คุณครู OTOP จาก Researcher สู่ Entrepreneur

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พธู คูศรีพิทักษ์ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชิตชยางค์ ยมาภัย
Share on :

Publish or Perish เป็นคำพังเพยที่คอยเตือนใจให้อาจารย์หรือนักวิจัยในมหาวิทยาลัยขยันทำผลงานวิชาการ อย่างสม่ำเสมอ ทั้งเพื่อความก้าวหน้าในหน้าที่การงานของตนเองและการขยายพรมแดนความรู้ให้กว้างขวางยิ่ง ๆ ขึ้นไป หากพูดอย่างติดตลก ก็อาจกล่าวได้ว่า พวกเราต้องเป็นคุณครู “OTOP” (one teacher one publication) ต่อปี

ในปัจจุบันการเป็นมหาวิทยาลัยระดับโลกที่แท้จริงนั้น ลำพังการทำงานวิชาการและการตีพิมพ์ผลงานอาจไม่เพียงพอแล้ว แต่มหาวิทยาลัยต้องแสดงให้ปรากฏชัดว่าสามารถนำความรู้ไปใช้ เพื่อประโยชน์สุขอย่างแท้จริง มหาวิทยาลัยต้องแสดงให้เห็นว่า นอกจากผลงานวิชาการแล้ว ยังมีผลผลิตหรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่จะช่วยแก้ไขปัญหาในโลกแห่งชีวิตจริงให้แก่ประชาชนได้อย่าง แท้จริง โดยนัยดังกล่าว คุณครู OTOP จึงหมายถึง “One Teacher One Product” ที่จะช่วยหานวัตกรรมหรือผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่าและ มูลค่า ใช้ประโยชน์ตอบโจทย์ชีวิตของคนได้อย่างแท้จริง

โครงการบ่มเพาะจากนักวิจัยสู่ผู้ประกอบการของ สถาบันเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNt) มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ตระหนักถึงประเด็นดังกล่าวข้างต้น จึงได้ให้ทุนสนับสนุนนักวิจัย ได้เพิ่มพูนทักษะ ขยายสมรรถนะการทำงานจากนักวิจัย ให้มีความเป็นผู้ประกอบการด้วย (From Researcher to Entrepreneur) ทีม iFood ประกอบด้วยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พธู คูศรีพิทักษ์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชิตชยางค์ ยมาภัย, นางสาว ธีรวรรณ มิ่งบัวหลวง และนักศึกษาชาวจีน Huang Peijue และ Li Haixia ได้มีโอกาสเข้าร่วมโครงการดังกล่าวนี้ ในนามทีม iFood

ผลิตภัณฑ์ที่เราพัฒนาขึ้นได้แก่ “ตะพอเพาะพร้อมรับ ประทาน” ตะพอเพาะเป็นอาหารประจำชาติของกลุ่มชาติพันธุ์ กะเหรี่ยง ปกากะญอ ตะพอเพาะหรือแกงข้าวเบือมีส่วนผสม ของข้าวดอย ผักพื้นถิ่นตามฤดูกาล อาจใส่เนื้อสัตว์เพิ่มเติมได้ เช่น ไก่ หรือ หมู นับเป็นอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ และเป็น อาหารที่เป็นมิตรกับธรรมชาติแวดล้อม แต่ใช้เวลาในการทำ ค่อนข้างนาน และใช้วัตถุดิบจากพื้นถิ่น ตะพอเพาะพร้อมรับประทาน จึงเป็นผลิตภัณฑ์ที่เรามุ่งพัฒนาเพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมอาหาร ชาติพันธุ์ ให้มีอาหารชาติพันธุ์ที่สามารถทานได้ทุกที่ ทุกเวลา

ทีม iFood มุ่งขยายผลไปยังกลุ่มผู้บริโภคขนาดใหญ่ขึ้น ได้แก่ กลุ่มคนรักสุขภาพ รักความหลากหลายทางวัฒนธรรม และอยากช่วยเหลือสนับสนุนกลุ่มชาติพันธุ์

กระบวนการวิจัยดำเนินงานด้วยการออกแบบร่วมกัน การจัดประกวดสูตรตะพอเพาะที่อร่อยที่สุดในหมู่บ้านอีโคมิวเซียม ดอยสี่ธาร ที่อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ การแกะสูตร การทดลอง ทำ จัดชิมกับกลุ่มเป้าหมาย การทดสอบในการชิมกับกลุ่มตลาด ที่ใหญ่ขึ้น จนได้รสชาติที่เหมาะสม นำไปสู่กระบวนการผลิต การสร้างแบรนด์ การทำการตลาด และสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ ต้นแบบเพื่อแจกจ่ายให้ทดลองชิมในวงกว้างต่อไป ท้ายสุด เรามุ่งหวังที่จะสามารถจดทะเบียนบริษัทเป็น วิสาหกิจเพื่อสังคมหรือ Social Enterprise ในการทำธุรกิจที่ ปันผลกำไรกลับไปเพื่อประโยชน์สุขสู่ชุมชน ส่งเสริมเศรษฐกิจ หมุนเวียนสีเขียวฐานราก เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน สอดคล้อง เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนข้อ 2 ยุติความหิวโหย บรรลุความมั่นคง ทางอาหารและยกระดับโภชนาการและส่งเสริมเกษตรกรรมยั่งยืน และ 3 สร้างหลักประกันว่าคนมีชีวิตที่มีสุขภาพดีและส่งเสริม ความเป็นอยู่ที่ดีสำหรับทุกคนในทุกวัย