หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาและการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม

หน้าแรก > การศึกษา > หลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา > ปริญญาเอก ภาษาและการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม

ชื่อหลักสูตร : หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาและการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม


คำอธิบายหลักสูตร


ปรัชญาของหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาและการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม คือ “การสร้างดุษฎีบัณฑิตที่มีความตระหนักรู้อย่างลึกซึ้งในด้านภาษาและการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม มีความสามารถในการสร้างองค์ความรู้ใหม่ หรือนำเสนอทางเลือกใหม่ โดยบูรณาการและประยุกต์ความรู้ด้านการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมร่วมกับศาสตร์อื่น ๆ ในสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์เพื่อนำไปสู่การพัฒนาสังคมในศตวรรษที่ 21 ให้มีความเข้มแข็ง มีดุลภาพ ลดความเหลี่ยมล้ำ ลดความขัดแย้ง และเกิดสันติสุขอย่างยั่งยืน” อันจะเป็นที่ประจักษ์ว่าดุษฎีบัณฑิตเป็นที่พึ่งหลักของสังคมและเป็น “ปัญญาของแผ่นดิน” ตามปณิธานของมหาวิทยาลัยมหิดลได้สมบูรณ์โดยแท้จริง

ความโดดเด่นของหลักสูตร
  • สร้างผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลงด้วยการประยุกต์และบูรณาการทฤษฎีและทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์และสังเคราะห์เพื่อการวิจัยขั้นสูงแบบพหุศาสตร์และข้ามศาสตร์ด้านภาษาและการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม โดยสร้างผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนานโยบาย เศรษฐกิจ และสังคมเพื่อการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของมวลมนุษยชาติท่ามกลางสังคมที่มีความผันผวนและความหลากหลายทางภาษาและวัฒนธรรม

ค่าใช้จ่ายในการศึกษา (เหมาจ่าย)

ชำระต่อภาคการศึกษา (บาท)


ภาคปกติ : 50,000 บาท ต่อภาคการศึกษา

ภาคพิเศษ : 70,000 บาท ต่อภาคการศึกษา

หมายเหตุ : จัดเก็บค่าใช้จ่ายในอัตราเดียวกันทุกแผนการศึกษา ทั้งนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างประเทศ

ค่าใช้จ่ายรวมตลอดหลักสูตร

ภาคปกติ
แผน 1.1: 300,000 บาท (3 ปีการศึกษา)
แผน 2.1: 300,000 บาท (3 ปีการศึกษา)
ภาคพิเศษ
แผน 1.1: 420,000 บาท (3 ปีการศึกษา)
แผน 2.1: 420,000 บาท (3 ปีการศึกษา)

อาชีพที่เกี่ยวข้อง


ผู้สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาและการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม เป็นผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านภาษาและการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม สามารถบูรณาการความรู้เพื่อทำความเข้าใจปรากฏการณ์ทางสังคมและวัฒนธรรม และสามารถสร้างองค์ความรู้จากการวิจัยในระดับปริญญาเอก ทำให้สามารถประกอบอาชีพได้อย่างกว้างขวางทั้งในภาครัฐและเอกชน ดังเช่น

  1. ที่ปรึกษานโยบายด้านภาษาและการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม
  2. นักวิชาการด้านภาษาและการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม
  3. นักวิจัยด้านภาษาและการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม

โครงสร้างหลักสูตร (ภาคปกติและภาคพิเศษ)


ชั้นปีที่แบบ 1.1แบบ 2.1
1ภาคเรียนที่ 1ภาคเรียนที่ 1
วภสว 898 วิทยานิพนธ์วภสว 701 กระบวนทัศน์และทฤษฎีด้านภาษาและการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม
วภสว 702 ระเบียบวิธีวิจัยขั้นสูง
วภสว 703 สัมมนาภาษาและการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม
ภาคเรียนที่ 2ภาคเรียนที่ 2
วภสว 898 วิทยานิพนธ์วิชาเลือก 3 หน่วยกิต
วภสว 699 วิทยานิพนธ์
สอบวัดคุณสมบัติสอบวัดคุณสมบัติ
2ภาคเรียนที่ 1ภาคเรียนที่ 1
วภสว 898 วิทยานิพนธ์วภสว 699 วิทยานิพนธ์
ภาคเรียนที่ 2ภาคเรียนที่ 2
วภสว 898 วิทยานิพนธ์วภสว 699 วิทยานิพนธ์
3ภาคเรียนที่ 1ภาคเรียนที่ 1
วภสว 898 วิทยานิพนธ์วภสว 699 วิทยานิพนธ์
ภาคเรียนที่ 2ภาคเรียนที่ 2
วภสว 898 วิทยานิพนธ์วภสว 699 วิทยานิพนธ์

การสมัคร


การรับเข้าศึกษา

รับทั้งนักศึกษาไทย นักศึกษาต่างชาติที่มีคุณสมบัติเป็นไปตามแนวปฏิบัติฯ ของบัณฑิตวิทยาลัย

ช่วงเวลาการเปิดรับสมัคร

ประกาศรับสมัครและกำหนดการ

เกณฑ์การสมัคร

  1. IELTS 3.0
  2. TOEFL-iBT 32
  3. MU GRAD PLUS (MU GRAD TEST + SPEAKING) 40
  4. MU GRAD TEST 40

*ต้องมี ผลคะแนนภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ขั้นต่ำที่รับเข้าศึกษาจึงจะสมัครได้ (กรณีไม่มีผลคะแนน / มีผลคะแนนไม่ถึงเกณฑ์ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของหลักสูตร)
**นักศึกษาต่างชาติที่เข้าเรียนหลักสูตรภาษาไทยต้องมีผลสอบภาษาไทยตามเกณฑ์ที่บัณฑิตวิทยาลัยกำหนด

แบบ 1.1 (ทำวิทยานิพนธ์)แบบ 1.2 (ศึกษารายวิชาและทำวิทยานิพนธ์)
  1. สำเร็จการศึกษาหลักสูตรปริญญาโททุกสาขาจากสถาบันอุดมศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง
  2. ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ากว่า 3.50
  3. มีผลคะแนนภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย
  4. กรณีผู้สมัครชาวต่างชาติ ต้องมีคุณสมบัติเป็นไปตามแนวปฏิบัติมาตรฐานความรู้ภาษาไทยขั้นต่ำสำหรับชาวต่างชาติที่มาศึกษาต่อในหลักสูตรภาษาไทยระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
  5. มีประสบการณ์การทำวิจัยด้านการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม ไม่น้อยกว่า 2 ปี และมีผลงานวิชาการที่ตีพิมพ์เผยแพร่อย่างน้อย 1 เรื่อง ในวารสารทางวิชาการระดับชาติหรือนานาชาติ ตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ และเป็นผู้ประพันธ์อันดับแรก (First author) หรือผู้ประพันธ์บรรณกิจ (Corresponding author)
  6. ผู้ที่มีคุณสมบัติต่างจากที่กำหนดไว้ใน ข้อ 2 – 4 อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษา ตามดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
  1. สำเร็จการศึกษาหลักสูตรปริญญาโททุกสาขาจากสถาบันอุดมศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง
  2. ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.50
  3. มีผลคะแนนภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย
  4. กรณีผู้สมัครชาวต่างชาติ ต้องมีคุณสมบัติเป็นไปตามแนวปฏิบัติมาตรฐานความรู้ภาษาไทยขั้นต่ำสำหรับชาวต่างชาติที่มาศึกษาต่อในหลักสูตรภาษาไทยระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
  5. ผู้ที่มีคุณสมบัติต่างจากที่กำหนดไว้ในข้อ 2 – 4 อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษา ตามดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

เอกสารที่ใช้สมัคร

  1. รูปถ่าย
  2. สำเนาปริญญาบัตร / หนังสือรับรองการเป็นนักศึกษา
  3. สำเนา Transcript / Grade Report ฉบับภาษาอังกฤษ
  4. สำเนาบัตรประชาชน
  5. สำเนาทะเบียนบ้าน
  6. หลักฐานแสดงการดำเนินการขอเอกสาร หรือหลักฐานแสดงการดำเนินการจัดส่ง บันทึกผลการศึกษาตลอดหลักสูตร (Transcript) ฉบับภาษาอังกฤษ และกรณีสำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศ เพิ่มเติมเอกสารหนังสือรับรองการเทียบคุณวุฒิการศึกษาฯ
  7. Statement of Purpose  
  8. โครงร่างวิจัย (Research proposal)  
  9. ผลงาน / รางวัลทางวิชาการ   (ถ้ามี)
  10. บทความตีพิมพ์ในวารสาร   (ถ้ามี)

ข้อมูลติดต่อ


ประธานหลักสูตร (Program Director)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อธิป ธรรมวิจิตร
Email : athip.thu@mahidol.ac.th