โมเดลงานสาธารณศิลป์เพื่อเยียวยาชุมชนในสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 “อยู่เย็นเป็นสุข ณ ศาลายา”
แม้สถานการณ์ของการติดเชื้อโรคระบาดโควิด 19 จะดีขึ้น แต่ก็มีแนวโน้มความไม่แน่นอนสูง กลุ่มนักวิจัยสาธารณศิลป์ นำโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นันธิดา จันทรางศุ สถาบันวิจัย ภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล, ดร.วิจิตร อภิชาตเกรียงไกร, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภาวิณี บุญเสริม, ดร.สกาวรุ้ง สายบุญมี และ ดร.สุรสีห์ ชานกสกุล ร่วมกับภาคีเครือ ข่ายศิลปิน เครือข่ายนักวิชาการสาขาศิลปกรรม ตลอดจนภาครัฐ ชุมชน และภาคีศิลปิน ดำเนินโครงการวิจัยสาธารณศิลป์ : การสร้างสรรค์ศิลปกรรมเพื่อวิถีความเหมาะสมใหม่ในการขับเคลื่อน สังคมวัฒนธรรมหลังสถานการณ์ระบาดของโควิด 19 ซึ่งได้รับ การสนับสนุนจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลัง คนและทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาการวิจัยและการสร้าง นวัตกรรม (บพค.) สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) โครงการฯ มุ่งศึกษาผลกระทบและค้นหาโครงสร้างใหม่ของการสร้างสรรค์ ศิลปกรรมเพื่อรองรับบริบทสังคมวัฒนธรรมหลังโรคระบาดโควิด 19 โดยหาวิธีสร้างสรรค์ “ศิลปกรรมที่มีสุนทรียภาพและมีความเหมาะสมใหม่” ที่จะนำไปสู่การปลอบประโลมใจและสร้าง กำลังใจที่จะอยู่ร่วมกันอย่างมีความหวังหลังโรคระบาดผ่านไป
การสำรวจผลกระทบจากการระบาดของโควิด 19 ต่อ “ความสุขและความทุกข์” ของคนไทย พบว่า ด้านความทุกข์ ได้แก่ การดำเนินชีวิต ด้านการมีส่วนร่วมกับชุมชนและสังคม ด้าน สุขภาพจิต ด้านความสัมพันธ์ โดยเฉพาะความกังวลเกี่ยวกับ สถานการณ์โควิด การกลัวการติดเชื้อ ความวิตกกังวลกับ สถานการณ์ในระยะยาว เป็นห่วงครอบครัว และในเรื่องของ การดำเนินชีวิตที่ยังไม่กลับมาเป็นปกติ ทำให้ไม่สามารถใช้ชีวิต อย่างปกติได้ และด้านเศรษฐกิจมากที่สุด โดยส่วนใหญ่จะพูดถึง การขาดรายได้ รายได้รวมของครอบครัวที่ลดลง การตกงาน และ ค่าครองชีพที่สูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ความสุขที่เกิดขึ้นในช่วง สถานการณ์ของโรคระบาดนี้ก็ยังมีอยู่ เช่น การได้ใช้เวลาอยู่กับ ครอบครัวมากขึ้น การมีเวลาพักผ่อนมากขึ้นจากการไม่ต้องเดินทาง และได้ทำกิจกรรมที่ตนเองสนใจมากยิ่งขึ้น
จากข้อมูลดังกล่าว โครงการฯ นำมาซึ่งการพัฒนาโมเดล งานสาธารณศิลป์เพื่อเยียวยาชุมชนโดยเริ่มทำงานในพื้นที่ตำบล ศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม เป็นพื้นที่ทดลองปฏิบัติการครั้งแรก โดยการสร้างสรรค์งานสาธารณศิลป์ (Art for Public) บนฐานคิดสำคัญ ได้แก่ “เก็บ” คือ อนุรักษ์ทุนทางวัฒนธรรมชุมชน “ทิ้ง” คือ ทิ้งสิ่งที่ไม่เหมาะสมบางอย่าง “สร้าง” คือ รื้อและ สร้างใหม่อย่างสร้างสรรค์ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนและนักวิชาการภายนอก ผ่านงานดนตรี การแสดง ทัศนศิลป์ และประติมากรรม เพื่อนำไปสู่การสร้างพื้นที่สาธารณะในการเยียวยาและการสร้างสรรค์สังคมในภาวะวิกฤตโรคระบาด ซึ่งสามารถ ปรับเปลี่ยนได้ตามบริบทของพื้นที่อื่น ๆ ได้ในอนาคต ทางโครงการฯ เลือกศาลายา จากประวัติศาสตร์ศาลายาที่เก็บยาเปลี่ยนให้ เป็นศาลายาใจ กำหนดจัดงาน “อยู่เย็นเป็นสุข ณ ศาลายา” เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2565 ณ วัดสุวรรณาราม ศาลายา โดยมีกิจกรรมต่าง ๆ มากมาย เช่น MAKE PAINT FROM PLANT ตกแต่งขวดสเปรย์แอลกอฮอล์แฟนตาซี ปั้นแหวนแทนใจ ขนมพื้นถิ่นไทย-เพื่อนบ้านอาเซียน อาหาร – ขนมหวาน ศาลายา หมู่ 1 เป็นต้น รวมทั้งมีมหรสพรื่นเริงทั้งทุนทางวัฒนธรรมของพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นเพลงแหล่ เพลงเรือ ลิเก ละครชาตรี แตรวง เป็นต้น รวมทั้งเครือข่ายศิลปินจากภายนอกชุมชน ซึ่งในวันนั้นทางโครงการฯ ได้ทำการเปิดตัวต้นกัลปพฤกษ์ ในความหมายของ “Wishing Tree” ที่เกิดจากการบูรณาการศิลปกรรมหลายแขนงเข้าด้วยกัน โดยหวังว่ากิจกรรมดังกล่าวจะนำมาสู่ “การเยียวยาจิตใจและเปิดพื้นที่แห่งความสุข” ให้กับคนในศาลายาผ่านกิจกรรมดังกล่าว