ประวัติห้องสมุด
พ.ศ.2517 | ก่อตั้งขึ้นมาพร้อมกับ “โครงการศูนย์ศึกษาวิจัยภาษาและวัฒนธรรมอาเซียอาคเนย์” เมื่อปี 2517 โดยมีพื้นที่ห้องสมุดรวมอยู่ในบริเวณที่ทำการของโครงการฯ ณ ตึกอำนวยการ ชั้น 2 โรงพยาบาลศิริราช |
พ.ศ.2524 | โครงการฯ ได้รับการยกฐานะเป็น “สถาบัน” เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2524 ซึ่งมีฐานะเทียบเท่าคณะหนึ่งในมหาวิทยาลัยมหิดล มีชื่อเป็นทางการว่า “สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท” |
พ.ศ.2526 | ย้ายที่ทำการมาอยู่ ณ ชั้น 2 อาคารคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ซึ่งเป็นเพียงห้องอ่านหนังสือขนาดเล็ก |
พ.ศ.2527 | เริ่มมีบรรณารักษ์ประจำคนแรก คือ นางสาวมารศรี สอนมั่น ห้องสมุดได้ปรับเปลี่ยนระบบการจัดหมวดหมู่หนังสือให้เป็นไปตามระบบมาตรฐานสากล และได้มีบริการยืมระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ทำให้งานบริการของห้องสมุดพัฒนาขึ้นเป็นลำดับ ภายใต้กรอบการบริหารงานของสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท การจัดหาสิ่งพิมพ์ในช่วงระยะเริ่มแรก – ปี 2531 มุ่งเน้นจัดหาในสาขาภาษาศาสตร์ (ภาษาศาสตร์และภาษาเอเชียอาคเนย์) ซึ่งเป็นหลักสูตรระดับมหาบัณฑิตหลักสูตรแรกและหลักสูตรเดียวที่เปิดการเรียนการสอน และการวิจัยในขณะนั้น |
พ.ศ.2529 | โอนย้ายไปสังกัดสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยมหิดล ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหิด พ.ศ. 2530 โดยให้มีการดำเนินงานที่เป็นรูปแบบในมาตรฐานเดียวกัน และใช้ทรัพยากรต่างๆ ร่วมกันอย่างคุ้มค่า และเกิดประโยชน์สูงสุด |
พ.ศ.2532 | ห้องสมุดขยายการจัดหาสิ่งพิมพ์เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามหลักสูตรการเรียนการสอน การวิจัยของสถาบันฯ ที่เพิ่มขึ้นมาใหม่ เช่น หลักสูตรวัฒนธรรมศึกษา หลักสูตรภาษาและวัฒนธรรมเพื่อการสื่อสารและการพัฒนา(ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นหลักสูตรภาษาและการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม) และหลักสูตรพหุวัฒนธรรมศึกษา(นานาชาติ) |
พ.ศ.2535 | ย้ายที่ทำการชั่วคราวอีกครั้งหนึ่งไปอยู่ ณ ชั้น 3 อาคารเรียนรวมบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา |
พ.ศ.2542 | ปรับเปลี่ยนระบบการดำเนินงานห้องสมุดเป็นระบบห้องสมุดอัตโนมัติ (Automated Library) เพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถสืบค้นทรัพยากรห้องสมุดผ่านระบบสื่อสารอินเตอร์เน็ต ได้ทุกวิทยาเขตของมหาวิทยาลัย และเริ่มให้บริการยืม-คืน ด้วยระบบ Barcode และในวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2542 ห้องสมุดได้ย้ายที่ทำการถาวรมาอยู่ ณ ชั้น 1 อาคารภาษาและวัฒนธรรมสยามบรมราชกุมารี ณ ปัจจุบัน |
พ.ศ.2552 | ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “ห้องสมุดสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย” ตามชื่อสถาบันที่ได้ปรับเปลี่ยนใหม่ และในเวลาต่อมาสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ปรับโครงสร้างการดำเนินงานใหม่พร้อมทั้งเปลี่ยนชื่อเป็น “หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล” เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2552 โดยห้องสมุดสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชียมีสถานะเป็นห้องสมุดในสังกัด “สำนักงานเครือข่ายบริการ” ของหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล |
หัวหน้าห้องสมุด
1.นางสาวมารศรี สอนมั่น | พ.ย. 2527 – มี.ค. 2547 |
2.นางทิพวรรณ อินทมหันต์ | มี.ค. 2547 – ต.ค. 2547 |
3.นางสาวเทพิน จิรคุณเตชะ | ต.ค. 2547 – ก.พ. 2557 |
4.นางกาญจน์ศิริ พูนทอง | ก.พ. 2557 – ต.ค.2564 |
5.นางสาววิชุภรณ์ บุญธนะไพศาลวงศ์ | ต.ค. 2564 – ปัจจุบัน |
ภารกิจ
ห้องสมุดสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย เป็นแหล่งทรัพยากรสารสนเทศที่ให้บริการทางด้านภาษาและวัฒนธรรมเอเชียที่สมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน การศึกษาเรียนรู้ และการค้นคว้าวิจัยแก่ อาจารย์ นักวิจัย นักศึกษาของสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย โดยเน้นให้บริการ : ด้านภาษาและภาษาศาสตร์ของประเทศในแถบเอเซียและของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ด้านวัฒนธรรมศึกษา(มานุษยวิทยาการแพทย์ พิพิธภัณฑ์ศึกษา มานุษยวิทยาดนตรี สังคมวัฒนธรรมศึกษา พัฒนาชนบทศึกษา อินเดียศึกษา) ด้านภาษาและการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม(การสอนภาษา การแปล การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมเพื่อการบริหาร) ด้านพหุวัฒนธรรมศึกษา(นานาชาติ) ตามหลักสูตรการเรียนการสอนในระดับมหาบัณฑิต และดุษฏีบัณฑิต รวมถึงหลักสูตรการจัดการเรียนการสอนภาษา-วัฒนธรรมไทยสำหรับนักศึกษาต่างชาติ ตลอดจนให้บริการแก่คณะ/สถาบัน/วิทยาลัยต่างๆ ในมหาวิทยาลัยมหิดล และบุคคลทั่วไป โดยสามารถเข้าถึงทรัพยากรห้องสมุดได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ด้วยระบบเครือข่ายห้องสมุดมหาวิทยาลัยมหิดล
ห้องสมุดมีภารกิจที่สำคัญ คือ
- ดำเนินงานห้องสมุดให้ตอบสนองยุทธศาสตร์หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล และสอดคล้องกับยุทธศาสตร์สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย
- จัดหาทรัพยากรสารสนเทศให้ตรงตามหลักสูตรการเรียนการสอนและการวิจัยของสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล โดย
- 2.1 จัดซื้อด้วยเงินงบประมาณที่ได้รับจัดสรรจากหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล
- 2.2 จัดซื้อด้วยเงินอุดหนุนจากสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย และบัณฑิตวิทยาลัย
- 2.3 ได้รับอภินันทนาการจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน
- จัดเตรียมทรัพยากรสารสนเทศให้พร้อมเพื่อการบริการ
- 3.1 ตรวจรับ คัดแยก ลงทะเบียน และเตรียมตัวเล่มสิ่งพิมพ์ให้พร้อมออกให้บริการ
- 3.2 สร้างระเบียนบรรณานุกรม ระเบียนฉบับ วิเคราะห์หมวดหมู่และกำหนดหัวเรื่องทรัพยากรสารสนเทศลงในฐานข้อมูลระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Sierra
- 3.3 ซ่อมแซม บำรุงรักษาทรัพยากรสารสนเทศที่ชำรุด
- ให้บริการห้องสมุดแก่ผู้ใช้บริการ
- 4.1 บริการยืม-คืน ทรัพยากรสารสนเทศ ทั้งภายในห้องสมุด ระหว่างห้องสมุดภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยมหิดล
- 4.2 บริการจัดหาสำเนาเอกสารจากแหล่งต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกประเทศ
- 4.3 บริการแนะนำการใช้ห้องสมุด การใช้ฐานข้อมูล การสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศ
- ประชาสัมพันธ์ข่าวสารห้องสมุดและข่าวสารต่างๆที่เกี่ยวข้อง ผ่านช่องทางต่างๆ เช่น Group line, Group mail, Facebook fan page เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ส่งเสริมการใช้บริการและการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดได้ตรงความต้องการ สะดวก รวดเร็ว ทันสมัย
ผลการดำเนินงาน
สถิติการดำเนินงาน
พื้นที่รับผิดชอบ
พื้นที่โดยรวม 201.6 ตารางเมตร
พื้นที่ส่วนให้บริการ 151.2 ตารางเมตร
พื้นที่ส่วนปฏิบัติงาน 50.4 ตารางเมตร
จำนวนที่นั่งอ่าน 28 ที่นั่ง
การติดต่อ
นางสาววิชุภรณ์ บุญธนะไพศาลวงศ์
Ms.Wichuphorn Boonthanapaisanvong
บรรณารักษ์
นางสาวนัทธมน ขุนพรหม
Ms.Natthamon Khunphom
ผู้ปฏิบัติงานห้องสมุด (ผู้ชำนาญงาน)
ชั้น 1 อาคารภาษาและวัฒนธรรมสยามบรมราชกุมารี สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล