ์ เป็นการผูกขาดระหว่าง โรงเรียนกับพิพิธภัณฑ์ ส่วนลำดับสุดท้ายคือ เปลี่ยนบทบาทให้ลูกค้า เป็นเจ้าของการทำ Volunteer จึงสำคัญอย่างมาก เพราะการมี สิทธิพิเศษหรือการได้รับเอกสิทธิ์ที่ไม่ใช่ใครก็ได้จะได้รับ เป็นวิธีผูกใจ ลูกค้าอีกวิธีหนึ่ง
อยากบอกอะไรกับคนที่ทำงานสายพิพิธภัณฑ์และผู้ที่จะมาชมพิพิธภัณฑ์
หากจะทำงานสายพิพิธภัณฑ์ ต้องถามใจตัวเองก่อนว่ารักในธรรมชาติ ของพิพิธภัณฑ์หรือไม่ รักการท่องเที่ยวเดินทางไปยังอดีตและอนาคต หรือไม่ เพราะงานพิพิธภัณฑ์ฯ เป็นขุมทรัพย์ของชาติที่ใช้ศิลปะและ ศาสตร์ทุกแขนงมารวมไว้ด้วยกัน การทำงานจึงต้องเป็นคนที่รักใน สิ่งที่ทำ ต้องไม่ถูกบังคับ เป็นการทำงานที่ทุกคนทำได้เพราะไม่มีใคร เก่งทุกเรื่อง เช่น เราอาจชอบดนตรี แต่ไม่ได้มีความสามารถถึงกับ เป็นนักดนตรีหรือศิลปินเดี่ยวได้ แต่เราก็สามารถนำดนตรีมาพัฒนา ในด้านอื่น ๆ นี่คือสิ่งที่พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศและการบินแห่งชาติทำและทำได้โดยที่ไม่มีที่สิ้นสุด เป็น “Open You Dream” ซึ่งพี่ทำงานนี้ด้วยความสุขเพราะเป็นศาสตร์ที่ไม่สิ้นสุด และมีความสนุกที่ได้ทำ
ต่อมาอยากบอกอะไรกับผู้ที่จะมาชมพิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศและการบินแห่งชาติเป็นสมบัติของมวลมนุษยชาติ จึงอยากให้ทุกคนที่ยังไม่เคยมาชม ได้มารับรู้ รับทราบ มาใช้งาน แล้วช่วยกันรักษาเพื่ออนาคตของพวกเรา เพื่ออนาคต ภายหน้าของชาติ เพราะในทุกที่มีเรื่องราวที่น่าสนใจที่เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ อยากให้ได้รู้จักจะได้รักษา จะได้ใช้งานได้เต็มที่ อยากให้มาดูสมบัติของตัวเองกันบ้าง
ทำไมคนถึงต้องมาเรียนพิพิธภัณฑ์ศึกษา เพราะอะไร ประเทศไทยมีพิพิธภัณฑ์กว่า 4 พันแห่งหรือไม่ต่ำกว่า 1 ใน 7 ของโลก แต่เรายังขาดบุคลากรด้านนี้ ซึ่งการทำงาน พิพิธภัณฑ์เป็นงานที่สนุก แต่เราจำเป็นต้องรู้ให้รอบ ต้องมีหลักการที่เชื่อถือได้ เราจะใช้ขุมสมบัติของชาติอย่างไรให้เกิด ประโยชน์สูงสุด เพราะการไม่ใช้ก็สูญสลายไป ใช้ผิดวิธีก็ยิ่งสูญสลายไปไว จึงอยากเชิญคนที่เป็นนักฝัน นักปฏิบัติ นักคิด มาเปิดใจ แล้วจะพบสิ่งที่อยู่รอบตัวเรา ประวัติศาสตร์บ้านเรามีอะไรดีบ้าง แล้วจะเชื่อมต่อกับโลกอย่างไร เราจะ เป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนบ้านเราอย่างไร ซึ่งเราจำเป็นต้องเรียนรู้ในหลักสูตรที่มีการบูรณาการ เป็นการประยุกต์ ใช้ความรู้ ส่งผลให้เกิดเครื่องมือในการทำความฝันของพิพิธภัณฑ์ให้เป็นจริง