หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์

หน้าแรก > การศึกษา > หลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา > ปริญญาโท ภาษาศาสตร์

ชื่อหลักสูตร : หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์


คำอธิบายหลักสูตร


หลักสูตรนี้มีทักษะการคิดวิเคราะห์ประเด็นด้านภาษาและภาษาศาสตร์ สามารถบูรณาการภาษาศาสตร์เข้ากับศาสตร์แขนงอื่นๆ ได้ รวมทั้งสามารถเสนอแนวทางในการพัฒนาตลอดจนการแก้ปัญหาสังคมที่เกี่ยวเนื่องกับภาษาและวัฒนธรรม โดยใช้วิธีการวิจัยภาคสนามทั้งในพื้นที่จริงและพื้นที่เสมือนจริง ทั้งนี้เพื่อเสริมความเข้าใจในความหลากหลายของสังคมในบริบทของพหุนิยมทางภาษาและวัฒนธรรมในภูมิภาคเอเชีย โดยมุ่งผลิตมหาบัณฑิตที่มีความรู้ด้านพหุภาษาและพหุวัฒนธรรมบนฐานการวิจัยด้านภาษาศาสตร์ สามารถนำความรู้ไปประยุกต์กับการศึกษาวิจัยด้านอื่นๆ เพื่อการพัฒนาและแก้ไขปัญหาสังคมที่เกี่ยวเนื่องกับภาษาอย่างมีคุณธรรมจริยธรรม ในอันที่จะยังประโยชน์สุขให้แก่มวลมนุษยชาติ”

ความโดดเด่นของหลักสูตร
  • เนื้อหามีความทันสมัยครอบคลุมทั้งทางด้านทฤษฎีภาษาศาสตร์และภาษาศาสตร์ประยุกต์ โดยผู้เรียนสามารถเลือกความเชี่ยวชาญด้านหลากหลาย เช่นเทคโนโลยีภาษา ภาษาศาสตร์เพื่อการศึกษาและการพัฒนาอย่างยั่งยืน ทฤษฎีภาษาศาสตร์และสำนักคิด และภาษาและภาษาศาสตร์ หรือจะเลือกความเชี่ยวชาญแบบพหุศาสตร์

  • หลักสูตรมีความยืดหยุ่นในการจัดการเรียนการสอน โดยสามารถปรับเปลี่ยนช่วงเวลาเรียนให้มีความเหมาะสมต่อทั้งผู้เรียนและผู้สอน และจัดการเรียนการสอนทุกรายวิชายังเป็นในรูปแบบ Hybrid Classroom

  • หลักสูตรสนับสนุนให้ผู้เรียนมีประสบการณ์ตรงในการทำวิจัยด้านภาษาและภาษาศาสตร์ร่วมกับอาจารย์ประจำหลักสูตร
  • ผู้เรียนมีโอกาสในการเข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนต่างประเทศกับมหาวิทยาลัยในเครือข่าย
  • ผู้เรียนมีโอกาสได้แลกเปลี่ยนความรู้และติดตามแนวโน้มการวิจัยด้านภาษาและภาษาศาสตร์กับผู้เชี่ยวชาญทั้งในและต่างประเทศ
  • มหาบัณฑิตที่จบการศึกษาจากหลักสูตรนี้ จะมีความรู้เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการวิเคราะห์วิจัยภาษา มีความตระหนักรู้ในการใช้สื่อออนไลน์เพื่อรู้เท่าทันสถานการณ์ปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงฉับพลัน (Disruption) และมีทักษะการใช้ภาษาอังกฤษในระดับที่ใช้สื่อสารได้ เพื่อที่จะสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการแลกเปลี่ยนความรู้และนำเสนอผลการวิจัยในระดับชาติและนานาชาติได้

ค่าใช้จ่ายในการศึกษา (เหมาจ่าย)

ชำระต่อภาคการศึกษา (บาท)


ภาคปกติ : 30,000 บาท ต่อภาคการศึกษา

หมายเหตุ : จัดเก็บค่าใช้จ่ายในอัตราเดียวกันทุกแผนการศึกษา ทั้งนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างประเทศ

ค่าใช้จ่ายรวมตลอดหลักสูตร

แผน ก แบบ ก2: 120,000 บาท (2 ปีการศึกษา)
แผน ข: 120,000 บาท (2 ปีการศึกษา)

อาชีพที่เกี่ยวข้อง


  1. ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาศาสตร์
  2. นักวิชาการด้านภาษาศาสตร์
  3. นักวิจัยด้านภาษาศาสตร์

โครงสร้างหลักสูตร


ชั้นปีที่แผน ก แบบ ก2แผน ข
1ภาคเรียนที่ 1
วภภษ 502 สัทศาสตร์และสัทวิทยา
วภภษ 503 วิทยาหน่วยคำและวากยสัมพันธ์
วภภษ 504 อรรถศาสตร์และวัจนปฏิบัติศาสตร์
วิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 3 หน่วยกิต
ภาคเรียนที่ 2

วภภษ 533 อัตลักษณ์ทางภาษาและวัฒนธรรมในเอเชีย  

วภภษ 511 สัมมนาวิจัยทางภาษาศาสตร์

วิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต

2ภาคเรียนที่ 1
วภภษ 698 วิทยานิพนธ์วิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต
ภาคเรียนที่ 2
วภภษ 698 วิทยานิพนธ์วภภษ 697 สารนิพนธ์
สอบประมวลความรู้

การสมัคร


การรับเข้าศึกษา

  1. พิจารณาจากเอกสารประกอบการสมัคร
  2. สอบข้อเขียนวิชาเฉพาะของหลักสูตร
  3. สอบสัมภาษณ์

ช่วงเวลาการเปิดรับสมัคร

ประกาศรับสมัครและกำหนดการ

เกณฑ์การสมัคร

  1. IELTS 3.0
  2. TOEFL-iBT 32
  3. MU GRAD PLUS (MU GRAD TEST + SPEAKING) 40
  4. MU ELT 84
  5. MU GRAD TEST 40

*ไม่มีผลคะแนนภาษาอังกฤษ / มีผลคะแนนไม่ถึงเกณฑ์ขั้นต่ำที่รับเข้าศึกษา – สามารถสมัครได้
**นักศึกษาต่างชาติที่เข้าเรียนหลักสูตรภาษาไทยต้องมีผลสอบภาษาไทยตามเกณฑ์ที่บัณฑิตวิทยาลัยกำหนด

แผน ก แบบ ก2แผน ข
  1. เป็นผู้สำเร็จการศึกษา หรือคาดว่าจะสำเร็จการศึกษาก่อนวันเปิดภาคการศึกษาในระดับปริญญาตรีสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับภาษาศาสตร์จากสถาบันอุดมศึกษาที่สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง
  2. มีระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.50
  3. มีผลการสอบภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
  4. ผู้ที่มีความรู้ภาษาท้องถิ่น ภาษากลุ่มชาติพันธุ์ หรือภาษาประเทศเพื่อนบ้านภาษาใดภาษาหนึ่งจะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ
  5. ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ข้างต้น อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษาได้ตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
  1. เป็นผู้สำเร็จการศึกษา หรือคาดว่าจะสำเร็จการศึกษาก่อนวันเปิดภาคการศึกษาในระดับปริญญาตรีสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับภาษาศาสตร์จากสถาบันอุดมศึกษาที่สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง
  2. มีระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.50
  3. เป็นผู้มีประสบการณ์ทำงานในสาขาที่มีความเกี่ยวข้องกับภาษาไม่น้อยกว่า 3 ปี
  4. มีผลการสอบภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
  5. ผู้ที่มีความรู้ภาษาท้องถิ่น ภาษากลุ่มชาติพันธุ์ หรือภาษาประเทศเพื่อนบ้านภาษาใดภาษาหนึ่งจะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ
  6. ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ข้างต้น อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษา ตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตร และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

เอกสารที่ใช้สมัคร

  1. รูปถ่าย
  2. สำเนาปริญญาบัตร / หนังสือรับรองการเป็นนักศึกษา
  3. สำเนา Transcript / Grade Report ฉบับภาษาอังกฤษ
  4. สำเนาบัตรประชาชน
  5. สำเนาทะเบียนบ้าน
  6. หลักฐานแสดงการดำเนินการขอเอกสาร หรือหลักฐานแสดงการดำเนินการจัดส่ง บันทึกผลการศึกษาตลอดหลักสูตร (Transcript) ฉบับภาษาอังกฤษและกรณีสำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศ เพิ่มเติมเอกสารหนังสือรับรองการเทียบคุณวุฒิการศึกษาฯ
  7. Statement of Purpose (ถ้ามี)

ข้อมูลติดต่อ


ประธานหลักสูตร (Program Director)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สราวุฒิ ไกรเสม 
Email : sarawut.kra@mahidol.ac.th