หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวัฒนธรรมศึกษา
หน้าแรก > การศึกษา > หลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา > ปริญญาโท วัฒนธรรมศึกษา
ชื่อหลักสูตร : หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวัฒนธรรมศึกษา
คำอธิบายหลักสูตร
ศาสตร์วัฒนธรรมศึกษาเป็นศาสตร์ในการศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม อันเป็นผลมาจากโครงสร้างระบบสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง ตลอดจนความเป็นโลกาภิวัตน์ที่ทำให้สังคมโลกมีลักษณะเป็นพลวัตและมีความหลากหลายทางวัฒนธรรม ซึ่งส่งผลกระทบตั้งแต่ระดับปัจเจกไปจนถึงระดับสังคมใหญ่ หลักสูตรวัฒนธรรมศึกษามีความสำคัญในอันที่จะช่วยสร้างความรู้และมีวิธีวิทยาในการศึกษาวิจัย ที่สามารถนำไปสู่การส่งเสริมความเข้าใจปรากฏการณ์ทางสังคมและวัฒนธรรม ด้วยการบูรณาการองค์ความรู้ศาสตร์วัฒนธรรมศึกษาด้วยสหวิทยาการวิจัยไปใช้ในสร้างงานวิชาการ งานวิจัย และวิชาชีพ ที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชน สังคม และประเทศ
ความโดดเด่นของหลักสูตร
- สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชียเป็นที่แรกที่เปิดหลักสูตรปริญญาโทวัฒนธรรมศึกษาในประเทศไทย และพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง
- มุ่งมั่นปั้นนักวิจัยรุ่นเยาว์ผ่านการเชื่อมโยงความสนใจของนักศึกษากับอาจารย์เพื่อการทำวิทยานิพนธ์
- ผู้สมัครไม่ต้องมีพื้นฐานวัฒนธรรมศึกษา หรือสาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์
- หลักสูตรปรับการเรียนการสอนให้มีความยืดหยุ่นในช่วงวัน เวลา และวิธีการเรียนการสอน
- นักศึกษาที่มาลงเรียนแต่ละวิชาสามารถสร้างตารางสอนของตัวเองได้กับอาจารย์ผู้จัดการเรียนการสอนแต่ละวิชา
ค่าใช้จ่ายในการศึกษา (เหมาจ่าย)
ชำระต่อภาคการศึกษา (บาท)
ภาคปกติ : 25,000 บาท ต่อภาคการศึกษา
หมายเหตุ : จัดเก็บค่าใช้จ่ายในอัตราเดียวกันทุกแผนการศึกษา ทั้งนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างประเทศ
ค่าใช้จ่ายรวมตลอดหลักสูตร
แผน ก แบบ ก1: 100,000 บาท (2 ปีการศึกษา)
แผน ก แบบ ก2: 100,000 บาท (2 ปีการศึกษา)
แผน ข: 100,000 บาท (2 ปีการศึกษา)
อาชีพที่เกี่ยวข้อง
- นักวิจัย นักวิชาการทางด้านวัฒนธรรม
- นักพัฒนาสังคม นักพัฒนาชุมชน นักพัฒนาในองค์กรพัฒนาเอกชนและองค์กรของรัฐ
- อาชีพที่ต้องอาศัยความเข้าใจกลุ่มคนในสังคมและวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนา
- ประกอบธุรกิจส่วนตัวที่เกี่ยวข้องกับงานวัฒนธรรม เช่น เป็นผู้จัดกิจกรรมทางวัฒนธรรม จัดอบรมทางวัฒนธรรม ประกอบธุรกิจกับประเทศอาเซียน บวก 3 หรือบวก 6 โดยใช้ความรู้ทางวัฒนธรรมศึกษา
โครงสร้างหลักสูตร
ชั้นปีที่ | แผน ก. แบบ ก2 | แผน ข. |
---|---|---|
1 | ภาคเรียนที่ 1 | ภาคเรียนที่ 1 |
วภวธ 510 แนวคิดหลักทางวัฒนธรรมศึกษา | วภวธ 510 แนวคิดหลักทางวัฒนธรรมศึกษา | |
วภวธ 515 การออกแบบการวิจัยทางวัฒนธรรมศึกษา | วภวธ 515 การออกแบบการวิจัยทางวัฒนธรรมศึกษา | |
วิชาเลือก | วิชาเลือก | |
ภาคเรียนที่ 2 | ภาคเรียนที่ 2 | |
วภวธ 513 สัมมนาประเด็นทางสังคมวัฒนธรรมร่วมสมัย | วภวธ 513 สัมมนาประเด็นทางสังคมวัฒนธรรมร่วมสมัย | |
วภวธ 514 ฝึกปฏิบัติ | วภวธ 514 ฝึกปฏิบัติ | |
วภวธ 516 ทฤษฎีเชิงวิพากษ์ทางวัฒนธรรมศึกษา | วภวธ 516 ทฤษฎีเชิงวิพากษ์ทางวัฒนธรรมศึกษา | |
วิชาเลือก | วิชาเลือก | |
2 | ภาคเรียนที่ 1 | ภาคเรียนที่ 1 |
วภวธ 698 วิทยานิพนธ์ | วิชาเลือก | |
วภวธ 697 สารนิพนธ์ | ||
ภาคเรียนที่ 2 | ภาคเรียนที่ 2 | |
วภวธ 698 วิทยานิพนธ์ | วภวธ 697 สารนิพนธ์ |
การสมัคร
การรับเข้าศึกษา
- พิจารณาจากเอกสารประกอบการสมัคร
- สอบสัมภาษณ์
ช่วงเวลาการเปิดรับสมัคร
เกณฑ์การสมัคร
- IELTS 3.0
- TOEFL-iBT 32
- MU GRAD PLUS (MU GRAD TEST + SPEAKING) 40
- MU GRAD TEST 40
*นักศึกษาต่างชาติที่เข้าเรียนหลักสูตรภาษาไทยต้องมีผลสอบภาษาไทยตามเกณฑ์ที่บัณฑิตวิทยาลัยกำหนด
*ไม่มีผลคะแนนภาษาอังกฤษ / มีผลคะแนนไม่ถึงเกณฑ์ขั้นต่ำที่รับเข้าศึกษา – สามารถสมัครได้
แผน ก. แบบ ก2 | แผน ข. |
---|---|
|
|
เอกสารที่ใช้สมัคร
- รูปถ่าย
- สำเนาปริญญาบัตร / หนังสือรับรองการเป็นนักศึกษา
- สำเนา Transcript / Grade Report ฉบับภาษาอังกฤษ
- สำเนาบัตรประชาชน
- สำเนาทะเบียนบ้าน
- หลักฐานแสดงการดำเนินการขอเอกสาร หรือหลักฐานแสดงการดำเนินการจัดส่ง บันทึกผลการศึกษาตลอดหลักสูตร (Transcript) ฉบับภาษาอังกฤษ และกรณีสำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศ เพิ่มเติมเอกสารหนังสือรับรองการเทียบคุณวุฒิการศึกษาฯ Personal Statement หรือ หนังสือแนะนำตัว
ข้อมูลติดต่อ
ประธานหลักสูตร (Program Director)
อาจารย์ ดร.สกาวรุ้ง สายบุญมี
skowrung.sai@mahidol.ac.th