หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์
หน้าแรก > การศึกษา > หลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา > ปริญญาเอก ภาษาศาสตร์
ชื่อหลักสูตร : หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์
คำอธิบายหลักสูตร
ภูมิภาคเอเชียอาคเนย์เป็นดินแดนที่มีความหลากหลายทั้งในด้านภาษาและวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ และเป็นภูมิภาคแห่งหนึ่งที่มีความสำคัญทั้งทางด้านประวัติศาสตร์และการเมืองมาช้านานแล้ว ในปัจจุบันภูมิภาคบริเวณนี้มีความสำคัญเพิ่มมากยิ่งขึ้น ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การศึกษา และเทคโนโลยี อีกทั้งประเทศไทยมีนโยบายที่จะส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ และก้าวไปสู่ประชาคมอาเซียนต่อไป เพื่อให้เกิดความเจริญและการแลกเปลี่ยนความรู้ ความชำนาญในด้านต่างๆข้างต้น การที่จะช่วยให้บรรลุจุดมุ่งหมายดังกล่าว ความรู้ ความเข้าใจในเรื่องภาษาของประเทศเพื่อนบ้านอย่างลึกซึ้ง จึงเป็นสิ่งจำเป็นอันดับแรก ในขณะเดียวกันรัฐบาลมีนโยบายที่จะปรับปรุงคุณภาพชีวิตของประชากรไทยทุกพื้นที่ด้านเศรษฐกิจ สังคม สาธารณสุข ซึ่งต้องใช้ภาษาเป็นเครื่องมือที่จะนำความรู้ความเข้าใจอันถ่องแท้เข้าสู่กลุ่มชนต่างๆ อีกทั้ง สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มีปรัชญาว่า “ภาษา และวัฒนธรรม เป็นปัจจัยสำคัญในการแก้ปัญหาและพัฒนาสังคม” ซึ่งปรัชญาดังกล่าวเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนพันธกิจด้านต่างๆของสถาบัน นอกจากนี้สถาบันฯมีความพร้อมทั้งด้านข้อมูลพื้นฐานงานวิจัย ประสบการณ์ และบุคลากร ในการดำเนินการทั้งด้านการเรียนการสอนของหลักสูตร โดยภารกิจที่สำคัญของหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์ จึงให้ความสำคัญต่อการผลิตบุคลากรที่มีความเข้าใจและความชำนาญเกี่ยวกับภาษาของกลุ่มชนต่างๆในประเทศไทย และภาษาของประเทศเพื่อนบ้านในเอเชียอาคเนย์ในระดับลึก ปรัชญาของหลักสูตรจึงมุ่งผลิตดุษฎีบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถ และทักษะการวิจัยทั้งด้านภาษา วัฒนธรรม และการพัฒนา บนพื้นฐานความมีคุณธรรม จริยธรรม สามารถบูรณาการองค์ความรู้ต่างๆ ดังกล่าวและประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาวิชาชีพ การแก้ไขปัญหาขององค์กรและสังคมในยุคโลกาภิวัตน์
ความโดดเด่นของหลักสูตร
เนื้อหามีความทันสมัยครอบคลุมทั้งทางด้านทฤษฎีภาษาศาสตร์และภาษาศาสตร์ประยุกต์ โดยผู้เรียนสามารถเลือกความเชี่ยวชาญด้านหลากหลาย เช่น เทคโนโลยีภาษา ภาษาศาสตร์เพื่อการศึกษาและการพัฒนาอย่างยั่งยืน ทฤษฎีภาษาศาสตร์และสำนักคิด และภาษาและภาษาศาสตร์ หรือจะเลือกความเชี่ยวชาญแบบพหุศาสตร์
หลักสูตรมีความยืดหยุ่นในการจัดการเรียนการสอน สามารถปรับเปลี่ยนช่วงเวลาเรียนให้เหมาะสมต่อทั้งผู้เรียนและผู้สอน และจัดการเรียนการสอนทุกรายวิชายังเป็นในรูปแบบ Hybrid Classroom
- หลักสูตรสนับสนุนให้ผู้เรียนมีประสบการณ์ตรงในการทำวิจัยด้านภาษาและภาษาศาสตร์ร่วมกับอาจารย์ประจำหลักสูตร
- ผู้เรียนมีโอกาสในการเข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนต่างประเทศกับมหาวิทยาลัยในเครือข่าย
- ผู้เรียนมีโอกาสได้แลกเปลี่ยนความรู้และติดตามแนวโน้มการวิจัยด้านภาษาและภาษาศาสตร์กับผู้เชี่ยวชาญทั้งในและต่างประเทศ
ดุษฎีบัณฑิตที่จบการศึกษาจากหลักสูตรนี้ จะสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์และสร้างสรรค์ผลงานเพื่อการพัฒนาสังคมพหุภาษาและพหุวัฒนธรรม และส่งเสริมการธำรงรักษาความหลากหลายทางภาษาและวัฒนธรรมทั้งในระดับประเทศและภูมิภาคเอเชีย อันจะนำไปสู่ความเข้าใจอันดี การเคารพในความต่าง และการมีส่วนช่วยลดความเลื่อมล้ำในด้านภาษาและวัฒนธรรมในสังคม
ค่าใช้จ่ายในการศึกษา (เหมาจ่าย)
ชำระต่อภาคการศึกษา (บาท)
ภาคปกติ : 30,000 บาท ต่อภาคการศึกษา
หมายเหตุ : จัดเก็บค่าใช้จ่ายในอัตราเดียวกันทุกแผนการศึกษา ทั้งนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างประเทศ
ค่าใช้จ่ายรวมตลอดหลักสูตร
แผน 1.1: 180,000 บาท (3 ปีการศึกษา)
แผน 2.1: 180,000 บาท (3 ปีการศึกษา)
แผน 2.2: 300,000 บาท (5 ปีการศึกษา)
อาชีพที่เกี่ยวข้อง
- ผู้ถ่ายทอดความรู้ หรือผู้เชี่ยวชาญทางด้านภาษาศาสตร์
- นักวิจัยด้านภาษาศาสตร์
- นักวิชาการหรือนักพัฒนาในองค์กรภาครัฐ และภาคเอกชน
- ประกอบอาชีพอิสระที่สัมพันธ์กับสาขาวิชาที่ศึกษา
โครงสร้างหลักสูตร
ชั้นปีที่ | สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาภาษาศาสตร์ และเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาเอก | สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาษา |
---|---|---|
1 | ภาคเรียนที่ 1 | ภาคเรียนที่ 1 |
วภภษ 607 สัมมนาวิทยาระเบียบวิธีวิจัย | *วภภษ 502 สัทศาสตร์และสัทวิทยา | |
วิชาเลือก | *วภภษ 505 วากยสัมพันธ์ | |
*วภภษ 525 ภาษาศาสตร์สังคม | ||
*วภภษ 607 สัมมนาวิทยาระเบียบวิธีวิจัย | ||
วิชาเลือก | ||
ภาคเรียนที่ 2 | ภาคเรียนที่ 2 | |
วภภษ 608 วิธีวิจัยภาคสนามทางภาษาศาสตร์ | *วภภษ 532 ภาษาศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ | |
วิชาเลือก | *วภภษ 608 วิธีวิจัยภาคสนามทางภาษาศาสตร์ | |
วิชาเลือก | ||
2 | ภาคเรียนที่ 1 | ภาคเรียนที่ 1 |
สอบวัดคุณสมบัติ (Qualifying Examination) | สอบวัดคุณสมบัติ (Qualifying Examination) | |
วภภษ 699 วิทยานิพนธ์ | วภภษ 699 วิทยานิพนธ์ | |
ภาคเรียนที่ 2 | ภาคเรียนที่ 2 | |
วภภษ 699 วิทยานิพนธ์ | วภภษ 699 วิทยานิพนธ์ | |
3 | ภาคเรียนที่ 1 | ภาคเรียนที่ 1 |
ภภษ 699 วิทยานิพนธ์ | ภภษ 699 วิทยานิพนธ์ | |
ภาคเรียนที่ 2 | ภาคเรียนที่ 2 | |
ภภษ 699 วิทยานิพนธ์ | ภภษ 699 วิทยานิพนธ์ | |
*ไม่นับหน่วยกิต |
การสมัคร
การรับเข้าศึกษา
- พิจารณาจากเอกสารประกอบการสมัคร
- สอบข้อเขียนวิชาเฉพาะของหลักสูตร
- สอบสัมภาษณ์
ช่วงเวลาการเปิดรับสมัคร
เกณฑ์การสมัคร
- IELTS 3.0
- TOEFL-iBT 32
- MU GRAD PLUS (MU GRAD TEST + SPEAKING) 40
- MU GRAD TEST 40
*ต้องมี ผลคะแนนภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ขั้นต่ำที่รับเข้าศึกษาจึงจะสมัครได้ (กรณีไม่มีผลคะแนน / มีผลคะแนนไม่ถึงเกณฑ์ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของหลักสูตร)
**นักศึกษาต่างชาติที่เข้าเรียนหลักสูตรภาษาไทยต้องมีผลสอบภาษาไทยตามเกณฑ์ที่บัณฑิตวิทยาลัยกำหนด
รายละเอียด-2 |
---|
|
เอกสารที่ใช้สมัคร
- รูปถ่าย
- สำเนาปริญญาบัตร / หนังสือรับรองการเป็นนักศึกษา
- สำเนา Transcript / Grade Report ฉบับภาษาอังกฤษ
- สำเนาบัตรประชาชน
- สำเนาทะเบียนบ้าน
- หลักฐานแสดงการดำเนินการขอเอกสาร หรือหลักฐานแสดงการดำเนินการจัดส่ง บันทึกผลการศึกษาตลอดหลักสูตร (Transcript) ฉบับภาษาอังกฤษ และกรณีสำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศ เพิ่มเติมเอกสารหนังสือรับรองการเทียบคุณวุฒิการศึกษาฯ
- Statement of Purpose (ถ้ามี)
- concept paper
ข้อมูลติดต่อ
ประธานหลักสูตร (Program Director)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. มยุรี ถาวรพัฒน์
mayuree.tha@mahidol.ac.th