สาธารณศิลป์: การสร้างสรรค์ศิลปกรรมเพื่อวิถีความเหมาะสมใหม่ในการขับเคลื่อนสังคมวัฒนธรรมหลังสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19
หัวหน้าโครงการ:
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นันธิดา จันทรางศุ
นักวิจัย:
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นันธิดา จันทรางศุ
- อ.ดร.สกาวรุ้ง สายบุญมี
- ดร.วิจิตร อภิชาติเกรียงไกร
- นายจิรศักดิ์ อุดหนุน
- ดร.สุรสีห์ ชานกสกุล
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภาวิณี บุญเสริม
- รองศาสตราจารย์ ดร.พรประพิตร์ เผ่าสวัสดิ์
ระยะเวลาดำเนินการ:
พฤศจิกายน 2564 – ตุลาคม 2565
ที่มาและความสำคัญ
–
วัตถุประสงค์
- เพื่อศึกษาผลกระทบและค้นหาโครงสร้างใหม่ของการสร้างสรรค์ศิลปกรรมเพื่อรองรับบริบทสังคมวัฒนธรรมหลังโรคระบาดโควิด-19 และการชี้นําแนวทางวิถีชีวิตใหม่อย่างเหมาะสม
- เพื่อสร้างสรรค์กรณีศึกษา“ศิลปกรรมที่มีสุนทรียภาพและมีความเหมาะสมใหม่” สําหรับสังคมไทย อันจะนําไปสู่การปลอบประโลมใจ และสร้างกําลังใจที่จะอยู่ร่วมกันอย่างมีความหวัง
- เพื่อพัฒนาแนวทางสร้างสรรค์ศิลปกรรมเพื่อสาธารณะ อันได้แก่ กระบวนการสร้างสรรค์ใหม่ในการขับเคลื่อนงานศิลปกรรมเพื่อสาธารณะในสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ให้เป็นองค์ความรู้และวิธีวิทยาการสร้างสรรค์ใหม่ เพื่อเป็นทางออกในการสร้างสรรค์กลุ่มงานศิลปกรรม
ผลผลิต
- องค์ความรู้บทเรียนที่เกี่ยวกับการสร้างสรรค์ศิลปกรรมในการเยียวยา (social retreat) และสร้างสรรค์สังคมในภาวะวิกฤตต่างๆ
- องค์ความรู้เกี่ยวกับสถานการณวิกฤตโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อผู้สร้างสรรค์ผลงานศิลปะและบทสังเคราะห์ปรากฏการสร้างสรรค์ศิลปกรรมในสถานการณ์โควิด-19 ทั้งในบริบทไทยและนานาชาติ
- องค์ความรู้และวิธีวิทยาสําหรับสร้างสรรค์ ศิลปกรรมสาธารณะ หรือสาธารณศิลป์เพื่อใช้สนับสนุนการจัดการภาวะวิกฤตและการฟื้นตัวหลังภาวะวิกฤตสถานการณ์โรคติดเชื้อโควิด 2019-19 ที่ประกอบไปด้วย โครงสร้างใหม่ของการสร้างสรรค์ศิลปกรรมที่เรียกว่า “งานสาธารณศิลป์” ตามแนวทางของโครงการ ได้แก่คุณค่า+ เนื้อหา + องค์ประกอบ+แพลตฟอร์ม =ต้นแบบงานศิลปกรรมสาธารณะ (บูรณาการ)