การเรียนการสอนภาษาในยุคนิวนอร์มัล
จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 ส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทุกด้าน ในด้านการศึกษา ผู้เรียนกับผู้สอนจำเป็นต้องปรับตัว อย่างเร่งด่วนเพื่อรับมือกับสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่ แตกต่างออกไปจากเดิม ด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ จนการใช้เทคโนโลยีกลายเป็นส่วนหนึ่ง ของชีวิตปรกติของทุกคนไปโดยปริยาย
รองศาสตราจารย์ ดร.วัชรพล วิบูลยศริน อาจารย์ประจำ หลักสูตรภาษาและการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม (วิชาเอกการสอน ภาษา) สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย จึงดำเนินโครงการวิจัย เรื่อง “สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ภาษาเสมือนจริงแบบใช้ภาระงาน เป็นฐานเพื่อพัฒนามาตรฐานความรู้ด้านภาษาและเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อการศึกษาสำหรับนักศึกษาครู” เพื่อเตรียมความพร้อมให้ นักศึกษาในคณะครุศาสตร์และศึกษาศาสตร์ ซึ่งกำลังจะเป็น บุคลากรทางการศึกษา ได้มีทักษะสำคัญ 3 ด้าน ได้แก่ การใช้ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และเทคโนโลยีดิจิทัล สำหรับใช้ในการจัด การเรียนการสอนให้กับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 โดยนักศึกษาจะ เข้าศึกษาเนื้อหาด้วยตนเองและปฏิบัติภาระงานต่าง ๆ ตามขั้นตอน ที่กำหนดไว้เป็นเวลา 12 สัปดาห์ ร่วมกับเพื่อน ๆ ต่างมหาวิทยาลัย ได้ทุกที่ทุกเวลาผ่านการใช้งานแอปพลิเคชัน Talent LMS จาก อุปกรณ์เคลื่อนที่ของตน ไม่ว่าจะเป็นแท็บเล็ตหรือสมาร์ตโฟน งานวิจัยดังกล่าวยังได้รับทุนสนับสนุนจากกองทุนพัฒนา เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
นอกจากการพัฒนาทักษะทางภาษาและเทคโนโลยีให้กับ (ว่าที่) ผู้สอนแล้ว ผู้เรียนก็ควรได้รับการพัฒนาทักษะดังกล่าว ด้วยเช่นกัน มหาวิทยาลัยมหิดลได้เล็งเห็นถึงความสำคัญและ ความจำเป็น จึงสนับสนุนทุนอุดหนุนการวิจัยเรื่อง “การวิจัยและ พัฒนาโปรแกรมประยุกต์การเรียนรู้บนอุปกรณ์เคลื่อนที่แบบใช้ ภาพเหตุการณ์ เป็นฐานเพื่อพัฒนาสมิทธิภาพทวิภาษาสำหรับ ผู้เรียนวัยเด็กยุคดิจิทัล” หรือแอปพลิเคชันการสอนภาษาสำหรับ เด็กประถมศึกษา ด้วยแนวคิดที่ว่า ผู้เรียนวัยเด็กควรได้รับการพัฒนา ความสามารถทางภาษาไทยและภาษาอังกฤษพร้อมกันผ่าน สถานการณ์แบบแอนิเมชันที่สามารถควบคุมได้เอง โดยใช้แท็บเล็ต เป็นเครื่องมือสำคัญของการจัดการเรียนรู้ภาษาได้อย่างครบทุก ทักษะ ไม่ว่าจะเป็นการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน ที่สำคัญ แอปพลิเคชันดังกล่าวยังเป็นสื่อการเรียนรู้สำคัญให้กับผู้สอน ทั่วประเทศสามารถดาวน์โหลดได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายบนระบบ ปฏิบัติการไอโอเอส (iOS) เพื่อนำไปใช้พัฒนาทวิภาษาของผู้เรียน วัยเด็กของตนให้เข้มแข็งและสามารถต่อยอดความรู้นอกชั้นเรียน ด้วยตนเองต่อไปได้
การดำเนินโครงการวิจัยทั้งสองเรื่องนับเป็นการพัฒนาวงการ การศึกษาอย่างมีคุณภาพและเท่าเทียมกัน เพื่อให้ผู้สอนและผู้เรียน ได้เตรียมความพร้อมสำหรับการศึกษาหรือการประกอบวิชาชีพของตน เพราะบุคคลทั้งสองกลุ่มที่แตกต่างกันนี้ต่างก็เป็นหัวใจหลักของ การศึกษาและถือเป็นกำลังสำคัญของการพัฒนาประเทศให้เจริญ ก้าวหน้า ซึ่งจะยังให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมไทยต่อไปอีกนานัปการ